ชื่อเรือขุนน่าน
สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์เรือแข่ง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
ประวัติความเป็นมาเรือขุนน่านเป็นเรือบ้านศรีบุญเรือง ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เป็นเรือขุดจากไม้ตะเคียนทอง จากป่าห้วยขู่ ตำบลน้ำม้วบ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน โดยพ่อเลี้ยงจันทร์ มีสุข บ้านดอนไชยใต้ ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน มีความยาว 12 วา 3 ศอก จุฝีพายได้ 57 คน ต่อมาชาวบ้านศรีบุญเรือง ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอเมืองน่านสมัยนั้น ปัจจุบันเป็นอำเภอภูเพียง ได้ซื้อมาซ่อมแซมปรับปรุงใหม่ ตั้งชื่อว่า “เรือขุนน่าน” ลงแข่งขันเรือยาวประเพณีจังหวัดน่าน จนได้รับรางวัลชนะเลิศติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี (พ.ศ. 2526 – พ.ศ. 2528) เป็นลำแรกที่ได้ครองถ้วยพระราชทาน จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการถาวร ซึ่งในการแข่งขันแต่ละครั้งจะได้รับการสนับสนุนจาก นายพีรกร รอดเจริญ ซึ่งเป็นศิษย์ของ พระครูพุทธมนต์ โชติคุณ วัดศรีบุญเรือง ตลอดมาต่อมาชาวบ้านศรีบุญเรือง เห็นว่าสมควรเก็บ “เรือขุนน่าน” ไว้เป็นเกียรติต่อไป ขุดเรือใหม่ขึ้นอีก 1 ลำ ไว้เพื่อในการแข่งขัน โดยปี พ.ศ. 2536 ชาวบ้านศรีบุญเรืองได้มอบ “เรือขุนน่าน” ให้กับ นายปิยะ ภิรมย์ภัคดี ประธานกรรมการบริหารบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ซึ่งได้สนับสนุนงบประมาณในการบูรณะซ่อมแซมวัดศรีบุญเรืองมาโดยตลอดจนปี พ.ศ. 2546 นายปิยะ ภิรมย์ภัคดี ได้มอบ “เรือขุนน่าน” คืนเป็นสมบัติของชาวจังหวัดน่าน นำกลับมาไว้ที่พิพิธภัณฑ์เรือแข่ง ของเทศบาลเมืองน่าน เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 จนปัจจุบัน
หน่วยงานที่ดูแลเทศบาลเมืองน่าน ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
ความสำคัญ“เรือขุนน่าน” ลงแข่งขันเรือยาวประเพณีจังหวัดน่าน จนได้รับรางวัลชนะเลิศติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี “เรือขุนน่าน” ลงแข่งขันเรือยาวประเพณีจังหวัดน่าน จนได้รับรางวัลชนะเลิศติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี (พ.ศ. 2526 – พ.ศ. 2528) เป็นลำแรกที่ได้ครองถ้วยพระราชทาน จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการถาวร (พ.ศ. 2526 – พ.ศ. 2528) เป็นลำแรกที่ได้ครองถ้วยพระราชทาน จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการถาวร