ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 16° 42' 26.8574"
16.7074604
Longitude : E 103° 29' 2.4317"
103.4840088
No. : 127491
สุสานไดโนเสาร์ อำเภอสหัสขันธ์
Province : Kalasin
3 662
Description

ไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลานโบราณชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินและสูญหมดไปจากโลกเมื่อหกสิบห้าล้านปีมาแล้ว

อีสานยุคไดโนเสาร์
ยุคครีเทเชียสตอน ( Early Cretaceous) เมื่อประมาณ 130 ล้านปีก่อนผืนแผ่นดินอิสานมีลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่มน้ำใหญ่ เป็นแหล่งอาศัยของไดโนเสาร์ และ สัตว์ดึกดำบรรพ์ซึ่งเมื่อตายลงไปก็ถูกตะกอน จากแม่น้ำกลบฝังเก็บรักษาเอาไว้กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ สาเหตุที่ไดโนเสาร์มาตายรวมกันอยู่ที่นี่มีหลายสาเหตุด้วยกันสาเหตุหนึ่ง สันนิษฐานว่า สภาพแวดล้อมโบราณในยุคครีเทเชียสตอนต้น บริเวณนี้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำใหญ่ มีแม่น้ำไหลคดเคี้ยวตวัดไปมา ( meandering riers) สภาพภูมิอากาศเป็นแบบกึ่งแห้งแล้ง(semi-arid environment) ในฤดูแล้งกระแสน้ำจะไหลเอื่อย ๆ แต่ในฤดูฝนจะมีน้ำป่าไหลหลากมาอย่างแรง ทำให้แม่น้ำมีกระแสน้ำไหล เชี่ยวและมีน้ำเอ่อล้นท่วมตลิ่งเป็นบริเวณกว้าง ฝูงไดโนเสาร์ที่อาศัยหากินที่ บริเวณริมน้ำและใช้เส้นทางเดิมข้ามแม่น้ำเป็นประจำได้พยายามเดินข้ามแม่น้ำ ตามปกติ แต่กระแสน้ำไหลแรงมาก ไดโนเสาร์ฝูงใหญ่มีจำนวนมากจึงเกิดการเบียดชนและเหยียบกัน พวกที่อ่อนแอจึงจมน้ำตาย ซากถูกพัดมาเกยตื้นอยู่บริเวณสันดอนหรือริมตลิ่ง ต่อมาถูกฝังกลบด้วยตะกอน ดินทรายเป็นระยะเวลานานนับหลายหมื่นหลายล้านปี จนกลายเป็นฟอสซิล หรือ ซากดึกดำบรรพ์หรือ ซากดึกดำบรรพ์เก็บรักษาไว้ในชั้นหินให้นักโบราณชีววิทยาทำการขุดค้นอนุรักษ์และศึกษาวิจัย แล้วจินตนาการถึงสภาพแวดล้อมโบราณและความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตในอดีตให้เราได้รับรู้ในปัจจุบัน ไดโนเสาร์ซอโรพอต จากภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

สุสานไดโนเสาร์

เรื่องราวความเป็นมาของกระดูกไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 พระญาณวิสาลเถร (พระครูวิจิตรสหัสคุณ) เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ท่านได้พาภิกษุสามเณร ภายในวัดพัฒนาถนนรอบภูเขา อยู่หลายวัน จนไปพบซากกระดูกไดโนเสาร์และเข้าใจว่า เป็นต้นไม้ที่มันกลายเป็นหินเรี่ยราดอยู่ตามภูเขา ซึ่งยาวประมาณ 10 เมตรซึ่งเป็นต้นไม้ใหญ่ก็เลยหยิบเอากระดูก นั้นหนักประมาณ 6 กิโลกรัม ท่านจึงได้นำเอามาเก็บไว้ที่ศาลา ปี พ.