ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 6° 52' 43.9075"
6.8788632
Longitude : E 101° 18' 23.0731"
101.3064092
No. : 13642
เรือนไทยมุสลิมจังหวัดปัตตานี
Proposed by. คนึงนิจ สาโร Date 4 January 2011
Approved by. ปัตตานี Date 30 June 2022
Province : Pattani
0 1143
Description

ลักษณะเฉพาะของเรือนไทยมุสลิมจังหวัดปัตตานี 1. บริเวณบ้าน โดยทั่วไปเป็นลานดิน ไม่มีการสร้างรั้วกั้นอาณาเขตของบ้าน หมู่บ้านที่ปลูกสร้างเป็นกระจุก ด้านข้างของเรือนจะเว้นพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก สร้างยุ้งข้าว และกรงเลี้ยงนกเขาชวา ด้านหลังของเรือนจะขุด บ่อน้ำ ที่อาบน้ำ ส้วม ด้านหน้าเป็นทางเดินขึ้นเรือน ปักเสาแขวนกรงนกเขาชวา 2. รูปแบบของเรือน เกี่ยวข้องกับอาชีพและฐานะเจ้าของบ้านจะแบ่งออกเป็นเรือนชาวกสิกรรม ชาวประมง เรือนค้าขาย และเรือนคหบดี เรือนเหล่านี้จะมีความแตกต่างกัน มีรูปแบบและการใช้สอยเฉพาะตัว 3. วิธีการก่อสร้าง การก่อสร้าจะใช้ช่างฝีมือในท้องถิ่น การสร้างเรือนซึ่งเป็นเอกลักษณะเฉพาะของชาวไทย มุสลิม คือการโยกย้ายยกเรือนทั้งหลังจากที่อื่นมาสร้างในที่ใหม่ อีกลักษณะคือ การนำบางส่วนของเรือนหลัง เก่ามาต่อเติมสร้างเรือนหลังใหม่ 4. ลักษณะทางสถาปัตยกรรม เรือนไทยมุสลิมมีลักษณะเป็นเอกลักษณะเฉพาะตัว เช่น เรือนแถบหมู่บ้าน ปรีดี มีการตกแต่งลวดลายที่ยอดซึ่งงดงามได้จังหวะรับกับสัดส่วนของจั่ว หมู่บ้านประมงมีการตกแต่งลวดลาย ที่หน้าจั่วแบบรัศมีแสงอาทิตย์ หมู่บ้านตันหยงลุโละ มีการแกะสลักลวดลายประกอบที่ปั้นลม ส่วนของผนัง เรือนที่เป็นแบบลูกฟักประกอบกับลายแกะสลักที่เรือนในหมู่บ้านยะหริ่ง บันไดขึ้นเรือนที่หมู่บ้านตันหยงลุโละ และหมู่บ้านบางปู คุณค่าทางสถาปัตยกรรมของเรือนทั้งหลังในด้านความเก่าแก่ มีลักษณะเป็นเรือนไทย มุสลิมเด่นชัด มีรูปแบบลักษณะสัดส่วนงดงามแยกตามรูปแบบและอาชีพของชาวไทยมุสลิม ดังนี้ เรือนชาวกสิกรรม ได้แก่ เรือนที่หมู่บ้านปรีดี เรือนชาวประมง ได้แก่ เรือนที่หมู่บ้านปรีดี เรือนค้าขาย ได้แก่ เรือนที่อำเภอสายบุรี และยะหริ่ง เรือนคหบดี ได้แก่ เรือนที่หมู่บ้านตันหยงลุโละ และเรือนที่หมู่บ้านประแว โครงสร้างและองค์ประกอบของเรือนไทยมุสลิม การปลูกสร้างเรือนไทยมุสลิม โครงสร้างส่วนใหญ่จะใช้ในการก่อสร้าง การก่อสร้างเรือนมิได้มีการ เขียนแบบใดๆไว้ล่วงหน้า ช่างพื้นบ้านจะสร้างเรือนโดยอาศัยประสบการณ์ในการกำหนดผังเรือนขนาดและ รูปแบบของเรือน เรือนที่สร้างเสร็จแล้วจะใช้สีน้ำมันทาไม้ ผนังและพื้น องค์ประกอบสำคัญหลักๆของเรือนไทยมุสลิม ฐานเสาเรือน ไม่ใช้เสาเรือนปักลงดิน แต่จะใช้ฐานคอนกรีตสำเร็จรูปรองรับเสาของเรือน เสาเรือน ใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นเสาสี่เหลี่ยมวางบนฐานคอนกรีตสำเร็จรูป บันได เรือนไทยมุสลิมส่วนมากจะมีบันไดทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเรือน แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะตาม วัสดุที่ใช้ คือบันไดที่ทำด้วยไม้ บันไดที่ทำด้วยปูนซีเมนต์ ชานโล่ง จากบันไดก่อนขึ้นสู่ตัวเรือนมักจะทำลานโล่งและไม่มีการกั้นราวรอบๆ ซุ้มประตู แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือซุ้มประตูทางเข้าบ้าน และซุ้มประตูทางเข้าเรือน เฉลียง คือส่วนที่อยู่ด้านหน้าสุดของเรือน พื้นส่วนมากเป็นที่สำหรับใช้พักผ่อนและพื้นที่เอนกประสงค์ จะ เป็นไม้กระดาน ระดับของพื้นจะต่ำกว่าระดับพื้นในเรือน พื้นเรือน ใช้ไม้กระดานปูตามยาวของเรือน บางเรือนจะใช้เสื่อน้ำมัน ฝาผนัง มีการใช้วัสดุต่างๆในการทำฝาผนัง ตามฐานะและประโยชน์ใช้สอย เช่นไม้ไผ่หรือหวาย สังกะสี หรือไม้สำหรับบนบ้านที่มีฐานะ ฝาผนังของเรือนที่เก่าแก่จะใช้ไม้กระดานแผ่นกว้างแบ่งเป็นช่วงแบบลูกฝัก ตกแต่งด้วยลายแกะสลักฉลุโปร่ง หน้าต่าง เรือนไทยมุสลิมไม่นิยมเจาะหน้าต่าง อาจจะเนื่องมาจากมีฝนตกชุก ถ้ามีหน้าต่างๆจะใช้แบบบาน เปิดออกทั้ง 2 บานต่อ หน้าต่าง ประตู ประตูทางเข้าเรือนนิยมใช้ประตูแบบบ้านเฟื้ยมในบ้านขนาดใหญ่ ส่วนบ้านขนาดเล็ก นิยมใช้บาน ประตูแบบบานคู่1ช่อง ฝ้าเพดาน เรือนไทยมุสลิมจะไม่ทำฝ้าเพด้านจึงสามารถมองเห็นโครงหลังคาของเรือนไทยชัดเจน หลังคา โครงสร้างของหลังคาส่วนมาใช้ไม้ระแนง นิยมใช้กระเบื้องดินเผาในการมุงหลังคา หน้าจั่ว เรือนไทยมสลิมนิยมแตกแต่งหน้าจั่วเป็นลักหษณะข่างกัน เช่น รูปรัศมีดวงอาทิตย์ เขียนสีเป็น ลวดลายดอกไม้และอักษรอาหรับ ยอดจั่ว จะนิยมตกแต่งเป็นเอกลักษณ์อย่างชัดเจน ตรางปลายมุมแหลม ของยอดจั่วจะทำเป็นเสาขนาดเล็กทำด้วยไม้กลึงและปูนซีเมนต์ ด้านหน้าทั้ง 2 ข้างของเสาที่ยอดจั่วจะตกแต่ง ด้วยลวดลายฉลุ ปั้นลม ส่วนมากใช้ไม้เนื้อแข็งเนเสน้นตรงบรรจบกันที่มุดมแหลมของยอดจั่วส่วนปลายล่างของงปั้นลมจะ ตัดตรงไม่ทำลวดลายอะไร สันหลังคา ใช้กรอบกระเบื้องและปูนในส่วนปลายขอสันหลังคาที่เทลงมาจะปั้นปูนให้กระดก การตกแต่งสัน หลังคาส่วนมากจะทำกันในเรือนร้านค้าที่มีหลังคาทรงปั้นหยา เชิงชาย เรือนไทยมุสลิมทั่วไปจะทำเชิงชายเรือนธรรมดา แต่บางเรือนจะมีการทำลวดลายฉลุไม้รอบตัว เรือน ยุ้งข้าว ในจังหวัดปัตตานีมักจะสร้างยุ้งข้าวไว้เพื่อเก็บข้าวอีกต่างหากไว้ข้างตัวเรือน บ่อน้ำ ที่ตั้งของบ่อน้ำจะอยู่ด้านหน้าหรือด้านหลังของเรือน บริเวณบ่อน้ำจะตั้งอยู่ที่ด้านหน้าหรือด้านหลัง ของเรือน ที่อาบน้ำ ที่อาบน้ำจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ลักษณะแรกจะใช้แผ่นหินหรือซีเมนต์ปูพื้นข้างบ่อน้ำเป็นที่ อาบน้ำ อีกลักษณะกั้นเป็นคอกสี่เหลี่ยมทำด้วยไม้มะพร้าวหรือสังกะสี ส้วม ในอดีตบ้านของชาวไทยมุสลิมจะไม่มีการสร้างส้วมในบริเวณบ้าน เสาแขวนกรงนกเขาชวา จะใช้ไม้ไผ่เป็นลำยาปักบนพื้นดิน บริเวณหน้าบ้านหรือข้างบ้าน ความสูง 4 เมตร ขึ้นไป ลายสุดของเสาจะทำท้าวแขนยื่นออกมา ปลายของท้าวแขนจะติดรอกร้อยเชือก เพื่อลักรอกนกเขาสู่ ยอด กรงเพาะพันธุ์นกเขาชวา จะพบเห็นอยู่ในบริเวณบ้านมีการสร้างกรงนกเขาชวาเป็นแถวยาว มีลักษณะเป็น กรงหลังคาทรงจั่ว มุงด้วยสังกะสี หรือกระเบื้องดินเผา ลักษณะของเสาเป็นเสาเดี่ยว ทำที่เสาทาน้ำมันเพื่อ ป้องกันมด

Location
Amphoe Mueang Pattani Province Pattani
Details of access
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่