ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 29' 36.0845"
16.4933568
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 51' 45.5191"
102.8626442
เลขที่ : 148622
บือบ้าน
เสนอโดย wallop25 วันที่ 31 กรกฎาคม 2555
อนุมัติโดย วันที่ 16 กันยายน 2555
จังหวัด : ขอนแก่น
1 1698
รายละเอียด

บือบ้าน หรือ ที่ศูนย์กลางของหมู่บ้าน

คำว่า “บือ” ในทางภาคอีสานมีความหายหลายอย่าง อย่างแรกหมายความว่า “พักระหว่างการเล่น” อีกอย่างหนึ่งหมายถึง “สะดือ” เช่น บือสิม” มีความหมายตามคำจำกัดความประการหลังมากกว่า คือ “ศูนย์กลางของบ้าน” ในทางกายวิภาค (Anatomy) จุดกึ่งกลางร่างกายของมนุษย์คือสะดือ อาจเป็นไปได้ว่ามีแนวคิดในเรื่องจุดกึ่งกลางเช่นเดียวกัน คือ สะดือหรือบือ

บือบ้านที่พบในจังหวัดขอนแก่น มักจะตั้งอยู่บริวเณกลางบ้านสเสมอ(ยกเว้นกรณีมีถนนตัดผ่าน อาจย้ายตำแหน่งตามความเหมาะสม) ซึ่งถือเอาบือของบ้านเป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะเกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรม บือบ้านจึงไม่น่าจะหมายถึงลักษณะของแท่งไม้ที่มีลักษณะคล้ายธาตุไม้ เพียงแต่ไม่รูเก็บกระดูก หรือหลักเสาที่ใช้ปักสำหรับเขตวัดหรือเขตสถานที่ต่างๆ หากแต่หมายถึงตำแหน่งซึ่งเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน เป็นที่สถิตของเหล่าเทพเทวดาที่คอยคุ้มครองปกปักรักษาหมู่บ้านให้ร่มเย็นเป็นสุข เพื่อให้ทราบร่วมกันว่าบริเวณใดคือบือของบ้าน ชาวบ้านหรือผู้นำหมู่บ้าน ซึ่งส่วนมากมักจะเป็นพระสงฆ์ หรือจ้ำ (ผู้นำในการประกอบพิธีกรรม) จึงได้ทำสัญญลักษณ์ขึ้น ในอดีตส่วนมากมักจะใช้ไม้ ไม่จำกัดว่าจะใช้ไม้อะไร ขนาดพอสมควรส่วนมากวัดโดยรอบประมาณ 50-60ซ.ม. ส่วนสูงไม่จำกัด บางแห่งสูงถึง 200-300 ซ.ม. ต่ำสุดโผล่จากพื้นดินเพียง 33 ซ.ม. (พบที่บ้านเต่านอ และบ้านสาวะถี หมู่ 8 อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น) บางแห่งเป็นเหลี่ยม สี่แหลี่ยมก็มีแปดเหลี่ยมก็มี บางแห่งเป็นเสากลมธรรมดา จำนวนก็ไม่แน่นอน บางหมู่บ้านมีเพียงเสาเอกเสาเดียว บางบ้านมีเสาเอกตั้งอยู่ตรงกลางรายล้อมด้วยเสาบริวาร 8-11 เสาบางแห่งทำฐานยกสูงจากพื้น บางแห่งไม่ฐาน

ต่อมาด้วยอำนาจทางสุนทรียารมณ์ของมนุษย์ได้ขัดเกลาบือบ้านให้สวยงามขึ้น บางแห่งทำเป็นยอดแหลมเรียวมีการสลักกลีบบัวโดยรอบ บางแห่งทำฐานบัวสลักโดยรอบ บางแห่งสลักลวดลายอ่อนช้อยสวยงาม บางแห่งสลักเอวกิ่วคองดงามคล้ายธาตุทรงดอกบัวตูมก็มี ในขณะที่บางแห่งเป็นท่อนไม้ธรรมดา บางหมู่บ้านมีกาสลักตัวอักษรธรรมลงไปในตัวบือบ้าน บางแห่งติดแผ่นยันต์ทองแดง บางแห่งทำหลังคาทับซ้อนเพื่อกันแดกันฝนจนมองดูคล้ายศาลพระภูมิ บ้างในมีพระไม้และขันหมากเบ็ง (พบที่บ้านโคกท่า ตำบลหนองตูม อำเภอเมืองขอนแก่น) เมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยปี บือบ้านที่ทำด้วยไม้ก็ผุพังตามกาลเวลา ซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดบือบ้านรูปแบบใหม่ ที่ไม่ได้ทำด้วยไม้เพื่อความคงทนถาวร และไม่ต้องเปลี่ยนไม้บ่อยๆ ชาวบ้านบางแห่งจึงได้นำอิฐ หิน ปูน ทราย มาก่อสร้างทำคล้ายปราสาท ทับของเดิม ประดับด้วยพวงมาลัย และดอกไม้ ธูป เทียน เช่น ที่บ้านหนองหิน ตำบลศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น

จากข้อมูลที่กล่าวอ้างมาทั้งหมดคำว่า “บือบ้าน” จึงไม่น่าจะดูเพียงรูปลักษณ์ที่ปรากฏภายนอกแต่เพียงอย่างเดียว น่าจะพิจารณาจากคติความเชื่อในการทำมากกว่าเพราะคำว่า “บือ” คือ “สะดือ” อันเป็นจุดศูนย์กลางของหมู่บ้าน ณ ตำแหน่งนั้นไม่ว่ามจะมีรูปแบบใดทำด้วยวัสดุใดๆ ก็ตามหากเป็นที่ตกลงและยอมรับกันในหมู่บ้านนั้นๆ สิ่งนั้นก็คือ “บือบ้าน”

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
กลางหมู่บ้าน
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านเต่านอ,บ้านหนองหิน,บ้านสาวะถี
ตำบล ศิลา อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
คัดจากหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดขอนแก่น จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2
บุคคลอ้างอิง วัลลภ ศรีธรราษฎร์ อีเมล์ domonr@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น
หมู่ที่/หมู่บ้าน ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ถนน ศูนย์ราชการ
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40000
โทรศัพท์ 08-66390178 โทรสาร 043245014
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่