ศ. 2521 โดย ดร. วราวุธ สุธีธร , นาย ไพรัตน์ จรรยาหาญ , และคณะ ขณะที่สำรวจทำแผนที่ธรณีวิทยามาตราส่วน 1 : 250,000 ระหว่างจังหวัดร้อยเอ็ดโดยพบกระดูก 3 ชิ้น ซึ่งเก็บไว้โดยพระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้าอาวาส หลังจากนั้นคณะสำรวจโบราณชีววิทยาชีววิทยา - ฝรั่งเศสไปสำรวจเพิ่มเติมเมื่อปี พ.ศ. 2523 พบร่องรอยเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อย และได้นำกระดูก 3 ชิ้นนั้นมาศึกษา พบว่าเป็นส่วนของกระดูกขาหน้าของไดโนเสาร์ซอโรพอต ( Buffetaut, 1982 , 1983 ) ในช่วงปี พ.ศ. 2535 ท่านพระครูวิจิตรสหัสคุณก็ได้ขึ้นไปวิปัสสนาอยู่บนหลังเขาภูกุ้มข้าว และไม่ให้ลูกศิษย์รูปใดเข้าไปรบกวน รบกวน เป็นเวลา 3 พรรษา และวันนั้นเป็นวันที่ฝนตกหนักมากปรากฏว่าท่าน ได้นิมิตเห็นสัตว์ชนิดหนึ่งคอยาว ๆ เล่นน้ำอยู่ที่สระน้ำใหญ่ ที่วัด สักกะวันแห่งนี้ไม่นานนักมันก็หายไป ในช่วงเดือนกรกฎาคมต้นเข้าพรรษาพอดีและเดือนตุลาคมปลายออกพรรษ ครั้นในปี พ.ศ. 2536 ท่านก็ได้นิมิตเห็นอีกครั้งและเมื่อปี พ.ศ. 2537 ตอนเข้าพรรษา ท่านก็ได้เห็นอีกอยู่ใกล้ประมาณ 10 เมตรจากวันนั้นอีก 3 วันต่อมา ท่านก็ได้นิมิตเห็นแสงสว่างสีเหลือง เหลือง แล้วท่านก็เห็นเป็นรถบัสสีแดงวิ่งมาจากถนนทางทิศใต้ตรงที่วัดแห่งนี้จากนั้น ก็มี พระสงฆ์รูปนั้นก็ชี้ลงตรงไปพบซากกระะดูกไดโนเสาร์แล้วพูดว่า " ที่นี้สมบูรณ์แล้ว" จากนั้นภาพก็ค่อย ๆ จางหายไปและได้เกิดแสงสว่าง จ้าทั่วโลกทำให้ท่านมองเห็นนครเวียงจันทร์ (ภูเขาควายที่ประเทศลาว) แสงเหล่านั้น
จึงค่อย ๆ จางหายไป พอตอนเช้าท่านจึงได้ลงจาก หลังภูเขาภูกุ้มข้าววันนั้นก็ได้มีพายุฝนตกหนักตั้งแต่ตอนเช้าจนถึงเที่ยงวัน แล้วท่านก็ได้เดินออกไปตรวจดูบริเวณที่นิมิตเห็นรถบัสคันนั้น มาจอดอยู่ทำให้ท่านเกิดนิมิตพบโศก (หลุมลึก) กว้างประมาณ 4 ศอก ยาว 8 ศอก จากที่ฝนตกหนักทำให้น้ำฝนได้ชะล้างหน้าดินจึงพบชิ้นส่วน กระดูกมีลักษณะกลายเป็นหินโผล่ออกมา ท่านก็ได้เก็บเอากระดูกมากองไว้ประมาณ 20- 30 ชิ้น จนกระดูกกองนั้น สูงเท่าเอวตอนแรกท่านก็ ็คิดว่ามันเป็นกระดูกช้างท่านเก็บกระดูกตรงนั้นเป็นเวลา 4 วันจนพระภิกษุภายในวัดถามว่า "ท่านไปบริเวณนั้นทำไม" และท่านก็ได้เล่าเรื่องราว ของกระดูกนั้นให้พระภิกษุในวัดฟังและพาไปดูที่ท่านพบซากกระดูก จากนั้นท่านก็ได้ไปเชิญท่านนายอำเภอ ทางอำเภอจึงได้มาตรวจ ูแต่ก็ไม่ทราบชัดเจนว่าเป็นกระดูกอะไร ทางอำเภอจึงได้ติดต่อไปทางจังหวัดและนำเอากระดูกไปตรวจ ที่จังหวัดด้วย 2-3 ชิ้น จากนั้น ทางจังหวัดจึงได้แจ้งไปยังกรมทรัพยากรธรณีมาตรวจสอบ ซึ่งทางกรมทรัพยากรธรณี จึงได้ขอกระดูกส่วนข้อไปพิสูจน์โดย