เมื่อชาวบ้านรู้ว่ามีการตายเกิดขึ้นที่บ้านหลังไหนก็จะมาร่วมงานและช่วยงานในพิธีศพ ซึ่งพิธีศพจะจัดขึ้นที่บ้านของผู้ตาย โดยชาวบ้านผู้มาร่วมพิธีไม่ได้แตงกายด้วยชุดดำมาร่วมพิธี ในงานศพมีคนใส่เสื้อสีต่างๆ เช่น สีแดง สีเขียว สีน้ำตาล สีน้ำเงิน เป็นต้น เนื่องจากไม่ได้เคร่งครัดในเรื่องการแต่งกาย ในงานศพชาวบ้านจะมาช่วยกันทำดอกไม้หน้าศพทีเรียกว่า "ดอกมณฑา" ซึ่งจะประกอบด้วย ๓ สิ่ง คือ ๑) ใบเตย ซึ่งคำว่า "เตย" หมายถึง ร่วงแล้ว ที่ใช้ใบเตยเพราะใบเตยมีความหอม หอมนานไม่ว่าจะเหี่ยวแล้วก็ยังหอม เปรียบได้กับความคิดถงของคนที่ยังมีชีตอยู่ที่ส่งไปถึงคนที่ล่วงลับไป ไม่มีวันจืดจางเหมือนกลิ่นหอมของใบเตย ๒) พลับพลึงใช้แทนแสงสว่างที่จะนำพาคนที่ล่วงลับไป แล้วขึ้นสู่สวรรค์ อีกความหมายหนึ่ง คือ พลับพลึงมีความหมายหอม เปรียบได้กับความคิดถึงที่ยังคงอยู่ตลอดไป ๓) พริก ใช้ความเผ็ดของพริกแทนความคิดถึง เชื่อกันว่าคนที่ทำแต่ความดีพริกก็จะสลายไป เหลือแต่ใบเตยกับพลับพลึงทีจะนำไปถวายเจ้าปู่บนสวรรค์ ส่วนคนที่ทำแต่ความชั่วก็จะเหลือแต่พริกอย่างเดียว ซึ่งมีแต่ความเผ็ดร้อนตามติดตัวลงไปขุมนรก
การทำพิธีศพ จะมีการเสี่ยงทายว่าผู้ตายจะให้เผาที่ไหนระหว่างที่วัดหรือที่บ้าน หรือที่วัดป่า โดยใช้ขันธ์ ๕ คือ ดอกไม้ ธูป เทียน อย่างละ ๕ คู่ และที่สำคัญคือ ไข่ดิบ ๑ ฟอง ทำการเสี่ยงทาย ซึ่งผู้โยนหรือผู้เสี่ยงทายจะต้องเป็นคนที่ชาวบ้านนับถือ ผู้ทำการเสี่ยงทายจะโยนไข่ดิบในสถานที่ที่ใช้ในการเผาศพที่ใดที่หนึ่ง ถ้าโยนไขตกแตกที่ไหนก็ให้เผาทีนั้น แต่ถ้าโยนแล้วไข่ไม่แตกก็หมายความว่าผู้ตายไม่ต้องการให้เผาที่นั่น ต้องการให้เผาที่อื่น ซึ่งอาจเป็นวัดบ้านหรือวัดป่าตามแต่ผู้ตายจะเลือกให้เผาวัดไหน พิธีศพในวันเผาจะมีการหว่านข้าวตอกนำหน้าขบวนศพด้วยความเชื่อว่าข้าวตอกนั้น เป็นข้าวที่ไมงอกข้นเป็นต้นได้ใหม่ เปรียบเสมือนคนที่ตายไปแล้วจะไม่มีวันฟื้นคืนกลับมาและความเชื่ออีกประการหนึ่งของการหว่านข้าวตอก คือชาวบ้านเชื่อว่าภูตผีที่มาแห่ล้อมขบวนศพเพื่อต้อนรับผู้ที่ตายไปนั้น จะได้มาเก็บกินข้าวตอกแทน ไม่ไปรบกวนขบวนศพหรือไม่ไปนั่นบนโลงศพ ขบวนแห่จะได้ไม่หนักและไม่ช้า ส่วนกระดูกหลังจาการเผานั้นส่วนใหญ่ชาวบ้านจะนำมาไว้ทีวัดตามความเชื่อว่าวิญญาณใกล้ที่อยู่ใกล้พระอยู่ในวัดจะได้ฟังธรรม ฟังเทศน์จากพระสงฆ์ เมื่อวิญญาณเหล่านั้นได้ฟังเทศน์ ฟังธรรมแล้วจิตใจจะได้น้อมนำไปสู่สุขคติอันเป็นที่พึงปรารถนา