ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 17° 1' 12.576"
17.02016
Longitude : E 99° 44' 1.32"
99.7337
No. : 169067
การทำข้าวตอกพระร่วง
Proposed by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date ไม่ระบุ
Approved by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date 30 November 2012
Province : Sukhothai
0 1763
Description
ชื่อ การทำข้าวตอกพระร่วง ประเภทและลักษณะ หินเป็นรูปสี่เหลี่ยมคล้ายลูกเต๋าสีสนิมเหล็ก หรือสีน้ำตาลไหม้เล็กบ้างใหญ่บ้าง ประวัติความเป็นมา คือ แร่ชนิดหนึ่งเป็นแร่ LIMONITE คือออกไซด์ของเหล็กชนิดหนึ่ง (2Fe2 O3 . H2O) เนื่องจากแร่นี้ไม่มี crystal form มีลักษณะเป็น colloid จึงสามารถเกิดเป็นผลึกโดยอาศัยรูปผลึกของแร่อื่นได้ ในกรณีของข้าวตอกพระร่วงนี้อาศัยรูปผลึกของแร่ PYRITE (Fe S2) จึงเรียกว่า Limonite Pseudomorphed after Pyrite แร่นี้มีพบมากที่จังหวัดสุโขทัยพบฝังอยู่ในหินผุตามเชิงเขาพระบาทใหญ่ เมื่อทุบให้แผ่นหินผุแตกจะพบหินเป็นรูปสี่เหลี่ยมคล้ายลูกเต๋าสีสนิมเหล็ก หรือสีน้ำตาลไหม้เล็กบ้างใหญ่บ้าง ก้อนใหญ่หน้าราบขนาดราว2-3 เซนติเมตร ก้อนเล็กราวครึ่งเซนติเมตร และก้อนใหญ่บางก้อนนั้น ถ้าทุบให้แตกอีกก็จะแตกเป็นก้อนย่อย ๆ รูปสี่เหลี่ยมอีกเหมือนกัน แต่บางก้อนเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาวก็มี ชาวบ้านเรียกหินชนิดนี้ว่า ข้าวตอกพระร่วง ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง ข้าวตอกพระร่วง หรือข้าวพระร่วง ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวเมืองสุโขทัยมาแต่ช้านาน ลักษณะรูปร่างสี่เหลี่ยมตามธรรมชาติ มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ตามตำนานเล่าขานต่อกันมาว่าเกิดจากวาจาสิทธิ์ของพระร่วงเจ้า ผู้ครองแคว้นสุโขทัยในสมัยก่อน ขณะทรงออกผนวชอยู่ที่วัดเขาพระบาทใหญ่ในวันตักบาตรเทโว เมื่อได้ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ข้าวที่เหลือก้นบาตรท่านได้โปรยลงบนลานวัด และทรงอธิษฐานขอให้ข้าวตอกดอกไม้นี้กลายเป็นหินชนิดหนึ่ง พร้อมทั้งมีอายุยั่งยืนนานชั่วลูกชั่วหลาน เมื่อใครมีไว้บูชาบนหิ้งพระหรือพกติดตัวไว้ ก็จะเจริญด้วยโภคทรัพย์นานาประการ แคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวง นอกจากนั้นยังมีความเชื่ออีกว่า ถ้านำหินก้อนสี่เหลี่ยมที่ยังไม่เจียระไนมาฝนกับน้ำมะนาวนำไปทาบริเวณแผลก็ จะสามารถถอนพิษสัตว์ได้ทุกชนิด ด้วยความเชื่อจากอดีตกาลส่งผลให้ในปัจจุบันชาวเมืองสุโขทัยโดยเฉพาะชาวบ้าน ตำบลเมืองเก่า นิยมนำข้าวตอกพระร่วงซึ่งมีที่เดียวในโลก บริเวณรอบวัดเขาพระบาท มาเจียระไนขัดและฝนกับกระดาษทรายจนเกลี้ยงเกิดเป็นเม็ดหินสีดำคล้ายนิล ประกอบเข้ากับเครื่องเงิน จนแปรสภาพเปลี่ยนเป็นเครื่องประดับชิ้นงาม ทั้งสร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวน จี้ ต่างหู กำไล ฯลฯ วัสดุที่ใช้ ข้าวตอกพระร่วง เครื่องเจียระไน วิธีทำ ขั้นตอนการเจียระไนหินข้าวตอก ขั้นตอนที่ ๑ คัดเลือกหินข้าวตอกพระร่วงให้ได้ขนาดตามต้องการแล้วนำมาลนไฟ ติดไม้ตะเกียบโดยใช้ติดกับครั่ง ขั้นตอนที่ ๒ นำไปเจียระไนโดยหินกากเพชรหยาบแล้วโกลนจนได้รูปร่างตามที่ต้องการ ขั้นตอนที่ ๓ นำมาฝนกระดาษทรายจนถึงละเอียด ขั้นตอนที่ ๔นำไปขัดต่อไปจนขึ้นเงา สีดำมันแล้วนำไปติดตัวเรือน นำไปเป็นเครื่องประดับ บทบาทหน้าที่และความสำคัญในอดีตและปัจจุบัน - วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา นำข้าวตอกพระร่วงมาเจียระไนเพื่อมาใช้เป็นเครื่องประดับ สถานที่ บ้านข้าวตอกพระร่วง เลขที่ 382/1 หมู่ 2 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย 64210 โทร. (055) 633-350
Location
บ้านข้าวตอกพระร่วง
No. เลขที่ 382
Tambon เมืองเก่า Amphoe Mueang Sukhothai Province Sukhothai
Details of access
Reference นายเหล็ง จันทร์ฉาย
Email bankaotokprarung@yahoo.co.th
No. เลขที่ 382
Tambon เมืองเก่า Amphoe Mueang Sukhothai Province Sukhothai
Tel. 055) 633-350
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่