ได้ทำการพิสูจน์ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากฝรั่งเศสก็ได้พบว่ากระดูกไดโนเสาร์ และได้ทำการสำรวจและขุดค้นอย่างเป็นระบบจนถึงปัจจุบัน ต่อมาเดือนกันยายน 2537 นาย วราวุธ สุธีธร นาย เยาวลักษณ์ ชัยมณี นาย อัศนี มีสุข นาย ธีระพล วงศ์ประยูร และคณะจากกอง ธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ได้ออกไปศึกษาวิจัยซากหงอนที่พบอยู่ในแหล่งไดโนเสาร์ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในช่วงที่สำรวจอยู่ในพื้นที่นั้น ก็ได้รับแจ้งจากฝ่ายพัฒนาน้ำบาดาลที่ 3 โดยนาย อนันต์ เกตุเอม และนาย สุนทร ปัญจสุธารส ว่าทางวัดสักกะวัน พบกระดูก คาดว่าเป็นกระดูกไดโนเสาร์ จึงได้ไปตรวจสอบร่วมกันเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2537 ผลการขุดทดสอบเบื้องต้นเมื่อวันที่ 13-14 กันยายน 2537 พบว่า เป็นแหล่งสะสมกระดูกที่น่าสนใจมาก แต่ว่าช่วงเวลาที่ขุดเป็นฤดูฝน ชั้นหินมีน้ำมากทำให้การขุดค้นไม่สะดวกอาจทำให้กระดูกเสียหายได้ จึงทำการปิดหลุมไว้ชั่วคราว พร้อมทั้งกำชับให้ทางวัดช่วยดูแล ห้ามมิให้ผู้ใดมาขุดค้นทำลายการขุดอย่างเป็นระบบ ได้เดือนพฤศจิกายน 2537 คณะสำรวจไดโนเสาร์ไทย - ฝรั่ง ก็ได้ออกทำการสำรวจค้นหาฟอสซิลไดโนเสาร์อีกครั้งหนึ่งคราวนี้มุ่งหน้าไป ทำการขุดค้นแหล่งที่พบเมื่อ 2 เดือนก่อน ที่ภูกุ้มข้าว วัดสักกะวัน เราคาดการณ์ว่าควรจะใช้แวลาทำการขุดและเข้าเฝือกกระดูกเอากลับห้องปฏิบัติการทั้งหมดเสร็จเรียบร้อยในเวลา 1 เดือน แต่ว่าเราคาดการณ์ผิดหมดเมื่อเริ่มขุดในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2537 กระดูก 2-3 ชิ้น เริ่มโผล่จากหินทรายสีแดงหินทรายชั้นที่กลบฝังกระดูกอยู่นี้ค่อนข้างร่วนซุย เนื่องจากซีเมนต์ที่เชื่อมเม็ดทรายมีน้อย ทำให้การขุดทำได้เร็ว ฉะนั้นเพียงสัปดาห์แรกกระดูกขาหน้ากระดูกสะโพก และกระดูกส่วนหางของไดโนเสาร์ซอโรพอตขนาดใหญ่ก็โผล่ออกมาจากชั้นหินเรียงรายเห็นเป็นกลุ่มใหญ่ ประมาณ 50 ชิ้น หลุมขุดขยายกว้างไปเรื่อย ๆถึงสัปดาห์ที่ 2 กระดูกขาและกระดูกเท้า กระดูกสะบัก กระดูกคอ หลายชนิดก็โผล่ขึ้นมา กระดูกซี่โครงหลายซี่เรียงระเกะระกะออกมาจากระดูกสันหลัง แล้วก็มาถึงกระดูกต้นขาหลัง อีก 2 คู่วางกันอยู่ในกองกระดูก 2 กอง ทำให้บอกได้ว่ากระดูกเหล่านี้มาจากไดโนเสาร์อย่างน้อย 2 ตัวการขุดดำเนินต่อเนื่องไป หลุมขุดขยายกว้างออกไป จำนวนกระดูกก็โผล่มากขึ้นทุกที จนเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2537 กระดูกเลขสุดท้ายที่ลงในแผนผังคือ 181 ถึงตอนนี้ หลุมขุดแห่งนี้ก็เป็นแหล่งที่พบฟอสซิลไดโนเสาร์ที่มากที่สุดในประเทศไทย มากยิ่งกว่าหลุมขุดทุกแห่งที่เคยขุดมาก่อน