ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 32' 47.9101"
14.5466417
Longitude : E 100° 43' 8.8867"
100.7191352
No. : 166931
ฆ้องใหญ่ วัดมะขามโพลง
Proposed by. pronpajong Date 2 November 2012
Approved by. พระนครศรีอยุธยา Date 7 November 2012
Province : Phra Nakhon Si Ayutthaya
0 817
Description

ฆ้องใหญ่ วัดมะขามโพลง ตำบลท่าเจ้าสนุก อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้สร้างถวายคือ พ่อแช่ม แม่สงัด เกิดแก้ว พร้อมบุตรธิดา

สร้างถวายวัดเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕๐ เมตร กว้าง ๓ เมตร

ประวัติความเป็นมา

ฆ้องเป็นผลผลิตจากทองเหลือง ฆ้องมีประวัติความเป็นมาช้านานแต่อดีตกาลนานคณานับ ย้อนหลังอดีตเก้าสิบแปดกัลป์ สมัยพระวิสัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้ายุคสมัยนั้น ยังกล่าวกันว่าเทวดาตีฆ้องร้องป่าวไปทั่วสามโลก (สวรรค์-มนุษย์-บาดาล) ให้มาร่วมฟังธรรม เรามิอาจสรุปได้ว่าใครเป็นผู้สร้างฆ้องขึ้นมา เดิมฆ้องเป็นลักษณะตูมเดียว ต่อมาได้พัฒนาเป็นฆ้องเก้าตูมที่นครเวียงจันทร์ประเทศลาว เล่ากันว่าใครสรางฆ้องเก้าตูมนมเก้าก้อน แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ไม่อดอยากปากแห้ง ทั้งในชาตินี้และชาติหน้าโดยเฉพาะ เรื่องเพศสัมพันธ์

ฆ้อง เป็นเสนาสนะที่ใช้ในวัดพระพุทธศาสนา ใช้ในการรบทัพจับศึก ถือว่าเป็นมงคล เช่น ตอนสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกกองทัพออกไปรบกับกองทัพพม่า มีกลอนกล่าวไว้ว่า "ลั่นฆ้องศึกกระหึ่มก้องท้องธานินท์ องค์นรินทร์ยกออกสู้ศัตรูพาล" ฆ้องใช้ตีบอกเวลาโมงยาม ฆ้องใช้เป็นเครื่องมีอประกอบดนตรี ฆ้องยิ่งใช้ประดับห้องพระและห้องรับแขกดูสง่างามน่าเกรงขามยิ่งนัก

ฆ้อง ทำครั้งแรกในประเทศไทย ที่จังหวัดชายแดนติดต่อกับประเทศพม่า เป็นฆ้องหล่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 60 เซนติเมตร เลียนแบบจากช่างพม่า ตีเสียงดังกังวาลยิ่งนัก แต่มีข้อเสียคือ ชำรุดง่ายและหนัก นำไปใช้ในกระบวนแห่งไม่เหมาะสม ชาวบ้านทรายมูล ตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ได้คิดประดิษฐ์ฆ้องโดยนำแผ่นทองเหลืองที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น เขาใช้ในการต่อเรือและงานก่อสร้างอาคารมาทำฆ้องตามแบบฉบับของคนไทย ซึ่งครั้งแรกทำขนาด 38 เซนติเมตร 40 เซนติเมตร 60 เซนติเมตร ฆ้องเป็นฆ้องตูมเดียวนำไปจำหน่ายทั่วประเทศและได้รับความสนใจเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างยิ่ง

กระบวนการและขั้นตอนการผลิต

เดิมใช้แผ่นทองใส่ไฟให้ร้อนประมาณ 300 - 400 C ใช้ค้อนตีเป็นรูป โดยใช้เบ้าโม้ขนาดตามความต้องการ ความต้องการในที่นี้คือให้ตรงกับโฉลกที่ต้องการ ข้อเสียคือ ช่างตีฆ้องจะหูหนัก หนวกหูไปตาม ๆ กัน บางรายต้องเลิกกิจการไปเพราะเสียงจะดัง เกิน 250 เดซิเบล ขึ้นไป เนื่องจากวิธีการทำฆ้องแบบนี้จะได้ผลผลิตที่ดี แต่ต้องใช้ฟืนมหาศาลเป็นการสูญเสียทรัพยากรอย่างมากมาย จึงวิวัฒนาการทำเป็นฆ้องแบบอ๊อก, เชื่อม แผ่นทองเป็นรูปฆ้องเสร็จแล้วจึงทำตูมฆ้องและนิยมทำเก้าตูมตามความต้องการของตลาด ช่างห้องจะวาดลวดลายไทยหรือรูปแบบอื่น ๆ ลงในตัวฆ้องเพื่อความสวยงามและแต่ภูมิปัญญาผู้ทำ เมื่อทำฆ้องเสร็จต้องทำค้อนตีฆ้องโดยเฉพาะ ใช้ด้ามพันด้วยผ้าถักด้วยด้ายอย่างสวยงาม

ฆ้องที่ผลิตนิยมผลิตหลายขนาด มีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 500 เซนติเมตร ซึ่งถือว่าเป็นฆ้องที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งราคาก็แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับขนาด

Category
Etc.
Location
วัดมะขามโพลง
No.Moo หมู่ที่ ๗ บ้านมะขามโพลง
Tambon ท่าเจ้าสนุก Amphoe Tha Ruea Province Phra Nakhon Si Ayutthaya
Details of access
วัดมะขามโพลง
Reference เจ้าอาวาสวัด นางพรผจง พรหมทอง
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Tambon คลองสวนพลู Amphoe Phra Nakhon Si Ayutthaya Province Phra Nakhon Si Ayutthaya ZIP code 13000
Tel. 035-336882 Fax. 035-336881
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่