ข้าวทิพย์ หมายถึง อาหารวิเศษ สำหรับถวายเทวดา ในความหมายที่นี้หมายถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอาหารที่ทำจากสิ่งต่างๆ ที่คนใช้รับประทานหลากหลายชนิด จนเรียกว่าทำมาจากอาหาร ๑๐๘ อย่าง เช่น น้ำนมข้าว ข้าวสาลีเกษตร สาคู เผือก มัน นม เนย ผักผลไม้ มะพร้าว น้ำอ้อย ฯลฯ นำมาบดจนเป็นแป้งผสมในน้ำกะทิกรองเอาแต่น้ำใส่น้ำตาล แล้วนำมากวนบนไฟอ่อนๆ จึงเรียกว่า “ประเพณีกวนข้าวทิพย์” เครื่องปรุงหรือส่วนผสมข้าวทิพย์ ๑๐๘ อย่าง อาทิเช่น ๑.น้ำตาล ๔๐ ก.ก. ๒.มะพร้าว ๘๐ ก.ก. ๓.แป้งข้าวจ้าว ๒๐ ถุง ๔.นมข้นหวาน ๓๐ กระป๋อง ๕.เนย ๕ ก.ก. ๖. แปแซ ๕ ก.ก. ๗.นมแมว ๒ โหล ๘.ใบเตย ๙.หัวมัน มันเทศ ๕ ก.ก. ๑๐ หัวเผือก ๕ ก.ก. ๑๑.หัวสาคู ๒ ก.ก. ๑๒.ฟักทอง ๕ ก.ก. ๑๓. ฟักแฟง ฟักเขียว ๕ ก.ก. ๑๔.เมล็ดถั่วลิสง ๑๐ ก.ก. ๑๕.งา ๒ ก.ก. ๑๖.เกลือ ๑๗.น้ำนมข้าว(และแป้งข้าวสาลี) ๑๘.ข้าวเม่า (ใช้โรยขณะใกล้สุก) ๑๙. อ้อย ๒๐ กล้วยสุก ๒๑. ผลไม้ทุกชนิดที่มีอย่างละเหมาะสมตามอัตราส่วน เช่น ส้มเขียว เงาะกระป๋อง ลิ้นจี่กระป๋อง องุ่น พุทรา ละมุด มังคุด ขนุน น้อยหน่า ฝรั่ง ส้มเช้ง แอปเปิล ฯลฯวิธีการ/ขั้นตอนนำมะพร้าวไปขูด คั้นกะทิ คั้นใบเตย นำเอาพืชผักผลไม้ที่มีล้างให้สะอาด ปอกเปลือกแล้วนำมาตำหรือบดให้ละเอียด ละลายน้ำกรองด้วยผ้าขาวบางแล้วนำมากวนให้เข้ากันกับน้ำกะทิ ใส่แป้งข้าวจ้าว น้ำตาล นม นมแมว เกลือ เสร็จแล้วนำไปกวนในกระทะบนเตาไฟ ประมาณ ๓๐- ๔๐ นาที โดยกวนตลอดเวลา ขณะกำลังข้นก็ใส่ เนย ข้าวเม่า พอสุกได้ที่เตรียมถาดใส่ โดยโรยเมล็ดถั่วลิสงผสมกับงาขั้ว รองก้นถาด เทข้าวทิพย์จากกระทะใส่ถาดแล้วโรยถั่วงาอีกครั้ง นำข้าวทิพย์ถวายพระ พอกวนข้าวทิพย์สำเร็จแล้ว ได้ข้าวทิพย์ ๕๐ ถาดเก็บไว้ตักบาตรและถวายพระในตอนเช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ ที่เหลือจากตักบาตรก็แบ่งให้ญาติโยมพุทธศาสนิกชนที่มาทำบุญนำกลับไปรับประทานที่บ้าน เป็นอานิสงส์ของการมาทำบุญในวันออกพรรษา ความเชื่อก่อนออกพรรษา ๗ วันถึงหลังออกพรรษา ๗ วันจะต้องมีฝนตกเพื่อล้างหางประธูปประทีป ความหมายคือ เป็นวันสิ้นสุดฤดูฝนปีนี้ออกพรรษาฝนตกวันไหนและจะตกอีกวันไหน ทบทวนและสังเกตเพราะเป็นช่วงการเปลี่ยนฤดู ปลายฝน ต้นหนาว นั่นเอง(ผู้ให้ข้อมูลพระเจริญ เตชะปญโญ วัดป่าสุทธาวาส และนายอำพล วงศ์เฉลียว วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร)