ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 6° 37' 40.9004"
6.6280279
Longitude : E 100° 41' 18.587"
100.6884964
No. : 167282
การทอผ้าด้วยกี่กระตุก บ้านสะพานพลา
Proposed by. สงขลา Date 6 November 2012
Approved by. สงขลา Date 18 November 2012
Province : Songkhla
0 1383
Description

การทอผ้าด้วยกี่กระตุก บ้านสะพานพลา

ความสำคัญคำค้นผ้าทอ, ต.สะท้อน , นางบัว ดวงตา , อำเภอนาทวี

สาระสำคัญ

ความเป็นมาของกลุ่มทอผ้าด้วยกี่กระตุกบ้านสะพานพลา ตำบลสะท้อน อำเภอนาทวี เมื่อก่อนนี้การทอผ้าดั้งเดิมของชาวบ้านส่วนใหญ่จะเป็นงานของคนเฒ่าคนแก่ที่สนใจทอผ้าเท่านั้น ส่วนคนหนุ่มสาว

ไม่ค่อยนิยมทอผ้ากันมากนัก เพราะส่วนใหญ่จะนิยมออกไปหางานทำในกรุงเทพฯ และตามจังหวัดใกล้เคียง จนกระทั่งในปี ๒๕๔๕ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๕ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงมีความเห็นว่าการทอผ้าน่าจะเป็นอาชีพเสริมได้อย่างดีอีกทางหนึ่ง จึงได้แจ้งความประสงค์ไปยังหน่วยงานราชการต่าง ๆ เพื่อขอรับการสนับสนุนด้านงบประมาณมาถ่ายทอดความรู้เรื่องการทอผ้าให้แก่ชาวบ้านที่สนใจในเรื่องการทอผ้า และหลังจากนั้นก็ได้บริจาคที่ดินเพื่อปลูกต้นม่อน ในหมู่บ้านเพื่อต้นทุนในด้านวัตถุดิบที่ใช้ในการทอผ้า การตั้งกลุ่มทอผ้าของบ้านสะพานพลาได้มีหน่วยงานราชการในพื้นที่อำเภอนาทวีได้ให้ความสนใจเข้ามาพัฒนาต่อยอดด้วยการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า และช่วยเหลือสนับสนุนในการคิดค้นลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของผ้าให้มีความแปลกใหม่เป็นต้นมา

การดำเนินงานในระยะแรก ๆ นั้นค่อนข้างจะประสบปัญหาในเรื่องของการสนับสนุนเรื่องการจัดดูงานนอกสถานที่ การขาดการพัฒนารูปแบบลายผ้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด ขาดสถานที่จัดแสดงผลิตภัณฑ์ตัวอย่างและที่ทำการกลุ่ม จนกระทั่งสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา ได้รับงบประมาณจากกระทรวงวัฒนธรรมให้จัดโครงการวัฒนธรรมสานสายใยชุมชน จึงได้นำกลุ่มทอผ้าด้วยกี่กระตุก บ้านสะพานพลาออกบูทแสดงผลงานและสาธิตวิธีการทอผ้า จนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป

ลักษณะที่โดดเด่นของผ้าทอบ้านสะพานพลาคือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหนาแน่นของเนื้อผ้า เวลานำมาตัดเย็บจะไม่ย้วย ไม่แยก ไม่หดสีคงทน สวมใส่สบายการดูแลรักษาง่ายเพราะซักด้วยเครื่องซักผ้าได้โดยไม่ทำให้ผ้าแยกหรือยุ่ยสวมใส่สบายได้หลายโอกาส มีหลายรูปแบบที่ทันสมัย

วัสดุอุปกรณ์/ขั้นตอนการทอผ้าด้วยกี่กระตุก

ด้ายยืนด้ายพุ่งกี่เครื่องค้นด้ายฟันฟืม หรือฟันหวีไม้ม้วนตะกอ (มีไว้สำหรับให้เส้นด้ายสอดขึ้นลง)ขั้นตอนการเตรียมด้ายยืนโดยใช้ด้ายประดิษฐ์เบอร์ ๔๐/๒ ที่ย้อมสำเร็จแล้วนำมาปั่นเข้าหลอด เมื่อเข้าหลอดเรียบร้อยแล้วก็เตรียมตั้งเป็นร้านเพื่อเดินด้ายเข้ารูปโครงขั้นตอนการเตรียมด้ายพุ่งโดยการเข้ารูปโครงให้เสร็จก่อน และต้องคำนวณดูว่าจะใช้กี่เมตร เมื่อคำนวณได้แล้วก็จะหาความกว้าง ความยาว เช่น ถ้าตั้งเส้นด้าย ๗๖ หลอดและต้องการผ้าหน้ากว้าง ๔๐” ก็จะเดินด้าย ๑๖ ครั้ง หรือ ๑๖ เที่ยว จะได้เส้นด้ายออกมาทั้งสิ้น ๑,๒๑๖ ฟันหวี สำหรับความยาวนั้นนับเอาจากม้าเดินด้าย ถ้าม้าเดินด้ายยาวตัวละ ๕ เมตร ก็จะใช้ ๑ หลัก/๕ เมตร ถ้าต้องการ ๑๐๐ เมตร ก็ใช้ ๑๐ หลัก เมื่อได้ความยาว ความกว้างแล้วก็จะเตรียมเข้าฟันหวีต่อไปการจัดเส้นด้ายเข้ารูปโครง

- เมื่อได้ความกว้าง ความยาวแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็เตรียมด้ายเข้าฟันหวีหรือเรียกอีกอย่างว่าฟันฟืม ถ้าหากต้องการฟันหวี ๔๐” หมายถึง ๑,๒๑๖ ฟันหวี ก็จะเอาเส้นด้ายร้อยเข้าไปในฟันหวีเพื่อที่จะเตรียมม้วนต่อไป (ฟันหวี เป็นฟืมที่ใช้สำหรับทอผ้าที่จะให้เป็นผืนผ้าออกมา เส้นด้ายทุกเส้นจะต้องผ่านฟันหวีก่อน)

