ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 16° 25' 55.5992"
16.4321109
Longitude : E 104° 11' 4.2839"
104.1845233
No. : 159978
นายโสภา สมสอาด หมอลำกลอน
Province : Roi Et
1 1271
Description

หมอลำ
นายโสภา สมสอาดอายุ ๗๕ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๒๒ หมู่ที่ ๑บ้านบุ่งเลิศ ตำบลบุ่งเลิศ อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อผลงานหมอลำ (ลำเรื่อง,ลำกลอน,ลำซิ่ง,ลำเพลิน)
นายโสภา สมสอาด หรือ พ่อโส ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศิลปินพื้นบ้าน หมอลำจากบ้านบุ่งเลิศ เกิดที่บ้านนาคำ ตำบลเดิด อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร (ในสมัยนั้นเป็น อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี) เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒ สิงหาคม ๒๔๘๓ เป็นบุตรของศิลปินเก่า คือ พ่อคูณ และแม่จันทร์ สมสอาด ปัจจุบันอายุ ๖๕ ปี อาชีพหลักกสิกรรม อาชีพเสริมเป็นหมอลำกลอน
นายโสภา สมสอาด มีใจรักทางด้านศิลปินการร้องรำทำเพลงมาตั้งแต่เด็กโดยเริ่มหัดเล่นลิเกลาว (ทำนองคล้ายพระเทศน์แหล่) มาก่อนเนื่องจากพ่อเป็นหัวหน้าคณะลิเก อยู่ก่อนแล้ว ตั้งแต่ยังเรียนหนังสืออยู่ โดยเล่นเป็นตัวกุมาร หรือ เล่นเป็น กัณหา ชาลี ในเรื่อง พระเวสสันดร เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว (อายุประมาณ ๑๓ ปี) ได้ย้ายครอบครัวมาอยู่ที่บ้านบุ่งเลิศ เมยวดี จึงได้เริ่มเรียนรำอย่างจริงจัง จนสามารถออกไปรับจ้างรำตามงาน ต่าง ๆ ได้ ครูผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชากรลำให้คือ หมอลำบุญมี หัวหิน หรือนายบุญมี จันทรบุตร จากบ้านเชือกใหม่ จังหวัดยโสธร
ผลงานและประสบการณ์
นายโสภา สมสอาด ได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์ภูมิปัญญาสาขาหมอลำ จากนายคูณ สมสอาด ผู้เป็นบิดา ซึ่งเคยตั้งคณะหมอลำเรื่องต่อกลอน โดยนายโสภา สมสอาด แสดงเป็นพระเอกของคณะ ตั้งแต่ประมาณ ปี ๒๕๐๐ซึ่งเป็นยุคที่คณะหมอลำกำลังมีชื่อเสียงโด่งดัง เรื่องที่นำมาแสดงเป็นนิทานอิสาน เรื่องสังข์ศิลป์ไชย ผู้เข้าร่วมคณะหมอลำจะเป็นคนในหมู่บ้านบุ่งเลิศและบ้านใกล้เคียง ถือเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาอีกทางหนึ่ง นายโสภา สมสอาด จึงได้รับถ่ายทอดภูมิปัญญาในการแต่งกลอนหมอลำและได้แต่งกลอนหมอลำไว้หลายเรื่องเป็นเวลากว่า ๔๐ปี แล้วที่ได้สะสมภูมิปัญญานี้ตลอดระยะเวลาในการสร้างสมภูมิปัญญา ได้ถ่ายทอดการร้องหมอลำให้กับลูกศิษย์ในหมู่บ้านหลายคน ขณะเดียวกันก็ได้ประยุกต์เอาวิถีชีวิตของชนเผ่าภูไท บ้านบุ่งเลิศมาผสมผสานเพื่อให้เกิดศิลปะที่มีเอกลักษณ์ ได้สนับสนุนให้ผู้ร่วมคณะจัดตั้งคณะดนตรีภูไท เพื่อทำการแสดงตามงานต่างๆ มีการเรียนเรื่องท่ารำ ที่เป็นเอกลักษณ์ภูไท ดนตรีที่เป็นทำนองภูไท ได้ร่วมรณรงค์ให้ชาวบ้านได้สืบสานการแสดง “รำภูไท” ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของชนเผ่าภูไท นอกจากนี้ นายโสภา สมสอาด ยังได้แต่งกลอนหมอลำรณรงค์เรื่องต่างๆ เช่น โรคเอดส์ ยาเสพติด ฯลฯ ถือเป็นภูมิปัญญาที่ควรแก่การยกย่องและถือเป็นแบบอย่างของการอนุรักษ์ด้านวัฒนธรรมอีสานอย่างแท้จริง หมอลำหรือกลอนลำ ประเภทอื่น ๆ จะเป็นการละเล่นพื้นบ้านหรือวรรณกรรมพื้นบ้านในลักษณะเป็นมหรสพ หรือการแสดง ที่มีการขับร้อง มีดนตรี และมีการฟ้อนรำประกอบมีลักษณะแต่งเป็นร้อยกรองหรือโครงสาร ที่เรียกว่ากลอนลำ เป็นลักษณะเพลงพื้นบ้านที่หมายถึง ประเพณีอย่างหนึ่งของชาวบ้านที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อความรื่นเริงบันเทิงตามเทศกาลต่าง ๆ เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ จรรโลงใจและคลายความตึงเครียด จัดอยู่ในประเภทเดียวกับเพลงโคราช กันตรึม เจรียง และเพลงปฏิพากย์ หรือเพลงเกี้ยวพาราสี ประเภทของหมอลำที่นายโสภา สมสะอาด เคยแสดงสามารถเรียบเรียงออกเป็น ๗ ประเภท ดังนี้
๑. อิเก หรือลิเก พัฒนามาจากการเทศแหล่ของพระภิกษุ ทำนองจะคล้ายกับเทศแหล่แต่มีช่วงจังหวะการเอื้อนเสียงที่มากกว่า และมีตัวแสดงเป็นบุคคลในทุกบทบาทตัวละคร
๒. หมอลำพื้น เป็นวัฒนธรรมการขับร้องเก่าแก่ของชาวอีสาน พัฒนามาจากการเทศแหล่และอิเก จะมีทำนองเป็นหมอลำมากขึ้นกว่า การลำจะใช้คนลำเพียงคนเดียว แต่จะรำเป็นเรื่องเป็นราวต่าง ๆ เช่น นิทานพื้นบ้าน ชาดก การนำเสนอจะคล้ายการเล่าเรื่อง แต่จะร้องให้เป็นทำนองผูกเรื่องราวไปเรื่อย ๆ แทนการเล่าธรรมดา ผู้ลำสามารถสอดแทรกลูกแล่นต่าง ๆ ในการแสดงเป็นตัวละครตัวนั้นตัวนี้อย่างได้อารมณ์ขึ้นกับความสามารถของผู้แสดงแต่ละคน
๓. หมอลำกลอน เป็นการพัฒนาอีกขั้นหนึ่งโดยให้มีการร้องหมอลำโต้ตอบกันระหว่างฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เรียกว่าหมอลำฝ่ายชาย และหมอลำฝ่ายหญิง และมีผู้มาเป่าแคน เรียกว่า “หมอแคน” ซึ่งอาจมาจากหมอลำแต่ละฝ่าย หมออาจใช้หมอแคนคนเดียวกัน เมื่อทำการแสดงหลังจากยกอ้อยอครูแล้ว(ไหว้ครูบาอาจารย์) ฝ่ายหนึ่งจะเริ่มลำก่อนโดยจะเป็นฝ่ายถาม และอีกฝ่ายหนึ่งก็จะเป็นฝ่ายตอบคำถามเรียกว่าลำโจทย์แก้ ถ้าเป็นลักษณะการเกี้ยวพาราสี เรียกว่าลำเกี้ยว หรือ อาจมีหมอลำฝ่ายชาย ๒ คน ร้องกลอนลำเพื่อช่วงชิงหมอลำฝ่ายหญิง เรียกว่า “ลำชิงชู้”
๔. ลำเซิ้ง เป็นการร้องประกอบในขบวนการแห่บั้งไฟ โดยมีแม่เพลงเป็นผู้นำในการร้อง และมีลูกเพลงคนอื่น ๆ หลายคนเป็นผู้ร้องตาม ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของการเซิ้งคือจะต้องเป็นบุญบั้งไฟเท่านั้น จากการ “ลำเซิ้ง” นี่เอง ได้มีการคิดค้นท่าฟ้อนรำประกอบการเซิ้งและดนตรีลำเซิ้งที่ไพเราะ สนุกสนานเล่าใจในเวลาต่อมาและแพร่หลายในปัจจุบัน
๕.หมอลำหมู่ เป็นการร้องหมอลำอย่างเป็นหมู่คณะ สมมุติบุคคลเป็นตัวละครตามเรื่องราวที่แสดง แต่ละคนจะมีบทร้องตามบทบาทที่แสดงในเนื้อเรื่อง พัฒนามาจากลำพื้นแต่ใช้ตัวแสดงหลายคน แทนการเล่าเรื่อง เครื่องดนตรีประกอบจะเป็นชุด และจะมีการสอดแทรก เพลง ลำเพลิน และลำเต้ย สลับในระหว่างการดำเนินเรื่องตามหวะเรื่องราวที่เหมาะสมและสอดคล้อง การแต่งตัวของผู้แสดงจะคล้ายกับ ลิเก ของทางภาคกลาง
๖. ลำเพลิน เป็นการร้องลำเป็นหมู่คณะ คล้ายหมอลำหมู่แต่จะต่างกันตรงที่ ผู้แสดง โดยเฉพาะฝ่ายหญิงจะนุ่งสั้น จึงนิยมกันตามภาษชาวบ้านว่า “ลำเพลินกกขาขาว” (กกขา หมายถึงโคนขา) เครื่องดนตรีจะมีพิณ แคน กลอง และเครื่องดนตรีอื่น ๆ ประกอบอีกมาก ทำให้เกิดความสนุกสนานเร้าใจเกือบตลอดเวลาแสดง
๗. รำฝีฟ้า เป็นการร้องลำเพื่อรักษาผู้ป่วย ลักษณะจะคล้ายกับลำกลอน มีแคนเป็นเครื่องดนตรี โดยมากผู้ลำจะมีเพียงคนเดียว ปัจจุบันการลำผีฟ้าได้จางหายไปซึ่งหากจะมีการฟื้นฟู ชาวบ้านผู้ลำ บอกว่าจะลำสาธิตไม่ได้เพราะลำผีฟ้าต้องลำจริงเท่านั้นหากกระทำโดยแสดงหรอเป็นการสมมุติผู้ลำจะมีอันเป็นไปโดยการกระทำของเจ้าแม้ผีฟ้า
นายสมโสภา สมสะอาด ได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาของตนออกสู่ชุมชน ถือได้ว่าเป็นกุสโลบายการถ่ายทอดความรู้ด้านต่าง ๆ ดังนี้
ด้านจริยศาสตร์ จะเป็นการสอนเรื่องราวการประพฤติ การครองชีวิต ครองเรือน แนวปฏิบัติตามแบบแผนประเพณี หรือ ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ สอนให้รู้อะไรผิดอะไรถูก
คุณค่าด้านสุนทรียศาสตร์ กลอนลำจะให้ความงดงามทางภาษาเพราะมีทำนองและฉันทลักษณ์ที่คล้องจอง มีอรรถรสในเรื่องราวจากน้ำเสียงอันไพเราะของการขับร้อง เกิดความรู้สึก และมีอารมณ์ร่วม เป็นการช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด และการเก็บกดทางอารมณ์ เมื่อได้ฟังจะเกิดจินตนาการตามเรื่องราวและบทบาทการแสดง เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
คุณค่าด้านศาสนา หมอลำจะถ่ายทอดคำสอนและปรัชญาทางศาสนา ศีล ทาน และเรื่องราวพุทธประวัติ ปริศนาธรรมคำสอน และชาดกต่าง ๆ
ด้านการศึกษา มีการแต่งกลอนลำเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ประวัติศาสตร์ ตำนาน ชื่อบ้าน ชื่อเมือง การรณรงค์ เรื่องต่าง ๆ นำความรู้ทางวิชาการมาแต่งเป็นกลอนลำ
คุณค่าด้านเศรษฐศาสตร์ คือการยึดการแต่งกลอน และการลำเป็นอาชีพ สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้

Location
บ้านบุ่งเลิศ
No. ๒๒ Moo
Tambon บุ่งเลิศ Amphoe Moei Wadi Province Roi Et
Details of access
นายโสภา สมสอาด
Reference สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด
Amphoe Mueang Roi Et Province Roi Et
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่