ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 13' 35.2871"
7.226468627631665
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 33' 50.2455"
100.5639570714111
เลขที่ : 166220
กำแพงเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 25 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สงขลา
4 8872
รายละเอียด

เมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงเป็นช่วงที่เมืองสงขลารุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางของการค้าขายมีทั้งชาวจีนและตะวันตกที่เข้ามาค้าขายในเมืองสงขลา ขณะเดียวกันก็สามารถรวบอำนาจของเมืองพัทลุงและนครศรีธรรมราชเอาไว้ได้ด้วย มีท่านสุลต่าน สุไลมาน หรือพระเจ้าเมืองสงขลาเป็นกษัตริย์ปกครองเมือง ท่านได้สร้างกำแพง ป้อม คูเมืองและหอรบไว้อย่างแข็งแรง แต่ในภายหลังคือสมัยสมเด็จพระนารายมหาราช ได้ให้ทัพของกรุงศรีอยุธยาเข้าตีเผากำแพงเมืองจนชนะ จากนั้นก็สั่งให้ทำลายเมืองให้ราบ เพราะเกรงว่าจะก่อกบฏแข็งเมืองขึ้นอีก ดังนั้นจึงทำให้เหลือซากกำแพงเมือง และป้อมต่างๆเพียงเล็กน้อย

กำแพงเมืองสงขลาที่หัวเขาแดงก่อสร้างด้วยอิฐและหินโบกปูน มี3ด้านคือทิศเหนือ ตะวันออกและตะวันตก ส่วนทิศใต้มีเขาค่ายม่วงเป็นป้อมตามธรรมชาติอยู่แล้ว ซึ่งในปัจจุบันคงเหลือให้เห็นตามลำดับป้อมดังนี้ ป้อมหมายเลข 1-14เป็นป้อมและเนินดิน ก่อด้วยหินชั้นสีแดงสอปูน วางหินโดยใช้ด้านกว้างวางทับช่วยให้ป้อมมั่นคงแข็งแรง ความแข็งแกร่งของเมืองบ่งบอกว่าเมืองมีความสำคัญทางด้านต่างๆเช่น เป็นเมืองท่าและศูนย์กลางการค้าขายเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่ใหญ่ เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้จากกรุงศรีอยุธยาดังนั้นจะต้องมีป้อมมั่นคงเพราะขอความช่วยเหลือจะต้องใช้เวลานาน และทางด้านการทหารนั้นถือว่ามีการฝึกฝนอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ปืนไฟและปืนใหญ่จำนวนมาก

ป้อมหมายเลข1มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม กว้าง 17เมตร ยาว 22เมตร สูง 4.5เมตร มีช่องไฟวางปืนใหญ่ แต่ปัจจุบันไม่เหลือซากให้เห็น ป้อมนี้ตั้งอยู่บนพื้นราบด้านตะวันตกห่างจากถนนสายหัวเขาแดง-ระโนดประมาณ 240เมตร

ป้อมหมายเลข2ทรงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 8.5เมตร ยาว 16.5เมตร สูง 5เมตร ค้ำยันกับผนังป้อม 11แห่ง อยู่บนพื้นราบ ห่างป้อม 1ประมาณ 190เมตร

ป้อมหมายเลข3เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 10.6 เมตร ยาว 11.5 เมตร สูง 4 เมตร ตั้งอยู่บนพื้นราบด้านทิศใต้ ห่างจากป้อมหมายเลข 2 ประมาณ 195 เมตร

ป้อมหมายเลข4เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 8.20 เมตร ยาว 12.50 เมตร สูง 4.20 เมตร อยู่บนเชิงเขาค่ายม่วง ที่ลาดชัน มองเห็นด้านข้างทั้งสองด้านเป็นรูปสามเหลี่ยม มีใบบังทั้งสี่ด้าน แต่บางส่วนชำรุดไปบ้างแล้ว ตั้งอยู่ในแนวป้อมด้านซ้าย ห่างจากป้อมหมายเลข 3 ประมาณ 470 เมตร

ป้อมหมายเลข5เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 7.50 เมตร ยาว 12.50 เมตร สูง 3.80 เมตร มีรูปแบบเหมือนกับป้อมหมายเลข 4 อยู่สูงขึ้นไปบนเขาค่ายม่วง ห่างจากป้อมหมายเลข 4 ขึ้นไปบนเขาค่ายม่วงประมาณ 103 เมตร

