ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 12° 22' 23.1766"
12.3731046
Longitude : E 99° 55' 58.3874"
99.9328854
No. : 164811
แหล่งโบราณคดี เมืองปราณบุรี (เก่า)
Proposed by. ประจวบคีรีขันธ์ Date 18 October 2012
Approved by. ประจวบคีรีขันธ์ Date 18 October 2012
Province : Prachuap Khiri Khan
1 670
Description

เมืองปราณบุรี เป็นเมืองเก่าแก่ในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในกฎหมายตราสามดวงซึ่งสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดฯ ให้ชำระขึ้น มีข้อความที่แสดงว่า ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา เมืองปราณบุรีมีฐานะเป็นเมืองจัตวา เจ้าเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็น “ พระเมืองปราณบุรีศรีสงคราม ” ถือศักดินาสามพัน

สภาพของเมืองปราณบุรี มองซิเออร์ เซเบเรต์ ราชทูตฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๓๐ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กล่าวไว้ว่า

“ … เวลาเย็นได้ไปถึงเมืองปราณ ( Praan ) ซึ่งไกลจากเมืองจาม (บ้านชะอำ) หนทาง ๑๑ ไมล์ครึ่ง เมืองปราณนี้เป็นเมืองใหญ่พอดูได้ บ้านเรือนเป็นวัดวาอาราม ทำด้วยไม้ไผ่ทั้งสิ้น รูปเมืองนี้สี่เหลี่ยมยาว มีรั้วทำด้วยเสาไม้ปักลงดิน ที่สี่มุม มีป้อมสี่เหลี่ยมก่อด้วยอิฐ กว้างยาวประมาณ ๑๒ ฟิต บนป้อมมีหอรบและใบเสมา แต่ไม่มีชานป้อม และดูก็ไม่มี ในรั้วนั้นได้ปลูกกอไผ่ชิด ๆ กัน ซึ่งก็เป็นรั้วอยู่ในตัวและดูงามพอใช้ได้ … มีแม่น้ำไหลตามเสาระเนียดที่เป็นเขตเมือง ซึ่งอยู่ไกลจากทะเล ๒ ไมล์ และเรือขึ้นล่องตามลำน้ำนี้ได้อย่างสะดวก … ”

หลักฐานทางด้านโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับเมืองปราณบุรีนั้น ปัจจุบันพบว่าในเขตหมู่ที่ ๓ ตำบลปราณบุรี อำเภอปราณบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรมแปลงปลูกอ้อยเคี้ยวของกลุ่มแม่บ้านนาห้วยรวมน้ำใจ พบหลักฐานทางด้านโบราณคดีเป็นจำนวนมาก บริเวณที่พบโบราณวัตถุนี้ มีสภาพเป็นเนินดิน ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของแม่น้ำปราณบุรี มีพื้นที่กว่า ๓๐ ไร่ ทางด้านทิศตะวันออกของเนิน เป็นที่ตั้งของวัดนาห้วยเก่า ซึ่งยังปรากฏหลักฐานเป็นเนินดินสูงประมาณ ๒ เมตรเศษ ฐานล่างเป็นหิน ด้านบนก่อด้วยอิฐขนาด ๑๒ x ๒๕ x ๕.๕ เซนติเมตร พื้นที่บริเวณแหล่งโบราณคดีพบโบราณวัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่

เศษภาชนะดินเผา มีทั้งเศษภาชนะดินเผาเนื้อไม่แกร่ง เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ แบบผิวเรียบ และแบบที่มีการตกแต่งผิวเป็นลายกดประทับด้วยไม้พิมพ์ และลายเครื่องจักสาน ประเภทของภาชนะที่พบ มี หม้อก้นกลม ภาชนะแบบมีเชิงและฝาภาชนะเศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง เผาด้วยอุณหภูมิค่อนข้างสูง มีการตกแต่งผิวด้วยลายขูดขีด ลายขุดและลายกดประทับ ประเภท โอ่ง ไห และครก เศษภาชนะดินเผาประเภทเครื่องเคลือบ ส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ เช่น เครื่องลายครามประเภทถ้วยชาม เครื่องถ้วยเขียนสีบนเคลือบของจีน และเครื่องถ้วยเวียดนาม ประเภทชามเขียนลายใต้เคลือบ

นอกจากนั้น ยังพบชิ้นส่วนหินลับ เครื่องมือเหล็ก ชิ้นส่วนสำริด เศษอิฐและเปลือกหอย เศษภาชนะดินเผาที่พบมีปริมาณมาก ปะปนอยู่กับเปลือกหอยอยู่เป็นกลุ่ม ๆ บางบริเวณหนาแน่นมาก โดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ริมแม่น้ำ ก่อนการไถปรับพื้นที่ ชาวบ้านเล่าว่า

มีแนวของคันดินยาว ซึ่งในคันดินมีก้อนหินขนาดใหญ่ปะปนอยู่ รูปแบบของภาชนะดินเผาที่พบ มีลักษณะคล้ายกับภาชนะดินเผาที่พบในแหล่งโบราณคดีสมัยอยุธยาโดยทั่วไป เมื่อพิจารณาจากปริมาณของเศษภาชนะดินเผาที่พบอย่างหนาแน่น และกระจายอยู่ในพื้นที่บริเวณกว้างนั้น สันนิษฐานได้ว่า แหล่งโบราณคดีเมืองปราณเก่านี้ เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่

Location
Moo 3
Tambon ปราณบุรี Amphoe Pran Buri Province Prachuap Khiri Khan
Details of access
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Reference นายอานนท์ ไมเด็น Email prachuapculture@yahoo.com
Moo ศาลากลางจังหวัด ชั้น 5 Road สละชีพ
Tambon ประจวบคีรีขันธ์ Amphoe Mueang Prachuap Khiri Khan Province Prachuap Khiri Khan ZIP code 77000
Tel. 032-604307-8 Fax. 032-604307
Website http://province.m-culture.go.th/prachuapkhirikhan/
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่