ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 57' 40.5356"
17.9612599
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 11' 22.2418"
104.1895116
เลขที่ : 158197
การสานแห
เสนอโดย นครพนม วันที่ 14 กันยายน 2555
อนุมัติโดย นครพนม วันที่ 14 กันยายน 2555
จังหวัด : นครพนม
0 2639
รายละเอียด

รายละเอียด

แหเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายตามหมู่บ้านชาวประมงโดยทั่วไป ทั้งในน่านน้ำเค็มและน้ำจืด แหทุกชนิดมีลักษณะเหมือนกัน เมื่อแผ่ออกจะเป็นรูปวงกลม ขอบตีนแหจะมีโซ่ทำด้วยเหล็กหรือตะกั่วขนาดความหนา 2 มม. เพื่อใช้ถ่วงแกให้จมตัวได้เร็ว วิธีการผูกโซ่ที่ตีนแห มีทั้งแบบที่เรียกว่า ทบเพลา และแบบไม่ทบเพลา การผูกแบบทบเพลาจะทำให้ตีนแหเป็นกระเปาะเล็ก ๆ ตามแนวตีนแหทำให้สัตว์น้ำหลุดจากตีนแหได้ยกเว้น ขณะฉุดแหขึ้นมา ขนาดของแหเส้นรอบวง 10 - 28 ม. ขนาดตาอวนขึ้นอยู่กับสัตว์น้ำเป้าหมาย ถ้าเป็นแหกุ้ง จะมีขนาดตา 20 - 25 มม. แหปลาตัวเล็กใช้ขนาดตา 30 - 35 มม. และแหปลาใหญ่จะมีขนาด 25 - 30 มม. ความสูงหรือรัศมีของแหขนาดเล็กทั่วไป ประมาณ 1.70 - 4.50 ม. โดยแหปลาใหญ่จะมีขนาดใหญ่สุด ในการทำการประมง แหปลาปลาเล็กและแหกุ้ง ส่วนใหญ่ใช้ในเวลากลางวัน เพราะมองเห็นสัตว์น้ำได้ง่าย แหล่งประมงน้ำลึก .50 - 1.50 ม. ซึ่งอยู่ติดริมคลอง แม่น้ำโขง ชายหาดทราย หรือท่าเทียบเรือ โดยหาฝูงปลาให้พบก่อนจึงเหวี่ยงแหลงไปครอบ การทอดแหรับกุ้งบางครั้งต้องทอดแบบเดาสุ่มส่วน แหเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวประมง และแหที่ใช้มักไม่คงทน จะชำรุดและต้องซ่อมเสมอ จากการศึกษาพบว่าชาวบ้านที่สานแหจะเพิ่มความเหนียวของแหโดยการนำเปลือกของต้นประดู่ , ใบกระโดน ,ใบบก ไปต้มและสกัดเอาน้ำแล้วเอาแหแช่ลงไปในน้ำ ซึ่งมีผลให้เชือกที่ทำแหเหนียวทนทานขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงได้ศึกษาโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาเพื่อเพิ่มความเหนียวให้แก่แห พบว่าการแช่แหลงไปในสารละลายที่ได้จากเปลือกประดู่ จะมีความเหนียวมากกว่าได้จากเปลือกผลมังคุด และผลหมาก

วิธีการสานแห

วัสดุ

1. ด้ายในล่อนเบอร์ 100

2. ลูกแห

3. ใบกระโดน,ใบบก,เปลือกดู่

4. เลือดหมู/วัว/ควาย

อุปกรณ์ กิม หรือ จีม ปาน เชือก ด้าย

1. กิม หรือ จีม

เป็นอุปกรณ์ในการสานใช้กรอด้ายคล้ายกระสวยทอผ้า มีลักษณะเป็นไม้ไผ่เหลาให้แบนหนาประมาณ3 - 4มิลลิเมตร กว้าง 1นิ้ว ยาว 8นิ้ว หัวแหลมมนประมาณ 1ใน 3ส่วนของความยาว เจาะทะลุยาวตามส่วนหนึ่งในสามมีเดือยตรงกลาง ส่วนท้ายใช้มีดควงให้เป็นตัวยู

2. ปาน หรือ ไม้แบบ

มีลักษณะเป็นไม้ไผ่เหลาให้แบนคล้ายไม้บรรทัดยาว3-6นิ้ว หนาประมาณ2-3มิลลิเมตร ส่วนความกว้าง ขึ้นอยู่กับตาของแหที่ต้องการ (ตาแหขึ้นอยู่กับขนาดตัวปลาที่เราต้องการ เช่น แหตาถี่ใช้สำหรับจับปลาที่มีขนาดเล็ก แหที่มีตาห่างใช้จับปลาขนาดใหญ่

ขั้นตอน/วิธีการสาน

1.จุดเริ่มต้นในการสาน คือ การถักจอม ลักษณะของจอมมีบ่วงไว้สำหรับห้อยแขวนระหว่างสาน

2.สานแข/ตัวขยาย สานเรื่อยๆ ให้มีความยาวประมาณ 3เมตร (หรือตามความต้องการ)

3. ทำแห่งสำหรับผูกเพลาปล่อยตาลงอีกประมาณ 50 เซนติเมตร

4. นำโซ่หรือลูกตะกั่วหรือลูกแหมาสานต่อจากด้าย

5. ย้อมแห

วิธีการ/ วิธีย้อมแห

นำใบกระโดน,ใบบก ตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาแต่น้ำ ผสมน้ำที่คั้นได้กับเลือด (เลือดหมู หรือ เลือดวัว/ควาย)นำแหมามาคลุกจนชุ่มเปียก ประมาณ ๒ - ๓ ชั่วโมง นำแหออกตากแดดจนแห้ง ถ้ามีเวลาก็อาจนำมานึ่งด้วยเพื่อความคงทนใช้งานได้นาน

สถานที่ตั้ง
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านนางัว
ตำบล นางัว อำเภอ บ้านแพง จังหวัด นครพนม
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บ้านนางัว ตำบลบ้านแพง อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม
บุคคลอ้างอิง นายวรวุฒิ เทียนทอง
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม
ถนน อภิบาลบัญชา
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครพนม จังหวัด นครพนม รหัสไปรษณีย์ 48000
โทรศัพท์ 042516050 โทรสาร 042516187
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่