ตุ๊กตามโนราห์
นางพรสุข แก้วปฎิมา เกิดเมื่อ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๑๕ เป็นบุตรของนายเพียร และนางสมมาตร์
ปูปาน สมรสกับนายเจริญ แก้วปฎิมา มีบุตรธิดา ๒ คน ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านเลขที่ ๒๓/๑ หมู่ ๗ ตำบล
ควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา ๙๐๒๒๐ เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๗-๖๓๐-๑๓๑๑
นางพรสุข แก้วปฎิมา เกิดในตระกูลมโนราห์ หรือเรียกว่า “เชื้อสายโนรา” ต้นเชือก (ต้นตระกูล) ตั้งแต่โนราเหมีย ณ ชาตรี (ทวด) สำหรับนางพรสุข แก้ว ปฏิมามีศักดิ์เป็นหลานสาวโนราคลื้น ณ ชาตรี ซึ่งรับช่วงต่อจากโนราเหมีย ณ ชาตรี นางพรสุข แก้วปฏิมา เริ่มหัดรำมโนราห์ตั้งแต่อายุ ๔ ขวบ ต่อมาเมื่ออายุ ๗ ขวบ โนราคลื้น ณ ชาตรี ได้สอนให้ร้อยลูกปัดสำหรับทำเป็นชุดมโนราห์ โดยเริ่มจากร้อยระย้า ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่ง่ายที่สุด
การถ่ายทอด
วิธีการสอนของโนราคลื้น ณ ชาตรี จะเป็นร้อยลูกปัดให้ดูเป็นตัวอย่าง พร้อมกับบอกจำนวนและสีของลูกปัดที่ร้อยในแต่ละแถว ในสมัยนั้นการร้อยลูกปัดเป็นเรื่องที่ “น่าเบื่อ” สำหรับเด็กๆ โนราคลื้น
ณ ชาตรี จะใช้วิธีการบังคับผสมผสานกับการเสนอรางวัลดลใจให้ลูกหลานร้อยลูกปัดเท่ากับจำนวนที่กำหนดไว้
ต่อมาเมื่อนางพรสุข แก้วปฏิมา มีความสามารถในการร้อยลูกปัดได้ระยะหนึ่ง โนราคลื้น ณ ชาตรี สอนให้รู้จักการเรียงสี (เลือกสี) ลูกปัดให้เหมาะกับแสงไฟบนเวทีแสดง พร้อมกับหัดเรียงร้อยลูกปัดให้กลายเป็นชุด เช่น รอบอก ชิ้นบ่า ปิ้งคอ เป็นต้น
จุดกำเนิดผลงาน
หลังจากนางพรสุข แก้วปฎิมา แต่งงานได้หยุดรำมโนราห์และหยุดร้อยลูกปัดมโนราห์ หันมาประกอบอาชีเกษตรกร โดยเริ่มทำฟาร์มหมู ปลูกยาง และปลูกปาล์ม ตามลำดับ แต่กลับเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ ฟาร์มหมูที่ลงทุนเลี้ยงไว้ขาดทุนเป็นแสนๆ บาท เศรษฐกิจของครอบครัวล้มลงระลอกแรกและตามมาด้วยระลอกที่สองเมื่อเกิดพายุดีเปรสชั่นในวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ สวนยางและสวนปาล์มที่คาดหวังไว้ว่าจะเป็นหนทางในการปลดหนี้เงินแสนกลับพังพินาทเพียงชั่วข้ามคืน
กาลเวลาและความเอาใจใส่ของบุตรสาว พร้อมกับความช่วยเหลือจากมูลนิธิเพื่อนหญิง ช่วยเร่งฟื้นฟูจิตใจให้นางพรสุข แก้วปฏิมา ให้ลุกขึ้นกลับมาต่อสู้กับชีวิตอีกครั้ง แนวคิดการประดิษฐ์ตุ๊กตามโนราห์เกิดขึ้นขณะเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ จังหวัดเชียงใหม่ ได้เห็นตุ๊กตาสวมชุดชาวเขาซึ่งวางขายอยู่
ณ สนามบินนานาชาติเชียงใหม่ จึงคิดที่จะนำองค์ความรู้การร้อยลูกปัดซึ่งโนราคลื้น ณ ชาตรีผู้เป็นตา ถ่ายทอดไว้ให้มาปรับใช้กับตุ๊กตาให้เป็นเอกลักษณ์ของชาวปักษ์ใต้
อุปกรณ์การนำตุ๊กมโนรา
กรรไกร กาวเชื่อมอะคลิลิค กาวปืน กาวร้อน
กาวลาเทค เข็ม เข็มและกระบอกฉีดยา ด้ายไนล่อน
ดิ้นทอง ดินปั่นสำเร็จรูป ตกแต่งเกสรดอกไม้ ตกแต่งดอกไม้จิ๋ว
ตกแต่งเหลื่อมดาว ตุ๊กตาพสาสติก ที่เสียบปากกา น๊อต
ผ้าถุงลายไทย ผ้ายืด (ใช้ ๒-๓ สี) ผ้าลูกไม้ ผ้าสักราช
ผู้กัน แผ่นอะคลิลิกใส โฟม ไม้กระดานอัด
ลูกปัดเม็ดเล็ก (ใช้ ๕สี) สีทองอะคลิลิก สีอะคลิลิกแม่สี เส้นขอบทอง
กระบวนการและขั้นตอนการผลิตตุ๊กตา ๑ ตัว ใช้ระยะเวลาประมาณ ๔ วัน มี ๕ ขั้นตอน โดยเริ่มจาก
ขั้นตอนการทำชุดสวมตุ๊กตาโดยการนำผ้ายืดสีขาวตัดกางเกงและเสื้อเกาะอก จากนั้นนำผ้าถุงมาตัดเป็นโจงกระเบนลิง
ขั้นตอนการทำหน้าผ้านำดิ้นทองมาตัดทำหน้าผ้า จำนวน ๒ ชิ้น นำผ้าฝ้ายมาตัดทำหน้าผ้า
จำนวน ๑ ชิ้น มาประกอบเป็นหน้าผ้า
ขั้นตอนการทำชุดลูกปัดมโนราร้อยลูกปัดชิ้นอกและชิ้นไหล่หลังจากนั้นนำมาประกอบในตัวตุ๊กตา
ขั้นตอนการทำเทริดนำดินสำเร็จรูปมาปั่นเป็นเทรดโนรา ทาสีทอง ตกแต่งลวดลาย ติดดอกไม้ประดับ นำไปสวมศีรษะตุ๊กตา
ขั้นตอนการทำฐานและกล่องใส่ตุ๊กตาตัดแผ่นอะคลิลิค โฟม ประกอบเป็นฐานรองตุ๊กตา ติดผ้า
สักราช ดิ้นทอง และที่เสียบปากกา จากนั้นตัดแผ่นอะคลิลิค ติดเส้นกรอบ เพื่อประกอบเป็นกล่องใส่ตุ๊กตา นำออกขายในราคา ๑,๐๐๐ บาท
นอกจากนี้ยังประดิษฐ์พวงกุญแจลูกปัดมโนราห์ พวงกุญแจที่ผลิตจากลูกปัดขนาดเล็กขายในราคา ๔๐ บาท พวกกุญแจที่ผลิตจากลูกปัดขนาดใหญ่ขายในราคา ๓๐ บาท