ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 21' 2.5639"
14.3507122
Longitude : E 101° 2' 1.6019"
101.0337783
No. : 143264
จักสานตะฆ้อง
Proposed by. chaweewann Date 4 July 2012
Approved by. สระบุรี Date 20 August 2012
Province : Saraburi
0 1060
Description

การจักสานตะฆ้องโดย นายสงคราม พุกรักษา อายุ ๗๐ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๔๙๗ หมู่ ๙ ตำบลคลองเรือ อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี มีบุตร ๓ คน สมัยก่อนมีอาชีพทำนา ทำไร ต่อมาเมื่ออายุเริ่มมากขึ้นก็มาเป็นลูกจ้างช่างไม้อยู่ในโรงงานแห่งหนึ่งทำไปได้สักพักก็รู้สึกว่าไม่อยากเป็นลูกจ้างใคร อยากทำอะไรที่เป็นอิสระ ไม่ต้องให้ใครมาบังคับ ก็เลยเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการเป็นลูกจ้างช่างไม้มาบ้างก็นำมาปรับประยุกต์ใช้ในการทำจักสาน ซึ่งจะสานจำพวกตะฆ้อง ไซ กระด้ง แร้ว แต่ที่ทำเป็นหลักเลยก็คือตะฆ้อง เนื่องจากมีราคาแพงกว่าชนิดอื่นและสามารถนำไปใส่ได้หลายหลาย เช่น ปลา กบ หรือสัตว์ชนิดอื่นๆ จึงมีผู้นิยมใช้กันมากทำมาประมาณ ๕ ปีแล้ว และจะทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะไม่สามารถทำได้ สานได้ประมาณวันละ ๑ ใบ จำหน่ายใบละ ๒๐๐ บาท

ขั้นตอนการจักสานตะฆ้อง

อุปกรณ์ในการสานตะข้อง

1.ไม้ไผ่ที่จักเป็นเส้น เเละเหลาเป็นเส้นบางๆตามความยาวที่ต้องการ
2.มีดสำหรับเหลา 1 อัน ต้องเป็นมีดที่คม
3.เศษผ้าสำหรับพันที่นิ้วชี้ ใช้งานเมื่อเหลาไม้ไผ่ป้องกันการบาดมือ
4.ท่อนไม้ที่เหลาเป็นทรงกลม สำหรับทำเเบบขนาดของปากตะฆ้อง

วิธีการทำ

1.นำไม้ไผ่ที่เป็นลำมามาผ่า เเล้วจักให้เป็นเส้นๆ เสร็จเเล้วเหลาให้เป็นเส้นบางๆ จะใช้เฉพาะที่ผิวเปลือกนอกในการสานตะฆ้อง เพราะจะมีความทนทาน กว่าการใช้ใส้ข้างใน
2.ในการเหลาจะเหลาไว้หลายขนาด ถ้านำมาสานที่ตัวข้องจะใช้เส้นที่ยาวเเละเเบน ถ้านำมาทำที่ปากฆ้องจะใช้เส้นเล็กเเละกลม เพื่อความเเน่นหนา เเละคงทน
3.ทำการสานโดยสานตั้งเเต่ฐานของตะฆ้องขึ้นมาก่อน โดยสานเป็นการสลับ1 เว้น1

Location
No. ๔๙๗ Moo
Tambon คลองเรือ Amphoe Wihan Daeng Province Saraburi
Details of access
นายสงคราม พุกษา
Reference chaweewan paewkratok Email chjuky@hotmail.com
Organization saraburi cultural officer
No. 60/1 Road เทศบาล 3
Tambon ปากเพรียว Amphoe Mueang Saraburi Province Saraburi ZIP code 18000
Tel. 036231372 Fax. 036231372
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่