ป้อมหมายเลข6มีลักษณะแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 14.80 เมตร ยาว 23.50 เมตรสูง 2.80 เมตร มีใบบังทั้ง 4 ด้าน ตั้งอยู่ส่วนบนของเขาค่ายม่วงในแนวป้อมด้านทิศใต้ ห่างจากป้อมหมายเลข 5 ขึ้นไปบนเขาค่ายม่วงประมาณ 120 เมตร

ป้อมหมายเลข7มีลักษณะผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 7 เมตร ยาว 10เมตร สูง 1 เมตรส่วนฐานและส่วนบนชำรุดเกือบหมดจากตำแหน่งและรูปแบบที่เหลือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับป้อมหมายเลข 4และ 5 ตั้งอยู่บนเขาค่ายม่วงทางด้านทิศเหนือ ห่างจากถนนสายระโนด-สงขลา ประมาณ 20 เมตร

ป้อมหมายเลข8ลักษณะผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 12 เมตร ยาว 18เมตร สูง 1.80 เมตรมีใบบังทั้งสี่ด้าน ตั้งอยู่บนปลายสุดของเขาค่ายม่วงทางมุมเมืองด้านทิศตะวันออกถึงทิศเหนือ

ป้อมหมายเลข9ลักษณะผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 9.60เมตร ยาว 10.20 เมตรสูง 5 เมตร มีใบบังทั้งสี่ด้าน ระหว่างใบบังจะมีช่องมองซึ่งจะต้องมองเฉียงจึงจะมองเห็นภายนอกได้ มีส่วนค้ำยันฐานผนังป้อมทางด้านตะวันออก ตะวันตกและทิศเหนือ ป้อมนี้อยู่บนพื้นราบเชิงเขาน้อยทางทิศตะวันตก 300 เมตร ห่างจากป้อมหมายเลข 1 ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1,072 เมตร

ป้อมหมายเลข10ลักษณะผังเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 15 เมตร ยาว 30 เมตร สูง 3.50 เมตรปัจจุบันเหลือเฉพาะส่วนฐาน มีการก่อสร้างเจดีย์ลงบนป้อม 2 องค์ ตั้งอยู่บนเขาค่ายม่วง เป็นป้อมในแนวเมืองด้านทิศตะวันตกและอยู่ห่างจากป้อมหมายเลข 7 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 216 เมตร

ป้อมหมายเลข11มีลักษณะเป็นเนินดิน กว้าง 6 เมตร ยาว 8 เมตร สูง 1.20 เมตร ตั้งอยู่บนเชิงเขาค่ายม่วงทางทิศใต้ มุมเมืองด้านทิศตะวันออก-ทิศใต้ ห่างจากป้อมหมายเลข 10 ไปทางทิศใต้ประมาณ 755 เมตร

ป้อมหมายเลข12ลักษณะเป็นเนินดิน กว้าง 8 เมตร ยาว 15 เมตร สูง 1.30 เมตร ตั้งอยู่บนพื้นภายในแนวป้อมเมืองด้านทิศใต้ ห่างจากป้อมหมายเลข 3 ประมาณ 155 เมตร และห่างจากป้อมหมายเลข 4 ประมาณ 215 เมตร

ป้อมหมายเลข13ลักษณะเป็นเนินดิน กว้าง 7.50 เมตร ยาว 12.30 เมตร สูง 0.80 เมตร ตั้งอยู่ริมอ่าวไทย เป็นป้อมในแนวทิศตะวันตก ห่างจากป้อมหมายเลข 1 ขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ 260 เมตร

ป้อมหมายเลข14ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 18.20 เมตร ยาว 20 เมตร สูง 0.90 เมตร พบร่องรอยอยู่ในทะเล เหนือป้อมหมายเลข 13 ประมาณ 283 เมตร

อ้างอิงจาก (โอวาท โกญจนาวรรณ.2535 : 162-164) กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ วันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2535

หมวดหมู่
โบราณสถาน
สถานที่ตั้ง
บ้านหัวเขาแดง
ถนน ถนนสายหัวเขาแดง-ระโนด
ตำบล หัวเขา อำเภอ สิงหนคร จังหวัด สงขลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่