ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : - Longitude : -
No. : 174501
การปลูกหญ้าปูสนาม
Proposed by. lamlukka Date 25 December 2012
Approved by. mculture Date 29 March 2016
Province : Pathum Thani
0 2185
Description

การปลูกหญ้าปูสนาม

ประวัติความเป็นมา สำหรับผู้ที่ริเริ่ม โครงการดำเนินกิจการปลูกหญ้าปูสนาม กลุ่มนี้ คือ

นายประดิษฐ์ ผลเจริญ แต่เดิมนายประดิษฐ์ เคยรับจ้างทำการปลูกหญ้าปูสนามที่เขตมีนบุรีมาก่อน จนกระทั่งในปี 2515 นายประดิษฐ์ เริ่มเช่าที่ดิน และทำการปลูกหญ้าปูสนามเป็นของตนเอง ในสถานที่ดังกล่าว ส่วนในด้านลูกค้ากํยังไม่มากเท่าที่ควร ต่อมาเมื่อความเจริญทางด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เข้ามาสู่เขตมีนบุรี เจ้าของที่ดินส่วนใหญ่ก็ทำการขายที่ดินให้กับนักลงทุน เพื่อนำที่ดินผืนนั้นไปพัฒน้เป็นที่ดินจัดสรร เช่น ธุรกิจ ศูนย์การค้า ตลาด บ้านจัดสรร เป็นต้น ดังนั้นจึงส่งผลกระทบต่อนายประดิษฐ์ เมื่อเจ้าของที่ดินบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดิน

จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2532 นายประดิษฐ์ จึงได้ย้ายมาทำทดลอง ทำไร่หญ้าที่บ้านเกิดของตนเอง ณ คลอง 13 หมู่ที่ 4 ตำบลบึงคอไห อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยในช่วงแรกเริ่มปลูกบนเนื้อที่ 10 ไร่ ซึ่งระยะเริ่มแรกนั้นนายประดิษฐ์ และภรรยาเป็นผู้ลงมือทำการผลิตเองเกือบทุกอย่าง นอกจากนี้ยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากบรรดาญาติพี่ น้องเท่าไรนัก และยังประสบปัญหาทางด้านการคมนาคมขนส่ง ส่วนลูกค้านั้นก็ยังเป็นลูกค้าประจำของ นายประดิษฐื เมื่อสมัยที่อยู่ในเขตมีนบุรี ต่อมาเมื่อได้ดำเนินกิจการต่อไปเรื่อย ๆ ได้ประมาณ 4-5 ปี ส่งผลให้กิจการเริ่มดีขึ้น ส่วนบรรดาญาติ พี่ น้อง เริ่มให้ความสนใจ โดยในช่วงแรกมีนาง อำไพ ชลเจริญ (ผลเจริญ ) นายณรงค์ ผลเจริญ และนางฟาระห์ นนทรี โดยผู้ที่ให้ความสนใจ เป็นบรรดาญาติ พี่ น้อง ของนายประดิษฐ์ (ตระกูลเดียวกัน ) สำหรับพี่ น้องที่ 3 คน นี้ในระยะแรก ได้ทำการทดลองปลูกหญ้าปูสนามเป็นจำนวน 1 ไร่ ก่อน โดนพันธุ์หญ้าที่ปลูกเป็นครั้งแรก คือ หญ้าพันธุ์มาเลย์ โดยระยะ 2 เดือนแรก ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าไร ต่อมามีลูกค้าจากสิงห์โปรเริ่มเข้ามาติดต่อซื้อหญ้าไปหลังจากนั้นเป็นต้นมา ธุรกิจการปลูกหญ้าปูสนามของพี่ น้องทั้ง 3 คนนี้เริ่มประสบความสำเร็จ และทำการขยายพื้นที่ปลูกหญ้า ปูสนามออกไปอีก จนในปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกหญ้าประมาณ 10 ไร่

ต่อมานางอำไพ ชลเจริญ และนางปรานี พลชัย เริ่มไปติดต่อกับหน่วยงานราชการในจังหวัด

ปทุมธานี โดยเพื่อต้องการให้ทางหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือ ตลอดจนช่วยในการประชาสัมพันธ์ ในเรื่องของกิจกรรมของตน หลังจากนั้นเป็นต้นมาโครงการดังกล่าวจึงเป็นที่สนใจจากบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน หรือแม้กระทั่งสื่อมวลชน ก็ตาม ทางด้านความสนใจของทางภาครัฐนั้น รัฐได้มีการจัดให้มีการศึกษาดูงานในเรื่องของการปลูกหญ้าปูสนามในพื้นที่ และยังได้ทำการศึกษาในเรื่องของสภาพความเข้มแข็งภายในชุมชน เพื่อใช้เป็นกรณีศึกษาต่อไปอีก และนอกจากนี้รัฐยังได้ยกระดับของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ของทางรัฐไว้อีกด้วย

