ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 19' 49.566"
14.3304350
Longitude : E 100° 31' 46.6014"
100.5296115
No. : 160750
คลองประตูเทพหมี
Proposed by. kosinanon Date 26 September 2012
Approved by. พระนครศรีอยุธยา Date 26 September 2012
Province : Phra Nakhon Si Ayutthaya
0 1056
Description

คลองประตูเทพหมีอยู่ระหว่างคลองประตูจีนกับคลองฉะไกรน้อย ปากคลองเป็นประตูน้ำ

ทางด้านทิศใต้ทะลุออกแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศเหนือเชื่อมต่อกับคลองฉะไกรน้อยที่หักมุมไป

ทางทิศตะวันออก ตำแหน่งของคลองประตูเทพหมีในปัจจุบันน่าจะอยู่บริเวณทางทิศใต้ของ

ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ลำคลองมีความกว้างประมาณ ๑๐-๑๒ เมตร

เมื่อพิจารณาจากแผนที่กรุงเก่าที่เขียนขึ้น โดย เดอ ลา ลูแบร์(๒๕๔๘, หน้า ๓๔)

เอกอัครราชฑูตฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามาในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

คลองประตูเทพหมีมีขนาดความกว้างหรือความใหญ่เป็นสองเท่าของลำคลอง

สายอื่นๆ แสดงว่า ลำคลองสายนี้มีลักษณะพิเศษอย่างแน่นอน ความพิเศษอีกอย่างหนึ่งของ

คลองสายนี้ก็คือ เป็นที่ตั้งของเรือนรับรองแขกเมืองฝรั่งเศสและโปรตุเกส เรือนรับรองหลังนี้

ตั้งอยู่ตรงตำแหน่งที่คลองซึ่งแยกจากคลองฉะไกรน้อยมาบรรจบกับคลองประตูเทพหมี ตำแหน่ง

ที่ตั้งที่แท้จริงของเรือนรับรองหลังนี้ จึงน่าจะอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

และอยู่ห่างประตูเทพหมีหรือสะพานวานรไปทางทิศใต้เป็นระยะทางไม่เกินหนึ่งร้อยเมตร

ความพิเศษอย่างที่สองของคลองประตูเทพหมี ก็คือคลองประตูเทพหมีตั้งขึ้นตามชื่อของหลวง

เทพอรชุน ซึ่งมีชื่อเรียกกันว่า หมี ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณนั้น(วนิช สุธารัตน์ ๒๕๕๐, หน้า ๒๕)

คลองประตูเทพหมี(เทษมี) มีลักษณะของคลองที่ไม่เป็นแนวตรง เช่น คลองอื่นๆ แต่ละเลี้ยว

เป็นหัววงเล็กน้อย เชื่อมต่อกับลำคูปากสมุทร แบ่งน้ำในคลองกลางพระนครให้ไหลออกทาง

ตะพานนาคบรรจบกับคลองประตูเทศ มีตะพานอิฐตรงถนนบ้านแขกใหญ่ข้ามมาถนนบ้านแห

ชื่อตะพานวานร ๑ มีคลองน้อยลัดมาจากคลองใหญ่ประตูจีนมาทะลุออกคลองประตูเทศ มีตะพาน

อิฐเดินมาถนนบ้านแขกใหญ่ ข้ามมาศาลาอาไศรยที่ถนนป่าหญ้า ๑ แล้วมีตะพานอิฐเดินมาตั้งแต่

หน้าวัดอำแมท้ายบ้านแขกใหญ่เจ้าเซ็นตรงมาออกถนนหลวงตรงหน้าวัดฉัตรทันต ชื่อตะพาน

วัดฉัตรทันต ๑ แล้วตรงไปในบึงชีขัน ปากคลองด้านเหนือเป็นลำคูปากสระ(ปากสมุทร) ตรงประตู

ช่องกุดมหาเถรไม้แซ ได้ทำการแบ่งน้ำให้ไหลเข้ามาใต้ถนนหลวง น้ำไหลทะลุตามลำคูปากสระ

ฝังท่อดินเผามามุดใต้สะพานนาค กระแสน้ำไหลเข้าท่อโดยแรง น้ำในท่อนี้ไหลออกมาบรรจบกับ

คลองเทพหมี อนึ่ง คลองนี้เรียกตามชื่อหลวงเทพอรชุน(หมี) ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณนั้น

ในย่านบ้านแหที่อยู่ใกล้กับคลองเทพหมีนี้ มีร้านขายแหแลเปลป่าน เปลด้ายตะกอแลลวด

มีตลาดขายของสดเช้าเย็นอยู่ในบ้านแขกใหญ่ใกล้วัดอำแมชื่อตลาดจีน ๑ ถนนย่าน

บ้านพราหมณ์หน้าวัดช้าง มีตลาดตันขายกระบุงตะกร้า กระโล่ ครุเชือก เสื่อลวดเครื่องสานครบ

ชื่อตลาดบ้านพราหมณ์

ในอธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา ตามคำวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานินทร์

ได้กล่าวถึงคลองประตูเทพหมีว่า“จากประตูใหญ่คลองน้ำชื่อประตูเทพหมี มาถึงด่านท่าชี

มีประตูช่องกุด ๒ ช่อง จึงมาถึงป้อมปืนตรงปากคลองคูจาม แล้วมีประตูช่องกุด ๑ อยู่ในด่าน

ท่าชี แล้วถึงคลองใหญ่คลองน้ำชื่อประตูไชย ในระหว่างประตูน้ำคลองเทพหมี ถึงคลองประตูน้ำ

ประตูไชยนี้มีท่าเรือจ้าง ๑ ท่า ข้ามมาจากด่านท่าชีข้ามออกไปวัดสุรินทาราม”(อธิบายแผนที่

พระนครศรีอยุธยาตามคำวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานินทร์ ๒๕๑๔, หน้า ๖๓-๖๔)

โดย...วัฒนธรรมอำเภอพระนครศรีอยุธยา

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Category
Historic site
Location
คลองประตูเทพหมี (อยู่ด้านหลังศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา)
Road ปรีดี-พยมยงค์
Tambon ประตูชัย Amphoe Phra Nakhon Si Ayutthaya Province Phra Nakhon Si Ayutthaya
Details of access
งานวิจัยประวัติความเป็นมาของโบราณสถานในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
Reference ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันทิพา มาลา
Organization สถาบันอยุธยาศึกษา
No. 96 Road ปรีดี-พนมยงค์
Tambon ประตูชัย Amphoe Phra Nakhon Si Ayutthaya Province Phra Nakhon Si Ayutthaya ZIP code 13000
Tel. 08-9115-5181
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่