ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 17° 0' 21"
17.0058333333333
Longitude : E 99° 49' 35"
99.8263888888889
No. : 169085
พระพุทธอุทยานสุโขทัย
Proposed by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date ไม่ระบุ
Approved by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date 30 November 2012
Province : Sukhothai
0 1524
Description
ชื่อสถานที่ พระพุทธอุทยานสุโขทัย สถานที่ตั้ง บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ประวัติความเป็นมา พระพุทธอุทยานสุโขทัย ได้เริ่มก่อสร้าง เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบวิหารพระปรางค์ห้ายอด ภายในวิหารปูด้วยหินอ่อน พื้นภายนอกปูด้วยหินแกรนิต ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้จากประชาชนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคและรายได้จากการจำหน่าย 9 พระพุทธสุดแผ่นดิน และ 9 พระเครื่องเฟื่องสุดกรุ หน่วยงานที่ดูแล จังหวัดสุโขทัย สถานภาพของสถานที่ พระพุทธอุทยานสุโขทัย เป็นที่รวบรวมพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย โดยการจำลองลักษณะจากของเดิมมาไว้เพื่อเป็นที่สักการบูชาและเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องศิลปะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ความสำคัญ/ความหมาย พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามที่สุด เมื่อเทียบกับพระพุทธรูปในสมัยอื่น ๆ ในอดีตองค์พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย และประชาชนชาวสุโขทัย มีความศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง จึงได้มีการก่อสร้าง พระพุทธรูปทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่เป็นจำนวนมากนับพันองค์ หลังจากอาณาจักรสุโขทัยร่วงโรย พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ในเมืองสุโขทัย จึงถูกปล่อยทิ้งร้างเป็นจำนวนมาก และได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานยังวัดต่างๆ มากกว่า 200 องค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปจำลองจำนวน 9 องค์ ที่จังหวัดสุโขทัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย 1. พระพุทธรูปปางลีลา ขนาดความสูง 2.03 เมตร ทำพิธีเททองหล่อองค์พระเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 18.19 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร 2. พระร่วงโรจนฤทธิ์ ขนาดความสูง 7.72 เมตร ทำพิธีเททองหล่อองค์พระ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 17.39 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม 3. พระศาสดา ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก ทำพิธีเททองหล่อองค์พระ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 19.19 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดสุวรรณาราม กรุงเทพมหานคร 4. พระพุทธชินสีห์ หรือ พระนาคปรก ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก ทำพิธีเททองหล่อองค์ พระเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 19.19 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดพระเชตุพนวิมล มังคลาราม กรุงเทพมหานคร 5. พระพุทธสิหิงค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก ทำพิธีเททองหล่อองค์พระ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 19.19 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพมหานคร 6. หลวงพ่อร่วง ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก องค์เดิมทำพิธีเททองหล่อองค์พระ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 19.19 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดมหรรณพาราม กรุงเทพมหานคร 7. พระสุโขทัยไตรมิตร ขนาดหน้าตักกว้าง 6 ศอก 5 นิ้ว สูง 7 ศอก 9 นิ้ว ทำพิธีเททองหล่อ องค์พระเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2542 เวลา 19.19 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร 8. พระศรีศากยมุนี ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก ทำพิธีเททองหล่อองค์พระ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 19.19 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร 9. พระพุทธไสยาสน์ ขนาดความยาว 6 ศอก ทำพิธีเททองหล่อองค์พระ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 19.39 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร กลุ่มคนที่ใช้ ประชาชนทั่วไป จำนวนผู้อาศัย -
Location
ศาลากลางจังหวัดสุโขทัย
Amphoe Mueang Sukhothai Province Sukhothai
Details of access
Reference ศาลากลางจังหวัดสุโขทัย
Amphoe Mueang Sukhothai Province Sukhothai
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่