วัดเกาะ ตั้งอยู่เลขที่ 332 บ้านใต้ หมู่ที่ 2 ตำบลสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว ก่อสร้างวัดเมื่อ พ.ศ.
2442 โดยพระมหาหล้า เป็นเจ้าอาวาสวัดรูปแรก และตามบันทึกคำบอกเล่าของนายดำ
อุณะศิริ ซึ่งเคยเป็นเด็กวัดในสมัยนั้น และได้เข้ามาอาศัยอยู่กับพระมหาหล้าตั้งแต่อายุได้
8 ขวบ เล่าว่า “เดิมทีที่ดินบริเวณวัดเกาะแห่งนี้เป็นที่ดินหักร้างถางป่าของนายจันทร์ลา
(ไม่ทราบนามสกุล) โดยปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำประโยชน์ในการเพาะปลูกแต่อย่างใด เนื่องจากมีบริเวณเป็นเกาะมีน้ำอยู่ล้อมรอบเป็นบริเวณจำกัด และเมื่อถึงเวลาหน้าน้ำ จะมีน้ำท่วมทุก ๆ ปี
(ในสมัยนั้นยังไม่ได้มีการสร้างเขื่อนเก็บน้ำลำตะคอง) และเป็นสถานที่ป่าไม้เปลี่ยว และ
พระมหาหล้าได้รู้จักกับโยมอิน อินทร์ปัญญา และได้พูดคุยกับโยมอินว่า สถานที่บริเวณนี้
เหมาะแก่การสร้างวัด เพราะตั้งอยู่นอกเมืองบรรยาศร่มรื่นสงบเงียบ อีกทั้งมีน้ำไหลผ่านและ
ล้อมรอบเหมาะแก่การปฏิบัติศาสกิจของสงฆ์ และจึงได้ไปพูดคุยเพื่อขอที่บริเวณดังกล่าวจาก
นายจันทร์ลา เพื่อสร้างวัด และนายจันทร์ลาก็มีจิตศรัทธายกที่ดินให้เป็นทรัพย์สินทาง
พระพุทธศาสนา ต่อจากนั้นก็มีผู้สนับสนุนเพิ่มขึ้น คือ นายตา และนายติ๊บ และได้ก่อสร้างกุฎิ
พร้อมนิมนต์พระมหาหล้ามาอยู่จำพรรษา และตั้งชื่อวัดว่า“วัดเกาะ”
วัดเกาะมีเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 61 ตารางวา ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2510 ได้รับพระราชทาน
วิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2518 มีเจ้าอาวาสปกครองเท่าที่ทราบนาม คือ
1. พระมหาหล้า
2. พระปลัดป้อ
3. พระอาจารย์ถึง
4. พระอาจารย์แดง
5. พระอ่อน
6. พระเหลือง
7. พระพันธ์
8. พระทองแดง
9. พระบุญจันทร์
10. พระครูพิทักษ์ ทีปากร หรือหลวงพ่อนาม (นาม ธมฺมธีโร)
11. เจ้าอธิการเชือน อนฺทสาโร
12. พระคอน วรปญฺโญ
และปัจจุบันมีพระอธิการสมศักดิ์ สุชีโว เป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะ
ภายในวัดเกาะมีโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่สำคัญคือ รอยพระพุทธบาทจำลองซึ่งขุดพบเมื่อพ.ศ.2443 อาศรมประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อพระมหาหล้า ยาว 3 เมตร กว้าง 3 เมตร
อาคารพิพิธภัณฑ์พระครูพิทักษ์ ทีปากร หรือหลวงพ่อนาม และพระพุทธรูปปางห้ามญาติ
กิจกรรมที่ดำเนินการภายในวัด ได้แก่ ปฏิบัติธรรมในวันสำคัญทางศาสนาตลอดทั้งปี และเป็นสถานที่จัดประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง ประเพณีกินสลากก๋วยติ๋นของคน
ไท-ยวน ของอำเภอสีคิ้ว