ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 18° 25' 41.8094"
18.4282804
Longitude : E 98° 47' 9.3448"
98.7859291
No. : 130531
พัดใบตาลโบราณ (ศรีนวล เหล่าญาณะ)
Proposed by. kunniga Date 10 April 2012
Approved by. ลำพูน Date 11 April 2012
Province : Lamphun
0 1737
Description

พัดใบตาลโบราณ เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้าน เนื่องจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือมีต้นตาลอยู่เป็นจำนวนมาก อีกทั้งขนาดของใบตาลมีขนาดใหญ่ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย การทำพัดจากใบตาล เริ่มต้นในยุคสมัยไหน ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่เล่าต่อกันมาว่า ในอดีตบรรพบุรุษปู่ย่าตายายก็ได้ใช้พัดจากใบตาลมาเนิ่นนานแล้ว หลักฐานที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ในยุคที่ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ท่านยังมีชีวิตอยู่ ครูบาเจ้าท่านก็มีพัดใบตาลเป็นเสมือนสิ่งของเครื่องใช้ประจำตัวท่าน ทว่าปัจจุบันยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาแทนที่ ความนิยมในพัดใบตาลจึงลดน้อยลงไปเนื่องจากพัดลมถูกนำมาใช้มากขึ้น พัดใบตาลจึงกลายเป็นของหายาก คนที่จะสืบสานในการทำพัดใบตาลก็ลดน้อยถอยลงทุกวัน
อุปกรณ์/วัสดุ/สื่อ/วัตถุดิบ ในการผลิตผลงาน

๑. ใบตาลที่ผึ่งแดดแห้งแล้ว

๒. มีด

๓. ด้ายและเข็มเบอร์ ๙ –๑๐

๔. ไม้ไผ่สำหรับทำด้ามพัด

๕. พู่กันและสีน้ำมัน

ขั้นตอนในการผลิตผลงาน

ขั้นตอนของการทำพัดใบตาล เริ่มจากการหาใบตาลยอดอ่อน ที่มีสีขาวหรือสีเขียวอ่อน ๆ จากนั้นนำมาตัดปลายใบออกให้มีรูปคล้ายพัด แล้วนำไม้มาเหลาเป็นซี่เล็ก ๆ นำมาหนีบติดรอบขอบพัด แล้วจึงนำเชือกมาเย็บให้แน่นอีกทีหนึ่ง จากนั้นก็ถึงขั้นตอนของการติดด้ามพัด โดยจะใช้ไม้ไผ่นำมาเหลาเป็นด้าม ตอกตะปูติดกับใบพัด เมื่อได้เป็นพัดใบตาลแล้ว จึงนำไปตากแดดเพื่อให้ใบตาลแห้ง สัก ๑- ๒ วัน หากวันไหนแดดแรง ก็ตากเพียง ๑ วันเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ใบตาลแห้งเกินไป ซึ่งจะทำให้พัดกรอบและหักง่าย

Location
บ้านหนองยวง
No. ๘๑ Moo
Province Lamphun
Details of access
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน (อำเภอเวียงหนองล่อง)
No. ๓๓ Moo
Tambon เวียงยอง Amphoe Mueang Lamphun Province Lamphun ZIP code 51000
Tel. 053510243 Fax. 053510244
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่