สำหรับประวัติโดยย่อของหลวงพ่อพุก ท่านมีนามว่า “พุก” เกิดเมื่อวันเสาร์ขึ้น 11 ค่ำเดือนอ้าย พ.ศ.2402
ณ หมู่บ้านด่าน อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี โยมบิดารับราชการเป็นที่ “หมื่นฮึกหาญรบ” โยมมารดาชื่อ “อุ่น” เมื่อท่านอายุได้เพียงขวบบิดาได้เสียชีวิตลง ท่านจึงกำพร้าตั้งแต่เล็ก ครั้นท่านอายุ 15ปี มารดาได้พาไปบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดพระยาทำ อำเภอกบินทร์บุรี (จังหวัดกบินทร์บุรีในสมัยนั้น) จังหวัดปราจีนบุรี โดยมี พระอาจารย์ยาเป็นพระอุปปัชฌาย์ สามเณรน้อยได้พยายาม อุสาหะ เล่าเรียนพระธรรมวินัยจนเก่งกล้าสามารถ
พ.ศ.2422 ท่านมมีอายุครบ 20 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ ณ วัดท่าพาณิช โดยมี พระครูธรรมวินัยธร(พระครูหลักคำ) วัดเมืองเก่า เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์พันธ์เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอาจารย์ลี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วได้ยายมาจำพรรษาที่วัดพระยาทำเช่นเดิม
“พระภิกษุพุก” ได้ค้นคว้าเล่าเรียนมูลบทกัจจายน์มงคลทีปนึสูตรสนธิ และเจนจบในพระปาติโมกข์ จนมีชื่อเสียงเลื่องลือมั่วบริเวณต้นน้ำบางประกง
ต่อมาในปี พ.ศ.2432 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระยาทำ,พ.ศ.2437รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์, พ.ศ.2441 เป็นเจ้าคณะแขวงกบินทร์,พ.ศ.2457 ได้รับตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดกบินทร์บุรี และได้รับสมณศักดิ์ที่ “พระครูกบินจริยาธิมุต”หมายถึง “พระผู้มีความประพฤติงดงามเป็นตัวอย่างที่ดีของชาวกบินทร์”
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2482 หลวงพ่อพุก มียายุได้ 80 ปีเศษ แต่ยังคงมีสติระลึกได้เสมอ มิยอมก้าวล่วงต่อพระธรรมวินัย สามารถลงอุโบสถปฏิบัติศาสนกิจโดยมิได้บกพร่อง ทั้งยังสามารถกำหนดทราบถึงวาระสุดท้ายของสังขาร จึงได้มอบบริสังฆกิจสั่งศิษย์เรื่องงานศพไว้เรียบร้อยแล้วท่านได้นั่งสมาธิมรณภาพ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2482รวมสริรวมอายุ 80 ปีเศษ
หลวงปู่พุก(พระครูกบินทร์จริยาธิมุต) อดีตเจ้าอาวาส ระหว่างปี ๒๔๓๓-๒๔๘๒ และอดีตเจ้าคณะจังหวัดกบินทร์บุรี ท่านเป็นพระแท้รูปหนึ่งซึ่งปฏิบัติดีปฏิบัติชอบครองสมณเพศ มาตั้งแต่อายุ ๑๖ ปี ถึง ๘๐ ปี ระหว่างรัฐกาลที่ ๔ ถึง รัฐกาลที่ ๘ หลังจากท่านมรณภาพเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทหารที่เข้าร่วมสงครามนิยมพกพารูปเหรียญของท่านติดตัวไปควบคู่กับผ้ายันต์ของหลวงพ่อจาดแห่งวัดบางกระเบา อำเภอบ้านสร้างด้วย