ชื่อ วัดตระพังเงิน
อายุ สมัยสุโขทัย
ที่อยู่แหล่งที่ตั้ง อยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
สถานภาพของสถานที่ เป็นวัดร้างได้รับการบูรณะและดูแลโดยกรมศิลปากร
ความสำคัญในอดีต -
สภาพทางภูมิศาสตร์ ตั้งบนพื้นที่ราบ มีน้ำล้อมรอบ
สภาพทางเศรษฐกิจสังคม -
ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรม เจดีย์ทรงดอกบัวตูมมีจระนำที่เรือนธาตุทั้งสี่ด้านสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปยืนและพระพุทธรูปลีลา
ประวัติความเป็นมา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดมหาธาตุ ห่างจากกันประมาณ 300 เมตร โบราณสถานแห่งนี้ไม่มีกำแพงล้อมรอบ แต่อาศัยน้ำเป็นขอบเขตวัด คำว่า ตระพัง เป็นภาษาเขมร แปลว่า สระน้ำ
โบราณสถานของวัดนี้มีเจดีย์ประธานทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงดอกบัวตูม มีวิหารประกอบอยู่ด้านหน้า ลักษณะที่เด่นของเจดีย์ทรงดอกบัวตูมของวัดนี้ คือมีจระนำที่เรือนธาตุทั้งสี่ด้านสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปยืนและลีลา ซึ่งแตกต่างไปจากเจดีย์ทรงดอกบัวตูมในที่อื่นๆ
ด้านตะวันออกของเจดีย์ประธาน เป็นเกาะมีโบสถ์ตั้งอยู่กลางน้ำตามคติทีสีมาหรืออุทกสีมา เรียกว่า “ตระพังเงิน” เช่นเดียวกับวัดสระศรี ที่ใช้น้ำในความหมายของความบริสุทธิ์ของขอบเขตที่กันไว้เป็นเขตสำหรับให้พระสงฆ์ทำสังฆกรรม
สถานที่สำคัญ เจดีย์ประธานทรงดอกบัวตูม และพระโบสถ์กลางน้ำ