ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 40' 31.8943"
14.6755262
Longitude : E 100° 47' 42.4921"
100.7951367
No. : 130458
นางนงนุช สอนราช
Proposed by. panida srethamma Date 10 April 2012
Approved by. สระบุรี Date 5 July 2012
Province : Saraburi
0 1279
Description

นางนงนุช สอนราช เกิดวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ อายุ ๕ช ปี เป็นข้าราชครู บำนาญ อยู่บ้านเลขที่ ๙๖ หมู่ ๗ ตำบลพุกร่าง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี มีความสามารถภูมิปัญญาด้านการสอนการประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้า การประดิษฐ์ดอกไม้สู่สวรรค์ (ดอกไม้จันทน์) งานดอกไม้สด โคมดอกไม้สด พวงมาลัยสด เครื่องแขวนไทย และการจัดทำประทีบโคมไฟ

ตาข่ายหน้าช้างดอกไม้สด

วัสดุและอุปกรณ์

๑. ดอกไม้สำหรับร้อยตาข่าย และร้อยเป็นสายโยงเพื่อใช้แขวน เช่น ดอกมะลิ ดอกพุด ดอกรัก เป็นต้น

๒. ดอกไม้สำหรับทำดอกตุ้ม เช่น ดอกบานไม่รู้โรย ดอกจำปี ดอกจำปา ดอกชบาหนู ดอกดาวเรือง หรือดอกข่า (ทำด้วยกลีบกุหลาบ)

๓. ดอกไม้สำหรับทำดอกสวม ใช้ดอกรัก ดอกพุด ดอกขจร ดอกมะลิ (เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง)

๔. ดอกไม้สำหรับทำดอกทัดหู ใช้ดอกไม้ธรรมชาติ เช่น ดอกเยอร์บีร่า ดอกบานชื่น ดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบ หรือจะเย็บแบบด้วยกลีบกุหลาบ ดอกบานบุรีก็ได้

๕. ดอกไม้สำหรับเย็บสวน ใช้กลีบกุหลาบกับใบก้ามปู ใบกระบือ

๖. กาบกล้วย สำหรับใช้รองเย็บแบบสวน

๗. ใบตอง สำหรับใช้รองเย็บแบบดอกทัดหูและทำตุ้มดอกข่า

๘. ไม้ไผ่ สำหรับทำโครง

๙. ฝ้าฝ้ายสีขาว สำหรับพันโครง

๑๐. เข็ม ด้ายที่มีความเหนียวสามารถรับน้ำหนักตาข่ายหน้าช้างทั้งพวงได้

๑๑. ถาดใส่ดอกไม้และใบไม้

๑๒. กระบอกฉีดน้ำ

๑๓. ผ้าขาวบางและผ้าเช็ดมือ

๑๔. มีดบางคมและกรรไกร

ขั้นตอนการเตรียม

๑. สำรวจสถานที่ที่จะนำตาข่ายหน้าช้างดอกไม้สดไปแขวน เพื่อกะขนาดตาข่ายให้พอเหมาะ ดูสวยงาม ไม่เกะกะ

๒. เหลาไม้ไผ่ขนาดยาวตามต้องการ กว้างประมาณ นิ้ว แล้วใช้ผ้าฝ้ายสีขาวพันให้เรียบร้อย

๓. กะแบ่งช่องตามลายตาข่ายที่ต้องการ โดยให้มีระยะห่างเท่าๆ กัน เว้นด้านหัวและด้านท้ายของไม้เข้ามาประมาณ นิ้ว สำหรับร้อยผูกโยงตาข่ายขึ้นไปบรรจบกันตรงกลางด้านบนเผื่อชายไว้ต่อตุ้มและดอกรัก ๓ ดอก

๔. คัดดอกพุดหรือดอกมะลิให้มีขนาดเท่ากันเพื่อสะดวกในการร้อยตาข่ายตามช่องที่แบ่งไว้

ขั้นตอนการร้อย

๑. ร้อยดอกพุดหรือดอกมะลิตามลายที่ต้องการ เช่น ลายเกล็ด ลายสี่ก้านสี่ดอก ลายกระเบื้อง ลายสามก้านสาม เป็นต้น โดยร้อยตามช่องที่แบ่งระยะไว้ ซึ่งแต่ละช่องจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า และเมื่อร้อยลดหลั่นกันลงมาเป็นชั้นๆ จนเหลือหนึ่งคู่สุดท้าย จะเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า เรียกว่า ตาข่ายหน้าช้าง

๒. ร้อยดอกรักเป็นสายยาวขึ้นไปจากหัวและท้ายของมุมไม้ทั้งสองข้าง (ร้อยดอกตามกัน)

หรือร้อยให้จุกเขียวของดอกชนกัน หรือร้อยให้แฉกดอกชนกัน แล้วผูกรวมกันตรงกลาง

เหลือชายไว้สำหรับผูก

๓. ร้อยตุ้งติ้งตกแต่งชายทั้ง ๒ ข้างของตาข่าย โดยร้อยดอกบานไม่รู้โรย ๑ ดอก เป็นดอกตุ้มใส่กลีบเลี้ยงเป็นหมวก แล้วร้อยดอกรัก ๑ ดอก เป็นดอกสวม

๔. ร้อยอุบะไทยทรงเครื่อง ๓ พวง ผูกที่ชายด้านล่าง มุมด้านขวาและมุมด้านซ้าย

๕. ฝานกาบกล้วยยาวเท่ากับไม้ไผ่ที่ใช้ทำโครง กว้าง นิ้ว นำมาเย็บสวน โดยใช้ดอกเข็มเย็บสลับกับใบปริก แล้วนำส่วนที่ได้มาเย็บติดกับโครงตาข่ายทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

๖. นำใบตองมาซ้อนสลับหัวท้ายกัน ตรึงตรงกลางใบตองเป็นรูปดอกจันเล็กๆ ตัดเป็นรูปวงกลม เย็บแบบด้วยกลีบดอกกุหลาบ จำนวน ๔ ชิ้น แล้วนำแบบมาติดที่มุม ๒ มุมที่ปลายไม้ทั้งสองข้าง ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เพื่อปิดรอยต่อของอุบะและสวน

Location
No. 96 Moo 7
Tambon พุกร่าง Amphoe Phra Phutthabat Province Saraburi
Details of access
การสัมภาษณ์/การสืบค้นหนังสือเรียนการงานเล่ม ๑
Reference นางพนิดา ศรีธรรมมา
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระบุรี
No.Road เทศบาล ๓
Tambon พุกร่าง Amphoe Phra Phutthabat Province Saraburi ZIP code 18000
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่