ชื่อผลงาน........พิธีฮ้องขวัญ (แบบพื้นบ้าน).
ลักษณะการดำเนินการ พิธีฮ้องขวัญ เป็นพิธีกรรมความเชื่อที่สืบทอดมาแต่โบราณกาล ทำขึ้นเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุตรหลาน แขกผู้มาเยือน หรือผู้ป่วยเพื่อให้กำลังใจให้หายจากการป่วยเร็วขึ้น
การทำพิธีฮ้องขวัญจะต้องมีพิธีขึ้นครู (ขันตั้ง) ซึ่งผู้อาวุโสจะเป็นผู้ทำพิธี
ซึ่งมีอยู่ ๓ ขั้นตอน ดังนี้คือ
๑.ปัดเคราะห์ปัดภัยก่อน โดยผู้อาวุโสกล่าวคำปัดเคราะห์ปัดภัยตามเอกสารที่แนบ
๒.หลังจากปัดเคราะห์ปัดภัยเสร็จแล้ว ผู้อาวุโสใช้ผ้าผูกข้อมือด้านซ้าย พร้อมกล่าวคำฮ้องขวัญ
๓.ผู้อาวุโสใช้ฝ้ายผูกข้อมือขวาพร้อมกับกล่าวคำฮ้องขวัญที่แนบ จากนั้นกล่าวคำให้พร
อุปกรณ์ประกอบพิธีกรรม/แหล่งที่มาของวัสดุที่ใช้
๑.ข้าวตอกดอกไม้ ธูปเทียน
๒.ข้าวเหนียว ๑ ปั้น
๓.เกลือ ๑ ห่อ
๔.ฝ้ายไหมมัดมือ
๕.น้ำ
๖.กล้วย หรือผลไม้อย่างอื่น
๗.ไก่ต้ม๑ ตัว หรือ หัวหมู ๑ ชุด
ขั้นตอนวิธีการประกอบพิธีดังนี้
๑.เตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม
๒.เจ้าของขวัญยกมือไหว้และยกของให้
๓.ผู้อาวุโสยื่นมือให้เจ้าของขวัญรับและวางไว้ข้างหน้า
๔.เจ้าของขวัญพนมมือ ปัดเคราะห์
๕.ผู้อาวุโสกล่าวปัดเคราะห์
๖.เริ่มผูกข้อมือซ้ายและกล่าวคำเรียกขวัญตามบทเรียกขวัญ
๗.ผูกข้อมือขวากล่าวคำเรียกขวัญเหมือนข้อมือซ้าย
๘.เจ้าของกินอาหารให้ครบทุกอย่างเป็นเสร็จพิธี
-เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ และเป็นศิริมงคลกับตัวเอง
คำกล่าวเรียกขวัญ
-ปัดเคราะห์
นี่เน้อ เคราะห์ปี๋ เคราะห์วัน เคราะห์เดือน เคราะห์ยาม เคราะห์เปิ้นมาปาน
มารเปิ้นมาเปื้อน ขอหื้อตกไปเหียวันนี้ ยามนี้
ข้อมือซ้าย - ผูกข้อมือซ้ายขวัญมา ผูกข้อมือขวาขวัญอยู่ สามสิบสองขวัญของ......
.........(ชื่อ).................ขอหื้อมาอยู่กับตั๋วกับต๋น สิบปี๋บ่อฮื้อไปตี้อื่น หมื่นปี๋ฮื้อไปตี๋ใหน ฮื้อฮั้กษาตั๋วฮักษาต๋น ฮักษาเจ้าฮักษาจ๋อม ตั้งแต่นี้ไปขอฮื้อหลับดีนอนดั จะไปเจ็บจะไปเป๋น วันนี้ ได้เอาไก่กู้มาเลี้ยงแล้วบ่จุบ่หล่าย
ข้อมือขวา - มัดมือข้อมือขวา (เหมือนขอมือซ้าย)