และชิ้นกระดูกยังมีต่อเนื่องเข้าไปในชั้นหินอีก การขุดยังต้องดำเนินต่อไปหลุมขุดค้นวัดสักกะวัน ห่างจากโบสถ์วัดสักกะวันเพียง 150 เมตรโดยแยกเข้ามาจากถนนกาฬสินธุ์ สหัสขันธ์ ที่ กม 28 ข้างโรงเรียนสหัสขันธ์ศึกษา ก่อนถึงที่ว่าการอำเภอสหัสขันธ์เพียง 2 กิโลเมตรเรียกได้ว่าอยู่กลางอำเภอการคมนาคมสะดวก ทำให้มีผู้มาเยี่ยมชมการขุดค้นกระดูกจำนวนมากทุกวัน ตั้งแต่เช้าถึงค่ำ ฉะนั้นปัญหาที่ตามมาคือ การป้องกันหลุมขุดค้น เกตุเอมหัวหน้าฝ่ายพัฒนาน้ำบาดาล 3 จึงเห็นร่วมกันว่าควรมีหลังคาและรั้วป้องกัน ซึ่งฝ่ายพัฒนาน้ำบาดาล 3 ได้สนับสนุนโครงการนี้โดยส่งเจ้าหน้าที่ 10 คน พร้อมอุปกรณ์มาดำเนินการสร้างอาคารโครงเหล็ก หลังคาสังกะสีมีช่อง แสงกั้นรอบด้วยตาข่าย มีประตูใหญ่ 2 บาน คลุมพื้นที่ 9x12 เมตร ขอบหลุมเรียงด้วยก้อนหินทราย กลบด้วยดินทรายที่ขุดออกจากหลุมขุดค้น คณะ เจ้าหน้าที่ชุดนี้ปฎิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง เพียง 10 วัน อาคารป้องกันหลุมก็เสร็จเรียบร้อย ในเวลาต่อมาก็ต้องขยายพื้นที่ขุดเพิ่มเติม จึงสร้าง อาคารต่อไปอีก 11x12 เมตร หากรวมแล้วอาคารปัจจุบันจึงมีพื้นที่ประมาณ 240 ตารางกิโลเมตร

ตลอดช่วงปี พ.ศ. 2538 ได้ทำการขุดกระดูกภายในบริวเณที่สร้างหลังคา และรั้วป้องกันไว้ในช่วงก่อนฤดูฝน ก็ได้รับการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ และเครื่องมือเจาะหินขนาดใหญ่จากกองช่างกรมทรัพยาธรณี ทำการขุดกระดูก และกองรังวัดก็ช่วยทำรังวัดที่บริเวณภูกุ้มข้าวเป็นแผนที่ภูมิประเทศเพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาภูกุ้มข้าวถึงเดือนตุลาคม 2538 ได้ทำการขุดพบกระดกูอีกหลายร้อยชิ้น ที่น่าสนใจมากคือฟอสซิลไดโนเสาร์ซอโรพอตตัวหนึ่งเกือบสมบูรณ์ทั้งตัว โดยที่กระดูกยังคงเรียงรายต่อกันอยู่ โดยไดโนเสาร์ตัวนี้นอนคว่ำกระดูกสันหลังตั้งขึ้นมีซี่โครงออก 2 ข้างของลำตัว กระดูกสะโพกทุกชิ้นยังอยู่ ในตำแหน่งเดิม ต่อไปถึงกระดูกหาง ซึ่งเรียงม้วนเป็นวงกลม พาดขึ้นไปกลางหลังและยาวต่อไปจนกระทั่งถึงปลายทาง กระดูกขาหลัง 2 ข้าง ก็อยู่ทั้งซ้าย ขวา แต่ขาท่อนล่างหลุดกระจายออกไป ขาหน้าข้างซ้ายยังอยู่ แต่ขาหน้าข้างขวา คอ และส่วนหัวหลุดกระจายออกไป โครงกระดูก ของไดโนเสาร์ที่พบนี้นับว่าเป็นโครงกระดูกที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยพบมาในไทย คงจะบอกเราเกี่ยวกับขนาดรูปร่างขึ้นใหม่ถูกต้อง นอกจากโครง ร่างนี้แล้ว ก็ยังพบส่วนของหัวกระโหลก ไดโนเสาร์ซอโรพอตอีกหลายชิ้น ทำให้ทราบว่าแหล่งนี้มีไดโนเสาร์ซอโรพอต 2 ชนิดและคาร์โนซอร์ 2 ชนิด จากกระดูกที่พบทั้งหมดขณะนี้กว่า 630 ชิ้น