ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 19° 31' 23.9999"
19.5233333
Longitude : E 100° 18' 6.0001"
100.3016667
No. : 130549
วิหารไม้ ศิลปะไทใหญ่ วัดนันตาราม
Proposed by. Or Chiangkham Date 11 April 2012
Approved by. พะเยา Date 11 April 2012
Province : Phayao
0 2240
Description

ประมาณปี พ.ศ.2468 พ่อเฒ่านันตา (อู๋) วงศ์อนันต์ ได้เป็นเจ้าภาพสร้างวิหารไม้หลังใหม่ (หลังปัจจุบัน) โดยใช้แบบจากวิหารวัดบ้านหวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง โดยมีพ่อเฒ่าสง่าตั๋นบ้านป่าขาม จังหวัดลำปาง เป็นช่างใหญ่ และพ่อเฒ่าอุบล เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างพระวิหารวัดนันตาราม มีลักษณะเป็นวิหารไม้ทั้งหลัง รูปทรงแบบไทยใหญ่ หลังคาทรงเจตบุน ยกเป็นช่อชั้นลดหลั่นกันสวยงาม มุงหลังคาด้วยแป้นเกล็ด ปานต่องและปานซอย เป็นลวดลายและเทคนิคการฉลุไม้ มองจากภายนอก แบ่งกลุ่มเป็น 3 จอง คือ จั่วประธานสูงสุดเรียก จองพารา (ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป บริเวณจองพาราจะเน้นเป็นพิเศษเรียก ข่าปาน) จั่วต่ำสุดอยู่หน้ามุข เรียก จองตะก่าผะก่ามะ (ที่นั่งสำหรับฆราวาส) ส่วนจั่วที่แยกออกไปต่างหากทางทิศตะวันออกเรียก จองสังฆะ (คือ กุฏิที่พำนักของเจ้าอาวาส) ภายในวิหารยกพื้นสูงต่างระดับกันเป็น 3 ชั้น ชั้นสูงสุด คือ ชั้นพุทธะ ลดหลั่นลงมาเป็นชั้นพระสงฆ์ (บริเวณด้านหน้าพระพุทธรูป และจองสังฆะ) เป็นชั้นเดียวกัน ต่ำสุดเป็นที่นั่งอุบาสกอุบาสิกา สัมพันธ์กับจั่วหรือหลังคานั่นเอง เสาวิหารเป็นไม้มีทั้งสิ้น 68 ต้น ลงรักปิดทอง 40 ต้น เพดานภายในตกแต่งประดับประดาด้วยกระจก ลวดลายวิจิตรพิสดารสวยงาม

วัดนันตาราม ใช้เวลาก่อสร้างอยู่ราว 10 ปี สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ 45,000 บาท ในวันที่ 1 - 15 มีนาคม 2477 ได้จัดงานฉลองเป็นครั้งแรก และได้เปลี่ยนชื่อจากวัดจองคา เป็นวัดนันตาราม เพื่อการยกย่องและเป็นอนุสรณ์แก่พ่อเฒ่านันตา เป็น พ่อตะก่าจองนันตา (อู๋) วงศ์อนันต์ คือ มหาอุบาสกผู้สร้างวิหาร ตั้งแต่นั้นมา

Location
วัดนันตาราม
No. 1 Moo 13 บ้านบานเย็น
Tambon หย่วน Amphoe Chiang Kham Province Phayao
Details of access
วัดนันตาราม
Reference นายประพล ประวัง
Organization สมาคมไทลื้อจังหวัดพะเยา
Moo 1 บ้านธาตุสบแวน
Tambon หย่วน Amphoe Chiang Kham Province Phayao ZIP code 56110
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่