ส่วนในด้านเอกชนนั้น เอกชนเริ่มให้ความสนใจในเรื่องของผลิตภัณฑ์ ประเภทนี้เป็นอย่างมาก

เนื่องจากว่า เกษตรกรที่สนใจมาประกอบอาชีพนี้มีจำนวนน้อย แต่ความต้องการผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรมีจำนวนมาก เช่น เมื่อเอกชนต้องการลงทุนสร้างธุรกิจประเภท อสังหาริมทรัพย์ เช่น สนามกอล์ฟ บ้านจัดสรร อาคาร สำนักงานแน่นอน ส่วนประกอบที่สำคัญต้องการจัดสวน เพื่อให้สถานที่ดังกล่าวมีความสวยงามและมีความสมบูรณ์แบบมากขึ้น ดังนั้นหญ้าจึงมีส่วนประกอบที่สำคัญเพื่อให้สถานที่ดังกล่าวมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ส่วนความสนใจของสื่อมวลขน มีหนังสือพิมพ์ รายการ โทรทัศน์ด้านการเกษตร และการ

ช่วยเหลือตัวเองของชาวบ้านในท้องถิ่น เข้ามาสัมภาษณ์ และถ่ายทำรายการเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงเป็นผลดีแก่เกษตรกรในท้องถิ่นในด้านการประชาสัมพันธ์ของโครงการอีกทางหนึ่ง

ในปัจจุบันมีผู้ที่สนใจประกอบกิจการปลูกไร่หญ้าปูสนามกันเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นคนใน

ท้องถิ่น หรือต่างพื้นที่ โดยประมาณ จำนวน 2,000 ไร่

- ความเกี่ยวข้องทางวัฒนธรรม

เนื่องจาก ชาวตำบลบึงคอไห ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ในการเกษตร เช่นทำนา ทำสวน ทำไร่หญ้าปู

สนาม ดังนั้นวิถีชีวิตของชาวบึงคอไหจึงเป็น วัฒนธรรมของการเกษตร ลงแรง ลงแขก

- วัสดุ อุปกรณ์ ที่นำมาใช้

1. รถ 1 เครื่อง เพื่อไถนา หรือเครื่องปั่นเลน นิยมใช้เครื่องโรแท็ก 3-5 แรง ที่ใช้กับเรื่อหาง

ยาวในอดีต นำมาประยุกต์ ใช้ตีเลน เพื่อผสมดินเข้ากับน้ำจนเป็นเลน ไปตามท่อ แล้วฉีด

เลนละเลงให้ทั่วแปลงขณะดำหญ้า

2. สายยางสำหรับรดน้ำ

3. ท่อสูบน้ำ

4. ลูกกลิ้งขนาดใหญ่ สำหรับอัดบดหญ้าให้ติดกับดิน อุปกรณ์ชนิดนี้ทำมาจาก เหล็กม้วนเป็น

ท่อกลม ข้างในกลวง สามารถเติมน้ำหนักในการกดทับ ขณะบดหญ้า หรือกลิ้งหญ้าเมื่อดำ ได้ 2 วัน เพื่อทำให้รากหญ้าติดดิน

5. พลั่วแซะหญ้า เป็นอุปกรณ์ที่สั่งทำ โดยมีด้ามเป็นไม้ยาวประมาณ 1.20 -1.50 เมตร

ปลายด้ามหนึ่งเป็นพลั่วเหล็กตีแผ่กว้าง ด้านปลาย เวลาใช้คว่ำลงโดยใช้ข้อมือจับด้ามไม้บังคับทิศทาง

6. ไม้สกีตัดหญ้า เป็นอุปกรณ์ด้ามไม้ทำจากไม้เนื้อแข็งมีความยาว 50 เซนติเมตร

จะบาก รอยไว้เพื่อใช้วัดแผ่นหญ้าในขณะแซะหญ้า ปลายด้ามหนึ่งของไม้สกีมีเหล็กเส้นเหลี่ยมตัดโค้งประกบไว้ส่วน โค้งเหล็กซึ่งติดปลายไม้จะใส่ใบมีดไว้เพื่อเป็นเครื่องมือตัดแนวหญ้า

7. เครื่องตัดหญ้าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดใบหญ้า สามารถปรับความสูงต่ำ ได้ หลังจากดำ

หญ้าได้ 7-10 วัน จะต้องตัดใบหญ้าครั้งที่ 1 เมื่อหญ้าอายุ ได้ 22 วัน จะต้องตัดใบหญ้า

ครั้งที่ 2 สำหรับในหนึ่ง รอบของการปลูก

- จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

ด้านการตลาด และการจำหน่าย ปัจจุบันด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ไร่หญ้าของชาวคลอง 13 ตำบลบึงคอไห อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี นั้น ประกอบไปด้วยลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ลูกค้าในประเทศ สำหรับลูกค้าในประเทศนั้น ก็มีลูกค้าประจำที่เคยปลูกไร่หญ้า อยู่ที่มีนบุรี ต่อมาเริ่มมีลูกค้าใหม่ก็จะประกอบไปด้วยภาครัฐ และภาคเอกชน ส่วนลักษณะงานที่ทางลูกค้าสั่งนั้น ถ้าเป็นภาครัฐ ก็จะนำไปตกแต่งสถานที่ราชการต่างๆ การปลูกหญ้าบนเกาะกลางถนน สวนสาธารณะเป็นต้น

ส่วนลูกค้าในภาคเอกชนก็จะนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ไปทำการประดับตกแต่งในธุรกิจประเภท อสังหาริมทรัพย์บ้าง ประดับตกแต่ง สวนภายนอกบ้านจัดสรร สนามกอล์ฟ นอกจากนี้มีพ่อค้าคนกลางมาติดต่อเพื่อนำไปขายต่ออีกที

ลูกค้าต่างประเทศ ประกอบไปด้วย 3 ประเทศ คือ ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน ซึ่งประเทศสิงคโปร์นั้นจะซื้อหญ้ามาจากชาวบ้านและจะนำไปขายต่ออีกที ลักษณะการจัดส่งนั้นจะมีการจัดส่งโดยทางรถยนต์บรรทุกโดยทางลูกค้าจะนำมารับเองที่ไร่

- กระบวนการ / ขั้นตอนการผลิต

หญ้าที่เกษตรกรเพาะปลูก ตำบลบึงคอไห อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ประกอบไปด้วยกัน 3 พันธุ์ คือ พันธุ์มาเลย์ พันธุ์นวลน้อย แ ละพันธุ์นวลจันทร์

วิธีการเพาะปลูก มีขั้นตอนการเพาะปลูก การเตรียมดิน การปลูก การบำรุงรักษา จนกระทั่งเก็บผลผลิตเตรียมส่งขายดังนี้

1. การขุดร่องน้ำ และกั้นคันดินรอบบริเวณแปลงหญ้า เพื่อป้องกันน้ำท่วม และความสะดวก

ในการรดน้ำแปลงหญ้าทุกวัน

2. การเตรียมดินหรือปรับหน้าดิน ใช้ลูกกลิ้งเหล็กขนาดใหญ่บดอัดดินให้แน่น (ทำเทือก)การ

ฉีดน้ำดินเลนทั่วแปลง(ล้างเทือก) สำหรับประเภทดินที่เหมาะสมกับการปลูกหญ้านั้นควรจะเป็นดินเหนียวจึงจะเหมาะสม โดยก่นอื่นต้องปรับหน้าดินให้เรียบสนิททั่วทั้งผืนเพื่อให้ง่ายต่อการแซะหญ้าในช่วงจำหน่าย

3. การลงพันธุ์หญ้า ( ดำหญ้า) โดยนำพันธุ์มาแยกและแปะให้กระจายไปทั่วแปลง หลังจากที่

เกษตรกรได้ทำการเก็บเกี่ยวผลิตภัณฑ์ไปแล้ว เกษตรกรจะทำการแบ่งผลิตภัณฑ์ ออกเป็น 80 ต่อ 20 ส่วนต่อ ไร่ ทั้งนี้ในส่วนของร้อยละ 80 เกษตรกรจะทำการจำหน่าย ส่วนร้อยละ 20 นั้น จะเก็บไว้ทำพันธุ์ต่อไป พันธุ์หญ้าที่เตรียมไว้ทำพันธุ์นั้น พื้นที่ 1 ไร่ จะใช้พันธุ์หญ้า ประมาณ 500 ตารางเมตร นำหญ้ามาฉีกเป็นจับหรือเป็นชิ้น ๆ ละประมาณ 2-3 นิ้ว วางแปะ ลงบนดินเลน ผู้ดำหญ้าจะใช้มือตบเบาๆ เพื่อให้ต้นกล้าติดดิน ปัจจุบนค่าแรงดำหญ้าคิดเป็น ตารางวา ๆ ละ 3.50 บาท

การบำรุงรักษา

- น้ำ มีการให้น้ำทุกวันวันละ 2 เวลา เช้า และ เย็น

- ปุ๋ย ต้องใส่สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย ปุ๋ยที่ใส่คือปุ๋ยยูเรีย

