ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 48' 8.1864"
14.802274
Longitude : E 100° 36' 54.4536"
100.615126
No. : 169389
ศาลพระกาฬ
Proposed by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date ไม่ระบุ
Approved by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date 30 November 2012
Province : Lop Buri
0 1672
Description
ศาลพระกาฬ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระปรางค์สามยอด ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ศาลพระกาฬ เดิมเรียกว่าศาลสูง หรือเรียกว่าศาลพ่อพระกาฬ เป็นปราสาทเดี่ยวก่อสร้างด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่กึ่งกลางบนฐานสูงในแผนผังรูปกากบาท มี่มุขยื่นออกมาเป็นบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน น่าจะสร้างขึ้น ประมาณพุทธสตวรรษที่ 16-18 ตามแบบศิลปะเขมร ต่อมาในสมัยอยุธยาได้สร้างอาคารก่ออิฐบริเวณฐานของปราสาทองค์เดิม ในปีพ.ศ. 2476 ได้สร้างอาคารขึ้นใหม่ ทางด้านตะวันตกต่อจากปราสาท เพื่อประดิษฐานพระวิษณุหรือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ศิลปะแบบเขมร ซึ่งแต่เดิมไม่มีเศียร ชาวเมืองได้นำเศียรพระพุทธรูปศิลปะอยุธยามาประกอบไว้ นอกจากนี้ยังมีทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 เทวรูปพระวิษณุหรือพระนารายณ์อีกองค์หนึ่ง ศิลาจารึกหลักที่ 18 อักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14 จารึกหลักที่ 19 และจารึกหลักที่ 20 (จารึกศาลสูง) อักษรขอม ในคัมภีร์และจารึกโบราณกล่าวถึงองค์พระกาฬไชยศรี ซึ่งเป็นเทพที่ปกปักรักษาบ้านเมืองทำนองเดียวกับพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และยังได้ชื่อว่าเป็นเทพผู้ให้คุณให้โทษ และเป็นเทพแห่งความตาย จึงมีผู้คนเคารพยำเกรงกันมาก การได้เดินทางมาบูชาสักการะองค์เจ้าพ่อพระกาฬ ถือเป็นสิริมงคลและทำให้ศัตรูยำเกรง ในบริเวณรอบศาลพระกาฬมีลิงประมาณ 300 ตัวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดลพบุรี บริเวณนี้มีต้นกร่างขนาดใหญ่และมะขามเทศเป็นที่อาศัยของลิง เจ้าพ่อพระกาฬ ถือเป็นเทพอารักษ์องค์สำคัญประจำเมือง ดังคำขวัญประจำจังหวัดลพบุรีว่า “วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเลื่อง เมืองแห่งดินสอพอง แผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์”
Location
Tambon ท่าหิน Amphoe Mueang Lop Buri Province Lop Buri
Details of access
Tambon ท่าหิน Amphoe Mueang Lop Buri Province Lop Buri
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่