- เมื่อร้อยฟันหวีเสร็จแล้วก็จะนำเอาเข้าม้าม้วน คือไม้ม้วนที่เราจะใช้เก็บด้ายไว้ เมื่อม้วนด้ายหมดแล้วก็จะเตรียมการจัดตะกอด้ายต่อไป การนำเข้าม้าม้วนเราต้องตรวจสอบฟันหวีดูว่า ฟันหวีจะต้องครบไม่มีการขาด ไม่มีการเกิน เพราะจะทำให้ผ้าเกิดมีตำหนิได้ เมื่อตรวจสอบเรียบร้อยแล้วก็จะเตรียมตะกอด้ายต่อไป

การเตรียมเก็บตะกอ

- การเก็บตะกอ ต้องตรวจเส้นด้ายที่ม้วนมาว่าไม่ผิด คือต้องมีเส้นบน เส้นล่าง และ เส้นบนต้องอยู่บน เส้นล่างต้องอยู่ล่าง ตะกออันนี้เวลาเหยียบเส้นด้ายจะมีการขับกันขึ้นลงที่จะทออกมาเป็นผืนผ้า

การนำเข้ากี่
จะใช้ม้วนด้ายที่ได้เตรียมไว้ นำเข้าไปในกี่ประกอบให้เรียบร้อย ผูกตะกอมัดโยงทั้งข้างบน ข้างล่างจนเรียบร้อยก็เตรียมทอได้เลย

การเตรียมทอคือ การเตรียมด้ายพุ่ง ถ้าเราจะทอผ้าสีธรรมดา เราก็ใช้ด้ายสีขาวย้อมสีตามที่เราต้องการว่าจะใช้สีอะไร แต่ถ้าเป็นผ้าขาวม้าก็จะใช้สลับสี สลับลายไปมา ถ้าเป็นผ้ามัดหมี่ ก็จะต้องเตรียมเส้นด้ายสีขาวมาเข้าใจเมื่อเข้าใจด้ายแล้วก็จะนำมามัดย้อมตามที่เราต้องการ สำหรับการมัดย้อมก็จะใช้วิธีมัดย้อมว่าจะใช้สีไหน ลายอะไร แล้วก็นำมามัดเป็นผืนผ้า ต้องการสีอะไรก็ย้อมสีนั้น เมื่อมัดย้อมเสร็จแล้วก็จะนำด้ายนั้นมาเข้าระวิงโดยให้ตัดเชือกที่มัดเอาไว้ออก ด้ายก็จะออกมาเป็นลวดลาย แล้วนำมาเข้าระวิง เพื่อจะกรอใส่หลอดเล็ก ๆ เมื่อกรอเสร็จแล้วก็จะนำเข้ากระสวยสำหรับนำมาทอผ้าต่อไป ในด้านการทอผ้า ถ้าเป็นผ้าสีธรรมดาก็จะพุ่งด้ายได้เร็วมาก แต่ถ้าเป็นการทอผ้ามัดหมี่ ต้องมาเรียง มาจัดลายที่ต้องการ เข้าดอก เข้ารูป เข้าทรง แต่ถ้าเป็นผ้าขาวม้า จะใช้วิธีสลับสี สลับลาย คือ เปลี่ยนกระสวยไปเรื่อย ๆ
-การค้นด้ายจากหลักประกอบด้วยอุปกรณ์ร้านที่ตั้งด้าย ร้านที่เป็นลูกหลักสำหรับพันด้าย จากนั้นดึงเส้นด้ายไปพันกับหลักพันด้ายบนร้านตั้งลูกหลัก
-สอดฟันฟืมถ้าใช้ฟืมห่างด้ายเส้นยืนจะบางเนื้อผ้าไม่แน่น ถ้าใช้ฟืมถี่เนื้อผ้าจะแน่นละเอียด การสอดฟันฟืมจะต้องใช้ 2 คน คนแรกเป็นคนส่งด้าย โดยให้ด้ายเกี่ยวกับตะขอส่งให้อีกคน ซึ่งจะเป็นคนนำเส้นด้ายมาสอดดับฟืม จากนั้นส่งกลับให้คนส่งด้าย ทำแบบนี้เรื่อยไปจนกว่าด้ายจะหมด
-การม้วนประกอบด้วยอุปกรณ์ ไม้ม้วน 1 อัน ร้านตั้งด้ายที่จะม้วน เอาม้วนด้ายมาวางแล้ว นำฟืมมาคั่น จากนั้นลากฟืมม้วนใส่ไม้ม้วน
-การตะกอประกอบด้วยอุปกรณ์ เส้นด้าย ไม้สำหรับริ่วเขา 4 อัน เต่า ซึ่งเป็นตัวจัดเส้นด้ายให้เท่า ๆ กัน
-วิธีตะกอพันด้ายใส่ไม้เวลาเหยียบทำให้ด้ายสลับขึ้นลงเวลาทอ
-การทอนำฟืมมาวางตรงรางกระสวยเหยียบขึ้นลง แล้วสอดด้ายพุ่งไปตามสีที่ต้องการทอ

Location
บ้านสะพานพลา
No. 6 Moo 5
Tambon สะท้อน Amphoe Na Thawi Province Songkhla
Details of access
นางบัว ดวงตา
Reference นางดวงพร อุทัิยสุริ
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา
No. 10/1 Road สุขุม
Tambon บ่อยาง Amphoe Mueang Songkhla Province Songkhla ZIP code 90000
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่