ซึ่งมาจากไดโนเสาร์อย่างน้อย 6 ตัว ส่วนใหญ่เป็นกระดูกไดโนเสาร์ซอโรพอต จากนั้นเป็นต้นมา ฟอสซิลจากหลุมขุดค้นก็ค่อย ๆ ทยอยนำขึ้นมาอนุรักษ์ภายในห้องปฎิบัติการเฉพาะกิจ ซึ่งจัดตั้งโดยใช้ศาลาของวัดสักกะวันเป็นที่ทำการขณะเดียวกัน กรมทรัพยากรธรณีก็จัดสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นห้องปฎิบัติการสำหรับอนุรักษ์ตัวอย่างฟอสซิลเหล่านี้ ตามวิธี ที่เหมาะสมและทันสมัยที่สุดเท่าที่มีอยู่เช่นในต่างประเทศ เมื่อตัวอย่างเหล่านี้ได้รับการอนุรักษ์อย่างถูกต้องตามกระบวนการแล้ว ก็จะได้รับการ ศึกษาเปรียบเที่ยบเพื่อวินิจฉัยชนิดและอายุของฟอสซิลเหล่านั้น สหัสขันธ์รื่นรมย์ พระพรหมภูสิงห์ สวยยิ่งเขื่อนลำปาว ภูค่าวพระนอน พักผ่อนแหลมโนนวิเศษ อาเขตไดโนเสาร์ ภูกุ้มข้าวสัตว์โลกล้านปี จากการศึกษาวิจัยซากกระดูกไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าว วัดสักกะวัน อำเภอสหัสขันธ์จังหวัดกาฬสินธุ์ ทำให้ทราบว่าเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอต 2 ชนิดชนิดแรกเป็นเดียวกับที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่นคือ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน ( Phuwiangosaurus sirindhorhae) ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ในยุคครีเทเชียส ตอนต้น นานประมาณ 130 ล้านปีมาแล้วเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอตกินพืชเป็นอาหารมีขนาดกลางเดิน 4 เท้า คอยาว หางยาวและมีขนาดยาวประมาณ 15 - 20 เมตร ชนิดที่สองยังต้องรอผลการวิจัยและนอกจากนี้ยังมีฟันของไดโนเสาร์ คาร์โนซอร์ อีก 2 ชนิด คือ สยามโมซอรัส สุธีธรนิและสยามโมโทรันนัส อิสานเอนซิสมี ชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 130 ล้านปีมาแล้วปัจจุบันพบซากไดโนเสาร์ซอโรพอตในหลุมเดียวกันเป็นจำนวนอย่างน้อย 6 ตัว และมีกระดูกมากถึงเกือบ 800 ชิ้น

Category
Museum
Location
วัดสักกะวัน อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
Amphoe Sahatsakhan Province Kalasin
Details of access
วัดสักกะวัน อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
Reference สุภาวดี มิสา Email supa_misa@yahoo.co.th
Organization สนง.วัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์
Road กาฬสินธุ์
Province Kalasin ZIP code 46000
Tel. 0818747902 Fax. 043-811394
Website www.ksculture.go.th
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ 27 July 2012 at 16:00
ดีมาก ประชาสัมพันธ์ให้เจ้าของข้อมูลทราบและเข้าเยี่ยมชมข้อมูลด้วย
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่