ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 39' 58.9342"
14.6663706
Longitude : E 100° 0' 4.9086"
100.0013635
No. : 14217
พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์
Proposed by. ว่าที่ ร.ต.สุพัฒน์ หอมสุวรรณ Date 10 January 2011
Approved by. virach Date 10 January 2011
Province : Suphan Buri
1 441
Description
ความสำคัญของเมืองสุพรรณบุรีในฐานะเป็นเส้นทางการเดินทัพและการสงครามเด่นชัดเมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศให้กรุงศรีอยุธยาเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กรุงหงสาวดี ทำให้พระเจ้ากรุงหงสาวดีทรงพิโรธและส่งกองทัพเข้ามารบพุ่งกับกรุงศรีอยุธยาหลายครั้ง ซึ่งต้องใช้เส้นทางการเดินทัพผ่านเมืองสุพรรณบุรีเกือบทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อครั้งพระเจ้ากรุงหงสาวดี ตรัสให้พระเจ้าเชียงใหม่และพระยาพะสิม ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก หลังการประกาศอิสรภาพจากกรุงหงสาวดี พระยาพะสิมก็ได้ใช้เส้นทางผ่านด่านเจดีย์สามองค์ ผ่านกาญจนบุรีเข้าสู่เมืองสุพรรณบุรี ในขณะที่กรุงศรีอยุธยาก็ได้ใช้เมืองสุพรรณบุรีเป็นสนามรบ เพื่อป้องกันกรุงศรีอยุธยาครั้งนั้น ดังความในพระราชพงศาวดารว่า ...พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ตรัสรู้ข่าวข้าศึกอันยกมาทั้งสองทางสามทางนั้น... ตรัสให้พระยาคลังเป็นยกกระบัตร ให้ยกทัพเรือนั้นไปเมืองสุพรรณบุรี ครั้นทัพเรือไปเถิงเมืองสุพรรณบุรีให้รบพุ่งกันด้วยทัพพระยาพะสิม ซึ่งตั้งอยู่ในสุพรรณบุรีนั้น...และทัพพระยาสิมนั้นจะตั้งอยู่มิได้ ก็เลิกทัพกลับออกไป... ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช การศึกระหว่างกรุงศรีอยุธยาและกรุงหงสาวดีที่สำคัญคือ สงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระมหาอุปราช แห่งกรุงหงสาวดี ซึ่งเชื่อกันว่าสนามแห่งมหาสงครามครั้งยิ่งใหญ่นี้เกิดขึ้นในเขตแดนของเมืองสุพรรณบุรีและยังปรากฏร่องรอย ของซากเจดีย์ซึ่งเชื่อว่าเห็นเจดีย์ยุทธหัตถีที่สมเด็จ พระนเรศวรมหาราชทรงโปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะ ดังความในพระราชพงศาวดารว่า ...ฝ่ายพระมหาอุปราชเสด็จยกทัพหลวงถึงกาญจนบุรีเห็นเมืองร้างเปล่าไม่มีคนก็เข้าพระทัยว่าชาวพระนครรู้การแล้ว... จนเสด็จถึงตำบลตระพังตรุ แดนเมืองสุพรรณบุรี ให้ตั้งทัพชัยโดยขบวนแล้ว... ส่วนสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้ากับสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าตรัสปรึกษาด้วยมุขอำมาตย์ทั้งปวง ว่าข้าศึกของมหาอุปราชยกมาครั้งนี้เราจะกรีพลออกต่อ ยุทธนาการกลางแปลงดีหรือจะตั้งรับในพระนครดี... สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ได้ฟังมุขมนตรีกราบทูลดังนั้นก็ชอบพระทัยนัก แย้มพระโอษฐ์ดำรัสว่า ซึ่งปรึกษา การสงครามครั้งนี้ต้องความดำริเรา... ให้พระยาราชพฤทธานนท์ เป็นยกกระบัตร ยกไปขัดรับหน้าข้าศึกอยู่ ณ ตำบลทุ่งหนองสาหร่าย... สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงช้างพญาไชยานุภาพ... สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าทรงช้างต้น พญาปราบไตรจักร... แล้วเสด็จไปตามท้องทุ่งเพลาเที่ยงพระอาทิตย์ทรงกลดร่มช้างพระที่นั่งไปจนบ่าย 3 โมง พอกระทั่งกองหน้าซึ่งตั้งอยู่ตำบล หนองสาหร่าย เสด็จประทับเกยใต้ฉายาไม้ประดู่ใหญ่อันสถิตย์เหนือจอมปลวก เอาเป็นนิมิตครุฑนามชัยภูมิ สั่งให้เร่งตั้งค่ายกองหน้าหลัง ปีกซ้ายขวาเป็นกระบวนปทุมพยุหะ... ครั้งอรุณรุ่งแสงสุริโยภาส พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เสด็จยังเกยตรัสให้ท้าวพระยาในกองทัพหลวงยกออกไปตั้งกระบวนเบญจเสนา.. . สมเด็จพระนเรศวร เป็นเจ้าจึงตรัสร้องเรียกด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่าเชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกันให้เป็นเกียรติยศ ไว้ในแผ่นดินเถิด...