ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 15° 6' 19.0548"
15.105293
Longitude : E 104° 49' 12.612"
104.82017
No. : 169951
โปงไม้
Proposed by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date ไม่ระบุ
Approved by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date 30 November 2012
Province : Ubon Ratchathani
0 2270
Description
โปง คือเครื่องมือที่ใช้เพื่อเป็นสัญญาณสื่อถึงกิจกรรมของพระสงฆ์ ซึ่งจะมีสองกิจกรรมในช่วงเช้าและช่วงเย็น ในตอนเช้าตีโปงเมื่อพระภิกษุออกบิณฑบาต เรียกว่าโปงเช้า และในตอนเย็นตีโปงเมื่อพระภิกษุลงอุโบสถเพื่อไหว้พระสวดมนต์ในตอนเย็น เรียกว่าโปงแลง ดังนั้นหน้าที่รองของสัญญาณโปงจึงทำให้คนในชุมชนที่อยู่ใกล้วัดนั้นได้ทราบถึงเวลาด้วย และอาจมีการใช้ตีเพื่อรวมคนหรือตีเพื่อเป็นสัญญาณบอกเหตุผิดปกติต่าง ๆ ในชุมชนก็ได้ โปงมีรูปร่างคล้ายระฆังทรงตรงขนาดใหญ่ ทำจากโลหะหรือไม้ก็ได้ หากทำจากไม้จะใช้ไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้ประดู่ ส่วนใหญ่จะมีความยาวประมาณ 2 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 80 เซนติเมตร มีหูสำหรับแขวนไว้บนคานไม้ การทำโปงจะเริ่มจากหาไม้เนื้อแข็งที่ไม่มีโพรง และไม่มีแมลงเจาะ ไม้ที่ใช้อาจจะเป็นไม้หมากหาด ไม้ตะเคียน ไม้ประดู่ เป็นต้น นำไม้เนื้อแข็งที่ได้ไปถากให้เป็นรูปทรงโปง แล้วเจาะภายในเนื้อไม้ให้เป็นโพรง แล้วทำหูโปงสำหรับแขวนกับหลักหรือคานไม้ ถ้าต้องการให้มีเสียงกังวาน จะต้องขุดแต่งโพรงให้เป็นทรงกรวยสอบขึ้นไปจนทะลุหัวโปงเป็นรูเล็ก ๆ ที่เรียกว่า รูแพ นอกจากนี้การแขวนโปงควรแขวนให้ห่างจากพื้นดินประมาณ 1 คืบ ฝังหม้อหรือไหไว้ในดิน ให้ตรงกับปากโปง ซึ่งจะช่วยเป็นตัวสะท้อนเสียงของโปง ทำให้มีความดังมากขึ้นกว่าเดิม ที่บ้านคอนสาย ตำบลทราบมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี นอกจากจะมีชื่อเสียงในการทำฆ้องแล้ว ก็ยังสามารถทำโปงไม้ไว้สำหรับขายไปทั่วประเทศด้วย
Location
เลขที่ 20 หมู่ 6
No. บ้านคอนสาย
Tambon สว่าง Amphoe Sawang Wirawong Province Ubon Ratchathani
Details of access
Reference นางบัวทอง สีชนะ
No. เลขที่ 20 Moo บ้านคอนสาย
Tambon สว่าง Amphoe Sawang Wirawong Province Ubon Ratchathani
Tel. โทร 08 1264 4791, 08
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่