ประวัติความเป็นมา
ขนมสาเกเชื่อมได้ไปสัมภาษณ์ นางอำนวย แจ่มจิตร อยู่บ้านเลขที่ 4 หมู่ 5 ตำบลเจ้าปลุก อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผู้ที่มีอาชีพทำขนมสาเกเชื่อมขายมานานเป็นเวลาหลายปี เล่าว่า เด็กสมัยนี้อาจจะไม่ค่อยรู้จักกันมากนัก หากินได้ยาก แต่ถ้าใครได้กินแล้วจะติดใจ เพราะความนุ่มหนึบของสาเก
สาเก Breadfruit (Artocarpus altilis), มาลายาลัม: kada-chakkai, ฮาวาย: เป็นไม้ผลพื้นเมืองของหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียตะวันออก และมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก นอกจากนี้ยังปลูกแพร่หลายทั่วไปในภูมิภาคเขตร้อน เป็นพืชตระกูลเดียวกันขนุน ต้นสาเกที่ปลูกในฮอโนลูลู มลรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา ลักษณะต้นสาเกมีความสูงเต็มที่ได้ถึง 20 เมตร มีใบใหญ่และหนา ร่องใบลึกถึงก้าน ทุกส่วนของสาเกมียางมีขาวข้น ยางนี้นิยมใช้เป็นชันยาเรือ ส่วนผลใช้รับประทาน
ส่วนผสม สูตร 1
สาเก 1 ผล
น้ำ 3 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง
น้ำผึ้ง 1/4 ถ้วยตวง
เกลือ 1/4 ช้อนชา
น้ำมะนาว 1 1/2 ช้อนชา
น้ำ 2 ถ้วยตวง
วิธีทำ
ผ่า สาเกตามความยาวของผล จับแต่ละซีกคว่ำลง แล้วหั่น ขวางผลให้หนา 1 นิ้ว ฝานเปลือกและไส้ทิ้งไป แช่ในน้ำปูน ใส 15 นาที แล้วล้างน้ำปูนออกให้หมด
ต้มน้ำ 3 ถ้วยตวงให้เดือด จึงนำชิ้นสาเก ลงต้มประมาณ 15 นาที ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำ
ต้ม น้ำตาลทรายกับเครื่องปรุงที่เหลือทั้งหมดด้วยกันจนเดือด จึงใส่สาเกที่ต้มไว้ลงไปต้มด้วยไฟอ่อน ๆ จนน้ำตาลซึมเข้า เนื้อดี ละน้ำเชื่อมงวด ต้องหมั่นคนให้ชิ้นสาเกแช่น้ำเชื่อม อย่างทั่วถึง ตักชิ้นสาเกใส่จานเสิร์ฟ ราดด้วยน้ำเชื่อมให้ทั่ว
ส่วนผสม สูตร 2
สาเก 1/2 กิโล
น้ำตาลทราย 3 ถ้วย
น้ำ 2 ถ้วย
เกลือ 1/2 ช้อนชา
กะทิ 1 กระป๋อง
ใบเตย (ไม่ใส่ก็ได้)
น้ำปูน 4-5 ถ้วย (ถ้าชอบแบบนิ่มๆก็ไม่ต้องใช้)
น้ำมะนาว มะนาวสำหรับทาผิวสาเก
วิธีทำ
1. ปอกเปลือกสาเกออก ล้างน้ำสะอาด ผ่าครึ่งลูก แล้วจึ่งแบ่งป็น 4 ส่วน เฉือนเอาไส้กลางออก
2. แช่สาเกลงในน้ำปูนใสประมาณ 2 ถึง 3 ชั่วโมง
3. ผสมน้ำตาลทรายกับน้ำในหม้อ ใส่ใบเตย ตั้งไฟต้มให้เดือด ใส่สาเกใช้ไฟอ่อนๆ เชื่อมจนน้ำเชื่อมซึมเข้าเนื้อ ให้น้ำเชื่อมท่วมสาเก คอยตักน้ำเชื่อมราดหรือคอยกลับข้างเพื่อให้นำเชื่อมเข้าเนื้อสาเกตลอด
4. เมื่อสาเกมีลักษณะอิ่มน้ำเชื่อม สุก และใส เคี่ยวจนน้ำเชื่อมงวด จึงยกลง พักไว้จนเย็นสนิท เก็บใส่ภาชนะปิดฝาให้สนิทเก็บไว้รับประทานได้นานวัน
5. นำกะทิกับเกลือใส่หม้อ ยกขึ้งตั้งไฟ พอเดือดยกลง พักไว้พออุ่นก็นำไปราดสาเก