พระมหาอุปราชาได้ฟังดังนั้น ละอายพระทัยมีขัตติยราชมานะก็บ่าย พระคชาธารออกมารับ.. พระนเรศวรเป็นเจ้าเบี่ยงพระมาลารับ พระแสงของ้าวมิได้ต้องพระองค์ เจ้าพญาไชยานุภาพสะบัดลง ได้ล่างแบกถนัด พลายพัทกอเพลียกเบนไป สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าได้ทีจ้วงฟันด้วยพระแสงพลพ่ายต้องพระอังสาเบื้องขวา พระมหาอุปราช ตลอดลงมาจนถึง ปัจฉิมมุราประเทศซบลง กับคอช้าง.. สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสให้ก่อพระเจดีย์ฐานสวมศพพระมหาอุปราชไว ้ตำบลตระพังตรุ... ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โปรดให้ค้นหาพระเจดีย์ยุทธหัตถี เจ้าหน้าที่ ฝ่ายต่าง ๆ ได้ช่วยกัน ค้นพบกองมูลดินปกคลุมด้วยต้นไม้ จึงได้ดำเนินการพิสูจน์หาหลักฐานประกอบแน่ชัดว่าเป็นเจดีย์ยุทธหัตถี ที่สมเด็จ พระนเรศวรมหาราชโปรดให้ สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์ในครั้งทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโสมนัสที่ได้ค้นพบพระเจดีย์ยุทธหัตถีนี้ จึงได้เสด็จ พระราชดำเนินไปทรงประกอบพระราชพิธีบวงสรวงถวายราชสักการะ เมื่อวันอังคารที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๖ มีประกาศสังเวยเทวดาโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์และทรงอ่าน ในวันสังเวยครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จ พระราชดำเนินไปบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ อนุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรีเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่งขณะนั้นเจดีย์ยุทธหัตถียังเป็นมูลดินปกคลุมด้วยต้นไม้ ในปีต่อมารัฐบาลได้ตระหนักถึงพระราชวีรกรรมและคุณูประการอันยิ่งใหญ่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงมีต่อประเทศชาติไทยอันควร จะได้เทิดทูน พระเกียรติยศให้ปรากฎเป็น พระบรมราชานุสาวรีย์และประกาศให้ถือวันที่ ๒๕ มกราคมของทุกปี เป็นวันสำคัญ วันหนึ่งของชาติไทยและกองทัพไทย จึงได้ตั้งคณะกรรมการดำเนินการก่อสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวร มหาราชโดยครอบองค์สถูปมูลดินนั้นไว้ เมื่อการก่อสร้าง สำเร็จแล้วคณะรัฐมนตรีโดยมีจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอ พระราชทานเป็นงานรัฐพิธี เสด็จพระราชดำเนินไปทรง เปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๒
Category
Monument
Location
พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์
Moo 1
Tambon หนองสาหร่าย Amphoe Don Chedi Province Suphan Buri
Details of access
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี
Reference ว่าที่ ร.ต.สุพัฒน์ หอมสุวรรณ Email 035-536058
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี Email 035-536058
Road สุพรรณบุรี-ชัยนาท
ZIP code 72000
Tel. 035-536058 Fax. 035-536045
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่