จากการสัมภาษณ์นางบุญเรือน สร้อยศรี เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2548 นางบุญเรือน สร้อยศรีได้เล่าให้ฟังว่า
“ละครเท่งตุ๊กคณะ ส. บัวน้อยเป็นละครเท่งตุ๊กในอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรีที่สืบทอดมาจากคณะละครเท่งตุ๊กที่เก่าแก่มีอายุประมาณกว่า 100 ปี โดยมีลักษณะการสืบทอดแบบสังคมเครือญาติ จนมาถึงปัจจุบัน โดยเริ่มจากทวดทิม ซึ่งเป็นครูละครที่โยกย้ายถิ่นฐานมาจากตำบลบ้านเพ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ได้เดินทางมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านชำห้าน ตำบลปากน้ำ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี และเริ่มหัดละครเท่งตุ๊กในอำเภอแหลมสิงห์ จนสืบทอดมาจนกระทั้งในปัจจุบันนี้ โดยสามารถแบ่งตามลำดับได้ดังนี้
รุ่นที่ 1 ทวดทิม แต่งงานกับทวนช้อย สกุลภากกิจ จนมีธิดา จำนวนทั้งสิ้น 7 คน คือ 1. นางเต้ง 2. นางแต้ว 3. นางแต่ง 4. นางตอง 5. นางเตียง 6. นางเตย 7. นางตุ้ย
รุ่นที่ 1 ที่ทวดทิมตั้งคณะขึ้นเรียกละครในสมัยนั้นว่า “คณะละครปู่ทิม” (ปัจจุบันเสียชีวิตหมดแล้ว)
ทวดทิมแต่งงานกับทวดช้อยมีบุตรชื่อ ยายเตียง ตาทด นามสกุลภากกิจ
รุ่นที่ 2 เป็นการสืบทอดคณะละครเท่งตุ๊กจากทวดทิม โดยยายเตียง ซึ่งเป็นบุตรสาวของทวดทิมเป็นผู้รับการถ่ายทอดและสืบทอดละครเท่งตุ๊ก โดยได้แต่งงานกับตาทด มีธิดาจำนวนทั้งสิ้น 6 คน คือ 1. นางฉ่อม 2. นางสาวอุทิศ 3. นางเท้ง 4. นางถึง 5. นางพลอย 6. นางลำพัน โดยนางฉ่อม นางพึง นางพลอย นางรำพันฝึกหัดละคร ส่วนนางสาวอุทิศ นางเท้ง ฝึกหัดทั้งด้านดนตรีและละคร สามารถรับงานการแสดง และฝึกหัดการแสดงละครเท่งตุ๊กแก่ผู้อื่นได้อีกด้วย เรียกคณะละครรุ่นนี้ว่า “ละครยายเตียง ตาทด” ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ 4 คน คือ 1. นางสาวอุทิศ 2. นางถึง 3. นางพลอย 4. นางลำพัน (ปัจจุบันไม่ได้แสดงละครเพราะชราภาพ)
รุ่นที่ 3 เป็นการสืบทอดจากคณะละครจากละครยายเตียงตาทด นางเท้งแต่งงานกับนายเข็บ สกุลสายบัว มีบุตรธิดาจำนวน 9 คน คือ 1. นายสุทิน 2. นางสาวประทุม 3. นางบุญเรือน 4. นายสมทรง 5. นายสมศักดิ์ 6. นางลูกอิน 7. นายประเสริฐ 8. นายบุญส่ง 9. นายพระสังข์ โดยฝึกหัดละครและดนตรีซึ่งผู้หญิงจะฝึกหัดละครเป็นหลัก ผู้ชายจะฝึกหัดดนตรีเป็นหลักและเล่นละครเป็นตัวตลกนายสุทิน ฝึกหัดละคร นางสาวประทุมฝึกหัดละคร นางบุญเรือนฝึกหัดละครและดนตรี นายสมทรงฝึกหัดดนตรีและละคร นายสมศักดิ์ฝึกหัดดนตรีและละคร นางลูกอินฝึกหัดละคร นายประเสริฐฝึกหัดดนตรี นายบุญส่ง ฝึกหัดดนตรี นายพระสังข์ฝึกหัดดนตรีและละคร ตลอดจนตั้งชื่อคณะว่า ส. บัวน้อยโดยอักษรย่อ ส. หมายถึงสายบัว ซึ่งเป็นนามสกุล เป็นรุ่นที่ทำการแสดงละครเท่งตุ๊กรุ่งเรืองที่สุด มีงานการแสดงมากมาย สามารถทำการแสดงได้พร้อมกันถึง 2 คณะ นางเท้งเป็นผู้ตั้งชื่อคณะขึ้นว่า ส.บัวน้อย ธรรมดาคณะละคร ส. บัวน้อยเป็นชื่อคณะที่ใช้เรียกเมื่อทำการแสดงในขณะนั้น แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่มัก นิยมเรียกกันติดปากว่า “ละครแม่เท้ง”
ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ 4 คน คือ 1. นางบุญเรือน 2. นางลูกอิน 3. นายบุญส่ง 4. นายพระสังข์
รุ่นที่ 4 นางบุญเรือน แต่งงานกับนายเสนอ สกุล สร้อยศรี มีบุตรและธิดาจำนวน 3 คน คือ 1. นายบุญเลิศ 2. นายพนม 3. นางรัตนา ซึ่งนายบุญเลิศ และนายพนม ได้ฝึกหัดดนตรี ส่วนนางรัตนา ฝึกหัดละคร นางบุญเรือนได้รับการถ่ายทอดด้านการร้อง และการรำ ตลอดจนดนตรีในการแสดงเท่งตุ๊กจากมารดา คือ นางเท้ง สายบัว นางบุญเรือน สร้อยศรี สืบทอดคณะละคร โดยเป็นหัวหน้าคณะ ส.บัวน้อย มาจนกระทั้งปัจจุบันนี้
นางลูกอินซึ่งเป็นน้องสาวแต่งงานกับนายมิถุนา อิ่มสมบูรณ์ มีธิดา 2 คน คือ นางวารุณี
ฝึกหัดละครและนางสาวนันทิดาฝึกหัดละคร
นายบุญส่ง สายบัว แต่งงานกับนางวันเพ็ญ มีบุตร 2 คน คือ นายนิพนธ์ฝึกหัดดนตรี และ นายณัฐพลมีความสามารถด้านกีฬา
นายพระสังข์ สายบัว แต่งงานกับยุพิณ มีธิดา 1 คน คือ เด็กหญิงสรัญญา สายบัว ซึ่งฝึกหัดละครและดนตรี
คณะ ส. บัวน้อย 039-363325