ประโยชน์/หน้าที่ใช้สอยบายศรีปากชาม ใช้ในการไหว้ครู ใช้ในงานบวงสรวง สังเวย พิธีการรับขวัญ พิธีฉลองต่าง ๆ พิธีไหว้ครูดนตรี โขน ละคร หนัง ก่อนจะมีการแสดงครั้งสำคัญนั้นต้องมีการตั้งเครื่องสังเวย บายศรีวัสดุที่ใช้ในการผลิตผลงาน๑. ใบตอง ๒. ไม้ไผ่ ๓. ภาชนะทรงกลม ๔. ดอกบัว ๕. ดอกพุด ๖. ดอกดาวเรือง แหล่งทีแหล่งที่มาของวัสดุไม้ไผ่หาได้ในหมู่บ้าน หวายและวัสดุอื่น ๆ หาซื้อที่ร้านค้าอำเภอแก่งคอย หรือร้านค้าอำเภอเมืองสระบุรี ขั้นตอนการขั้นตอนการผลิต๑. ตัดใบตองจากต้นกล้วย แล้วเลาะเอาก้านออก ๒. นำใบตองไปแช่น้ำสารส้มและน้ำมันมะกอก ทิ้งไว้ประมาณ ๕ – ๑๐ นาที ๓. ใบตองนิ้วนาง ฉีกกว้าง ๓ นิ้ว ทำ ๔ แพ ๆ ละ ๙ นิ้ว รวมจำนวน ๓๖ ชิ้น ๔. ใบตองทำเป็นกรวย ฉีกกว้าง ๗ นิ้ว จำนวน ๓ ชิ้น สำหรับซ้อนให้กรวยตั้งได้ ๕. ใบตองผ้านุ่ง ฉีกกว้าง ๒-๓ นิ้ว ขั้นตอนการผลิตขั้นตอนการผลิต๑. นำใบตองที่ฉีกไว้มาพันเป็นนิ้วนาง พันไปพร้อมกับดอกพุด ทำไปทีละตัวจนได้ตามจำนวนที่ต้องการ ๒. นำนิ้วนางมาประกอบ (นุ่งผ้า) ใช้นิ้วนางมานุ่งผ้าที่ละ ๑ ตัว โดยใช้ใบตองที่ฉีกไว้มาพับเข้าหากันให้เป็นรูปนม นุ่งที่ละตัวจนครบ ๙ ตัว ๓. นำใบตองที่ฉีกไว้ทำกรวยมาซ้อนกัน ๓ – ๔ ชิ้น พันเป็นกรวยเสร็จแล้วใช้ที่เย็บกระดาษเย็บและตัดใบตองตรงปากกรวยให้เสมอกันเพื่อกรวยตั้งได้ ๔. นำภาชนะที่เป็นรูปวงกลมมาวางไว้ นำตัวกรวยที่ทำไว้แล้วมาตั้งตรงกลางภาชนะที่เตรียมไว้ ๕. นำบายศรีแม่ (๙ นิ้ว ) มาเสียบทั้ง ๓ ด้าน แล้วใช้ไม้กลัดนิ้วนางที่ติดกับกรวยทั้งข้างบนและข้างล่างเพื่อยึดให้แน่น ๖. นำบายศรีลูก (๕ นิ้ว) มาเสียบทั้งสามด้าน ๗. นำดอกดาวเรืองและดอกบัวมาตกแต่งให้สวยงาม ทำเหมือนกันทั้ง ๓ ด้าน ลักษณะพิเศษของงานช่างชิ้นลักษณะพิเศษของงานช่างชิ้นนี้ใบตองแช่ด้วยสารส้มและน้ำมันมะกอก เพื่อให้ใบตองแข็งตัว ดูเป็นมันและเงา ทำให้สวยงาม
ความสำคัญ
๑. ด้านประเพณีและพิธีกรรม
๒. ด้านจิตใจ ทำให้ผู้ประดิษฐ์มีจิตใจสงบเยือกเย็น มีความอดทน
๓. ด้านการสืบสานและการอนุรักษ์
๔. ด้านการพัฒนาอาชีพ