ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 18° 31' 27.304"
18.5242511
Longitude : E 99° 13' 52.8074"
99.2313354
No. : 133767
ซ้าหวด
Proposed by. tippawan_mat Date 3 May 2012
Approved by. ลำพูน Date 10 May 2012
Province : Lamphun
1 2566
Description

จักสานซ้าหวด สานชะลอม

จากวิถีชีวิตและความเป็นอยู่อันเรียบง่าย ของประชาชนชาวภาคเหนือ ที่มีค่านิยมในการรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก อีกทั้งนักคิดค้นหาวิธีการประดิษฐ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ด้วยการนำเอาวัสดุที่มีในท้องถิ่นราคาถูก หาได้ง่ายและใช้ภูมิปัญญาที่แฝงไว้ด้วยศิลปะการจักสานมา การประดิษฐ์เครื่องใช้ต่าง ๆที่เน้นกระบวนการด้วย

หวดนึ่งข้าว เป็นเครื่องใช้อย่างหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของชาวบ้านทุกวันจะต้องใช้หวดนึ่งข้าวเป็นประจำ การนึ่งข้าวเหนียวด้วยหวดนั้น นับว่าเป็นวิธีง่ายและสะดวกที่สุด ดังนั้น หวดนึ่งข้าวจึงเป็นเครื่องใช้ ที่ผู้ผลิตสามารถทำรายได้ให้กับครอบครัว โดยทำเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้เพิ่มให้กับครอบครัวและใช้เวลาว่างการจากทำเกษตรกรรมให้เกิดประโยชน์

อุปกรณ์/วัสดุที่ใช้

1. ไม้ไผ่อ่อน 2. มีดเหลา 3. มีดใหญ่

วิธีการสานซ้าหวด

1. นำไม้ไผ่อ่อนมาจักเป็นตอก

2. ขึ้นรูปภาชนะด้วยลายสาม จำนวน 32 เส้น

3. สานให้ได้ขนาดฮวดตามต้องการ เก็บลาย

ขั้นเตรียมเส้นตอก

ใช้พร้าตัดไม้ไผ่เฮี้ยจากกอ โดยเลือกลำที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป

ใช้เลื่อยตัวให้เป็นปล้อง ๆ โดยทิ้งส่วนที่เป็นข้อ ความยาวของไม้ไผ่ที่เลื่อยนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของหวด

เช่น ถ้าสานหวดใหญ่จะตัดไม้ให้ยาว 35 นิ้ว หวดขนาดกลาง 30 นิ้ว หวดขนาดเล็ก 25 นิ้ว เป็นต้น

ใช้พร้าผ่าไม้ไผ่เป็นซีก(ชาวบ้านเรียก กีบ) ขนกดความกว้างของซีกไม้ไผ่ หวดขนาดใหญ่ กว่าง 0.5 ซม.

หวดขนาดกลาง กว้าง 0.8 ซม. หวดขนาดเล็ก กว้าง 0.6 ซม.

การจักส่วยตอก คือ การเหลาซีกไม้ไผ่เพื่อลบคมของซีกไม้ตรงกลางออก แล้วเหลาหัวท้ายของซีกไม้ให้เรียวลง

ขั้นนำเส้นตอกที่จักไว้ไปผึ่งแดดย่าง หรือรมควัน

นำเส้นตอกที่จักเสร็จแล้วผึ่งแดดให้แห้ง ถ้าเป็นฤดูฝนก็ใช้วิธีรมควัน จะทำให้ไม่มีราขึ้น การผึ่งแดดใช้เวลา

2-3 วันถ้ารมควันก็ให้สังเกตดูสีของเส้นตอก เป็นสีน้ำตาล ก็ถือว่าใช้ได้

เมื่อเส้นตอกผึ่งแดดหรือรมควันได้ที่แล้วมัดตอกเป็นมัด ๆ ตามความยาวของเส้นตอก แต่ชะขนาดไว้

ขั้นการสานหวด

การก่อหวดใช้ตอกเป็นเปลือกไผ่ (ติวไม้) สานก่อรวมกันกับตอกธรรมดา วางในแนวตั้ง 4 เส้น แนวนอน 8 เส้น สานขัดเป็นลาย 3 โดยเริ่มจากจุดกึ่งกลาง สานไปข้างจุดกึ่ง สานไปข้างละ 13 ชัด รอบปลุกก้นหวด นำเอมหวดที่ก่อแล้วมาหักมุมที่จุดกึ่งกลางแล้ว สานลาย 3 ไป รอบ ๆ หวดจนหมดเส้นตอกทั้ง 2 ข้าง

การสานหวด ถ้าสานความสูงของหวดยังไม่ได้ขนาด ก็สามารถใช้เส้นตอกเพิ่มความสูงได้แล้วสานเพิ่มเข้าไปอีกทั้ง2 ข้าง

การไพหวด เมื่อความสูงได้ตามความต้องการแล้ว จะใช้ตอกไพ มาสานขัดหวดเป็นขัดลาย 3 โดยใช้ตอกไพ 3 เส้น สานลายขัดไล่กันไปให้รอบแล้ว ตัดเส้นตอกที่ยาวเกินไปทิ้งเพื่อเตรียมม้วนในขั้นตอนสุดท้าย

การม้วนหวดเริ่มจากด้านข้างของหวด ใช้นิ้วมือหักม้วนไปตามลาย ม้วนต่อกันไปเรื่อย ๆ จนถึงกึ่งกลายและเหน็บเส้นตอก 2 3 เส้น สุดท้ายลงไปตามลาย ของหวดแต่ละข้างก็จะได้หวดนึ่งข้าวที่สมบูรณ์

อ้างอิง ; การสานหวด : โรงเรียนบ้านเขวา “รัฐประชาวิทยากร”

Location
บ้านทาป่าเปา
No. 14 Moo 6 บ้านทาป่าเปา
Tambon ทาปลาดุก Amphoe Mae Tha Province Lamphun
Details of access
Reference นายจันทร์ติ๊บ จาติระเปา
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
No. 33 Moo 1
Province Lamphun ZIP code 51000
Tel. 053510243 Fax. 053510244
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่