ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 11' 21.9998"
18.1894444
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 39' 32"
100.6588889
เลขที่ : 136594
ประเพณีทานสลากภัตวัดพงษ์
เสนอโดย เจิด วันที่ 24 พฤษภาคม 2555
อนุมัติโดย สนง.วัฒนธรรม จ.น่าน วันที่ 28 พฤษภาคม 2555
จังหวัด : น่าน
0 318
รายละเอียด

ประเพณีทานสลากภัติ , ตานก๋วยสลาก, ตานสลาก, กิ๋นข้าวสลาก, กิ๋นก๋วยสลากหรือกิ๋นสลาก ล้วนแล้วแต่เป็นภาษาของชาวถิ่นล้านนาที่มักมีการเรียกขานแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น แต่ความหมายนั้นเหมือนกันโดยหลักการ อาจจะแตกต่างกันไปบ้างในเรื่องของรายละเอียดถ้าเป็นภาษาไทยกลางเรียกว่า "สลากภัต" ประเพณี "ตานก๋วยสลาก" หรือ “สลากภัต”ของชาวล้านนานิยมปฏิบัติกันตั้งแต่เดือน ๑๒ เหนือถึงเดือนยี่เหนือหรือตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมของทุก ปี สาเหตุที่ถือปฏิบัติกันเช่นนี้ก็เพราะว่า เป็นช่วงที่ชาวบ้านได้ทำนากันเสร็จแล้ว หยุดพักผ่อน พระสงฆ์ก็จำพรรษาอยู่วัดไม่ได้ไปไหนและ ในช่วงเวลานี้ก็มีผลไม้สุก เช่น ลำไย มะไฟ สมโอ เป็นต้นเมื่อต้นข้าวในนาเริ่มเขียวขจี ชาวนาที่มีฐานะไม่ค่อยดีการดำรงชีวิตก็เริ่มขัดสน เมื่อข้าวในยุ้งก็หมดก่อนฤดูกาลเก็บเกี่ยวจะมาถึง ดังนั้นการตานก๋วยสลากในช่วงนี้จึงเท่ากับว่าได้สงเคราะห์คนยากคนจนเป็นสังฆทานได้กุศลแรง ก่อนจะถึงวันตานก๋วยสลาก ๑ วันเขาเรียก "วันดา" หรือ "วันสุกดิบ" วันนี้จะเป็นวันที่ชาวบ้านได้จัดเตรียมข้าวของไม่ว่าจะเป็นของกินหรือของใช้ต่างๆ สำหรับที่จะ นำมาจัดดาใส่ก๋วยสลากและวันนี้มักจะมีญาติสนิทมิตรสหายที่อยู่ต่างบ้านมาร่วมจัดดาสลากด้วย ซึ่งถือเป็นประเพณีที่จะได้ทำบุญร่วมกัน

ก๋วยสลากจะมีอยู่ ๒ ลักษณะ

๑. ก๋วยน้อย เป็นก๋วยสลากสำหรับที่จะถวายทานไปให้กับผู้ที่ล่วงลับ ซึ่งไม่เพียงแต่ญาติน้องเท่านั้นอาจจะเป็นเพื่อนสนิทมิตรสหายก็ได้ หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงที่เราเคยรักและมีคุณต่อเราเมื่อครั้งยังมีชีวิตเช่น ช้าง ม้า วัว ควายและสุนัข เป็นต้น หรือถ้าไม่รู้ว่าจะถวายทานไปให้ใครก็ถวายทานเอาไว้ภายหน้า

๒. ก๋วยใหญ่ เป็นก๋วยที่จัดทำขึ้นใหญ่เป็นพิเศษซึ่งจะบรรจุข้าวของได้มากขึ้น ถวายเป็นมหากุศลสำหรับคนที่มีกำลังศรัทธาและฐานะดี เป็นพลวปัจจัยนับว่าได้กุศลแรงสิ่งของที่นำมาบรรจุใส่ในก๋วยสลากเพื่อที่จะนำไปถวายทานได้แก่ ข้าวสาร บุหรี่ กะปิ น้ำปลา เกลือ กระเทียม หอม น้ำ ขนม ข้าวต้ม ข้าวนึ่งจี้นทอด เมี่ยง พริกแห้ง ไม้ขีดไฟเทียนไข สบู่ ยาสีฟัน สมุด แปรงสีฟัน ดินสอ ผลไม้ต่างๆ และที่สำคัญ คือ เงินสำหรับ ที่จะทำเป็นยอดของก๋วยสลาก

สถานที่ตั้ง
วัดพงษ์
หมู่ที่/หมู่บ้าน ๔ บ้านพงษ์
ตำบล บ่อแก้ว อำเภอ นาหมื่น จังหวัด น่าน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ศึกษา สำรวจ ค้นคว้า สอบถาม
บุคคลอ้างอิง นายบรรเจิด ติ๊บตุ้ย อีเมล์ bunjerd-16@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอนาหมื่น อีเมล์ bunjerd-16@hotmail.com
หมู่ที่/หมู่บ้าน ๑ บ้านหลักหมื่น (ที่วาการอำเภอนาหมื่น)
ตำบล นาทะนุง อำเภอ นาหมื่น จังหวัด น่าน รหัสไปรษณีย์ 55180
โทรศัพท์ ๐๘๗๑๘๘๗๔๓๗ โทรสาร ๐๕๔ - ๗๘๗๒๔๕
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่