ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 12° 18' 20"
12.3055555555556
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 20' 21"
102.339166666667
เลขที่ : 171120
หัวโขนไหว้ครู
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ตราด วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564
จังหวัด : ตราด
0 3017
รายละเอียด

หัวโขนไหว้ครู ที่ใช้ในการประกอบพิธีไหว้ครูนั้นไม่ปรากฏหลักฐานถึงความเป็นมาของพิธีไหว้ครูและครอบครูโขน-ละครไทย ว่าสืบเนื่องมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ได้มีการกำหนดระเบียบแบบแผน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติโดยการบอกเล่าต่อๆกันมาเป็นมุขปาฐะ ตำราพิธีไหว้ครู และครอบโขน - ละครของไทยมีอยู่ 2 ฉบับ คือ สมุดไทยมีจำนวน 3 เล่ม แต่คงเหลือเพียงเล่ม 2 เล่มเดียว ส่วนเล่ม 1 และเล่ม 3 หายไป ซึ่งเข้าใจว่ามีนักปราชญ์รวบรวมชำระทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราเป็นพิธีไหว้ครูโขน - ละคร ฉบับหลวง ในรัชกาลที่ 4 ส่วนอีกฉบับหนึ่ง คือ สมุดไทยเล่ม 2 ที่หลงเหลือมาจากฉบับแรก ได้ตีพิมพ์ใช้เป็นแบบฉบับของการทำพิธีไหว้ครูโขน - ละครในสมัยรัชกาลที่ 6 ในการจัดพิธีไหว้ครูโขน - ละคร จะเห็นได้ว่าในพิธีจะมีหัวโขนหรือศีรษะครูที่เป็นเสมือนตัวแทนของครูแต่ละองค์ นำมาตั้งประกอบในพิธีมากมายตามโอกาสและความพร้อมของผู้จัด ในเรื่องของประวัติเทพเจ้าที่เกี่ยวข้อง ลักษณะที่สำคัญ ตลอดทั้งความสำคัญของหัวโขนเทพเจ้าที่พอจะนำมาเป็นตัวอย่าง ได้แก่ - หัวโขนพระอิศวร แทนองค์พระอิศวร เป็นเทพเจ้าผู้ทำลายล้าง - หัวโขนพระนารายณ์ แทนองค์พระนารายณ์ เป็นเทพเจ้าผู้บริหาร และรักษาโลก - หัวโขนพระพรหม แทนองค์พระพรหม เป็นเทพเจ้าผู้สร้างโลก - หัวโขนพระอินทร์ แทนองค์พระอินทร์ เทพเจ้าผู้คอยช่วยเหลือคนดี - หัวโขนพระพิฆคเณศ แทนองค์พระพิฆคเณศ เทพเจ้าแห่งความรู้ สติปัญญา และศิลปศาสตร์ - หัวโขนพระวิสสุกรรม แทนองค์พระวิสสุกรรม เทพเจ้าแห่งการช่าง และการก่อสร้าง - หัวโขนพระปรคนธรรพ แทนองค์พระปรคนธรรพ เป็นครูทางปี่พาทย์ หัวโขนพระปัญจสีขร แทนองค์พระปัญจสีขร เป็นครูทางด้านดนตรี - หัวโขนพระพิราพ แทนองค์พระพิราพ เป็นเทพแห่งการประสบโชค และความตาย ศิลปินโขน - ละครไทย ให้ความเคารพในฐานะเป็นครูในวิชาดุริยางคศาสตร์ และนาฏศิลป์ - หัวโขนพระฤาษีกไลโกฎ พระภรตฤาษี พระฤาษีตาสัส พระฤาษีตาไฟ แทนองค์พระฤาษีกไลโกฎ พระภรตฤาษี พระฤาษีตาสัส พระฤาษีตาไฟ เป็นครูทางด้านการฟ้อนรำ ที่ศิลปินมักกล่าวถึงเสมอโดยเฉพาะพระภรตฤาษี สาระสำคัญวัตถุประสงค์ของการไหว้ครู คือการแสดงถึงความเคารพกตเวทีแด่ท่านบูรพาจารย์ และครูบาอาจารย์ ผู้ซึ่งประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ เพื่อจะได้เป็นความรู้ติดตัวนำไปประกอบอาชีพ เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองในภายภาคหน้า โดยกลุ่มคนที่ศึกษาศิลปะวิทยาการต่างๆต้องมีการไหว้ครูก่อนทั้งนั้น การไหว้ครูถือว่ามีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเรียนศิลปะการดนตรี และนาฏศิลป์ เป็นพิธีการที่ค่อนข้างยิ่งใหญ่ และมีพิธีรีตองมากกว่าการไหว้ครูทางหนังสือ ซึ่งการจัดพิธีไหว้ครูนั้น มักนิยมจัดกันในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือว่าเป็นวันครูอันเกี่ยวข้องกับตำนานเทพเจ้าพระพฤหัสบดี ในปัจจุบันบางครั้งก็นิยมจัดกันในวันอาทิตย์ได้อีก 1 วัน แต่ไม่ว่าจะจัดวันพฤหัสบดีหรือวันอาทิตย์ จะต้องไม่ตรงกับวันพระเพราะถือว่าครูจะไม่ลงมา และหาซื้อเครื่องสังเวยลำบาก เดือนที่นิยมกระทำพิธีไหว้ครูตามแบบโบราณนั้น นิยมประกอบพิธีในเดือนที่เป็นเลขคู่ ยกเว้นเดือน 9 เดือนเดียวที่อนุโลม เพราะถือเป็นเคล็ดว่าเป็นเลขที่ดีก้าวหน้า และมักทำกันในวันข้างขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นวันฟู ข้างแรมอันถือว่าเป็นวันจมไม่นิยมประกอบพิธีกัน

สถานที่ตั้ง
วัดท่าโสม หมู่ 1
หมู่ที่/หมู่บ้าน ท่าโสม
ตำบล ท่าโสม อำเภอ เขาสมิง จังหวัด ตราด
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เลขที่ วัดท่าโสม หมู่ที่/หมู่บ้าน ท่าโสม
ตำบล ท่าโสม อำเภอ เขาสมิง จังหวัด ตราด
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่