ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 13° 55' 57.2444"
13.9325679
Longitude : E 100° 44' 57.6632"
100.7493509
No. : 129874
ตะกร้อหวาย
Proposed by. ปทุมธานี Date 2 April 2012
Approved by. ปทุมธานี Date 22 November 2012
Province : Pathum Thani
2 4910
Description

ตะกร้อหวาย

ตะกร้อเป็นการละเล่นชนิดหนึ่งของไทย แต่ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด

หรือชนชาติใดเป็นต้นคิดของการละเล่นชนิดนี้ แต่ในหลายๆ ประเทศก็มีการเล่นตะกร้อ หรือ

การละเล่นที่คล้ายคลึงกัน อาทิ ในประเทศพม่า มีหลักฐานว่า ราวพ.ศ. 2310 ทัพพม่ายกมาตั้ง

ที่ค่ายโพธิ์สามต้น ทหารพม่ามีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ชิงลง” ทางประเทศฟิลิปปินส์

ก็มีการละเล่นที่เรียกว่า “ซิปัก” (SIPAK) ในประเทศมาเลเซียตะกร้อถือเป็นกีฬายอดนิยม

แต่คนมาเลเซียเรียกกีฬาชนิดนี้ว่า “ซีปักรากา” (SEPAK RAKA) ซึ่งคำว่า “รากา” ก็หมาย

ถึงตะกร้านั่นเอง ส่วนในประเทศจีนก็มีการละเล่นที่คล้ายคลึงกับตะกร้อ แต่เป็นตะกร้อชนิดที่

ทำมาจากหนังที่เย็บเป็นลูกแล้วปักด้วยขนไก่ เช่นเดียวกับประเทศเกาหลีที่ใช้ดินเหนียวห่อด้วย

ผ้าสำลี ซึ่งปักด้วยขนหางของไก่ฟ้า

สำหรับประเทศไทยในสมัยโบราณ เรามีวิธีการลงโทษผู้ที่กระทำผิดกฎหมายโดยการ

จับใส่ภาชนะทรงกลมที่สานขึ้นด้วย “หวาย” แล้วนำไปให้ช้างเตะ ต่อมาก็ค่อยๆ พัฒนามา

เป็นการละเล่นของคน ในประเทศไทยมีการละเล่นหลายชนิดที่เกี่ยวกับตะกร้อ อาทิ ตะกร้อวง

ตะกร้อลอดห่วง และตะกร้อชิงธง นอกจากนี้ ในบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จ

พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่2 เรื่อง อิเหนา ก็มีเนื้อหาบางตอนที่กล่าวถึงการเล่นตะกร้อ

รวมไปถึงภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ระเบียงพระอุโบสถภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ปรากฏว่า

ก็มีภาพการละเล่นตะกร้อเช่นกัน

กีฬาตะกร้อมีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องโดยลำดับ ทั้งในด้านของกติกาการเล่น

จากการล้อมวงเตะตะกร้อเพื่อการละเล่นที่สนุกสนานหรือการออกกำลังกายเพื่อผ่อนคลาย

ก็ได้มีการปรับแปลงพัฒนาให้เป็นสากล และกลายมาเป็นกีฬาที่จัดแข่งขันในระดับนานาชาติ

อย่างกีฬาเซปักตะกร้อในปัจจุบัน

ด้านวัสดุที่นำมาทำตะกร้อ จากเดิมที่ใช้ผ้า หนังสัตว์ หรือที่สานขึ้นจากไม้ไผ่ในยุคแรก

ได้เปลี่ยนมาเป็นหวายในยุคสมัยหนึ่ง แต่เนื่องจากตะกร้อที่ผลิตขึ้นจากวัสดุธรรมชาตินั้น

ยากต่อการผลิตให้มีขนาดและน้ำหนักที่แน่นอนเท่ากันทุกลูก ทำให้กีฬาเซปักตะกร้อขาดการ

ยอมรับในระดับสากล จึงมีการคิดผลิตตะกร้อจากวัสดุประเภทพลาสติก ซึ่งสามารถผลิตได้

โดยระบบอุตสาหกรรม ให้ได้ปริมาณมากๆ และยังมีมาตรฐานทั้งขนาด น้ำหนัก และ

ความกลมของลูกตะกร้อเท่ากันทุกลูก ตะกร้อพลาสติกจึงได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นพร้อมๆ

กับการสูญหายไปของตะกร้อหวาย ประกอบกับหวายที่มักนำมาทำตะกร้อเป็นหวายป่าที่นับวัน

จะหายากขึ้นและมีราคาแพง จึงทำให้ตะกร้อหวายกลายเป็นของหายากไปในที่สุด

“ตะกร้อหวาย” ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมของประชาชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

คือ ตะกร้อที่สานกันในหมู่บ้านซึ่งติดกับที่ว่าการอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ประชาชน

ส่วนใหญ่ในอำเภอลำลูกกาเป็นชาวนา เมื่อว่างจากการทำนาก็จะยึดอาชีพสานตะกร้อหวาย

เป็นอาชีพเสริมที่ทำกันมามากกว่า80 ปี ในอดีตที่ผู้คนยังคงอาศัยแม่น้ำลำคลองในการเดินทาง

ไปมาหาสู่กัน หากนั่งเรือผ่านอำเภอลำลูกกาก็จะแลเห็นประชาชนสองฝั่งคลองนั่งสานตะกร้อ

กันแทบทุกบ้าน ในวันหนึ่งๆ จะมีตัวแทนของผู้รับซื้อรวบรวมตะกร้อจากชาวบ้านได้วันละ

กว่า200 ลูก และสามารถส่งตะกร้อออกจากอำเภอลำลูกกาไปจำหน่ายให้แก่ร้านค้า

ในกรุงเทพมหานคร และทั่วประเทศได้ถึงเดือนละ7,000 ลูก

Location
จำนงค์ มีกริยา ช่างทำตะกร้อหวาย อำเภอลำลูกกา
Tambon ลำลูกกา Amphoe Lam Luk Ka Province Pathum Thani
Details of access
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
Reference ชวนชม แย้มไสว
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
Tambon บางปรอก Amphoe Mueang Pathum Thani Province Pathum Thani ZIP code 12000
Tel. 02-5934270 Fax. 02-5934406
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่