- ยาปราบศัตรูพืช โดยจะใช้ยา ฟริดาน กำจัดหนอนและแมลง ใช้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

- เมื่อทำการดำนาหญ้าได้ประมาณ 2 วัน จึงจะใช้ลูกกลิ้งอัดหญ้าให้รากแน่น

- เมื่อครบ 10 วันตัดใบครั้งที่ 1 และใส่ปุ๋ย ตัดใบ 3 ครั้ง ในระยะเวลา 45 วัน

- ปริมาณการผลิตและราคา

สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 45 วัน หลังการเพาะปลูก โดยใช้สกีตัดเป็น แผ่น ๆ ขนาด 50 X100 เซนติเมตร และทำการแซะแปลงหญ้า ขายในพื้นที่ 1 ไร่ ได้ 1,600 แผ่น ( แผ่นละ 1 ตารางเมตร) นำไปขาย 1,200 แผ่น ที่เหลือ 400 แผ่นเก็บไว้เป็นหญ้าพันธุ์เพื่อนำไปใช้ในการดำนาหญ้าครั้งต่อไป หรืออัตราส่วน 80:20

สรุปรายรับ –จ่าย ของการปลูกหญ้าปูสนาม ( คิดเป็นค่าเฉลี่ยขั้นต่ำต่อไร่) มีรายละเอียดดังนี้

ตารางที่ 1แสดงรายจ่ายของการปลูกหญ้าปูสนาม

รายการ

ค่าใช้จ่าย

1.

ค่าจ้างบำรุงดูแลหญ้า ( เหมาจ่าย)

1,200.00

2.

ค่าแซะหญ้า 1,200 ตร.เมตร(เหมาจ่าย)

1,800.00

3.

ค่าแซะหญ้า 400 ตร.เมตร(หญ้าพันธุ์) เหมาจ่าย

400.00

4.

ค่าจ้างดำหญ้า(เหมาจ่าย)

1,400.00

5.

ค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง และค่าน้ำมัน

1,000.00

รวมทั้งสิ้น

5,800.00

รายได้ขั้นต่ำของการปลูกหญ้าปูสนาม(คิดเป็นค่าเฉลี่ยต่อไร่)

ตารางที่ 2แสดงรายได้ ( ขั้นต่ำ) ของการปลูกหญ้าปูสนาม

ลำดับ

รายการ

รายได้

1.

ผลผลิตต่อไร่ สามารถขายหญ้าได้ 1,200 ผืน

(1 ไร่ได้หญ้า 1,600 ผืน แต่เก็บไว้ทำหญ้าพันธุ์

400 ผืน )โดย ขาย ผืนละ 9 บาท

9.00

2.

รวมรายได้จากการขายหญ้าผืนละ 9 บาท

จำนวน 1,200 ผืน

10,800.00

3.

หักรายจ่ายจากตารางที่ 1 จะได้รายได้รวมทั้งสิ้น

50,000.00

ต่อไร่

รวมรายได้ทั้งสิ้น

5,000.00

การแซะหญ้าเพื่อจำหน่าย การปลูกหญ้าต่อรอบใช้เวลาประมาณ 30-35 วัน

วิธีการแซะหญ้าเริ่มด้วยการการขึงเชือก วัด และตัดหญ้าด้วยสกีตัดหญ้าซึ่งมีขนาดกว้าง ของแผ่น 50 เซนติเมตร ความยาว 1 เมตร จากนั้นใช้พลั่วแซะหญ้าโดยให้ดินติดรากหญ้า พอประมาณเพื่อช่วยไม่ให้หญ้าตายง่ายก่อนนำไปปลูก ปัจจุบันค่าแรงการแซะหญ้าคิดเป็นตารางเมตรละ 1.50 บาท

-สถานที่จำหน่าย

- สั่งจองได้ตามบ้านเกษตรกร

- ตัวแทนจำหน่ายวางตามข้างถนนสายหลัก รังสิต นครนายก ลำลูกกา

สนใจสั่งซื้อและขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

- องค์การบริหารส่วนตำบลบึงคอไห หมู่ที่ 9 คลอง 12

- อนาคตและการสืบทอด เกษตรกรรมการทำไร่หญ้าแม้ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมาจะซบเแต่

ปัจจุบันผลผลิตด้านนี้ดีขึ้น ให้ผลกำไรกับชาวเกษตรกรชาวไร่หญ้าดีพอสมควร แต่ จุดเสีย คือเกษตรกร ไม่สามารถกำหนดราคาหญ้าเองได้ ต้องขึ้นอยู่กับท้องตลาดหาก ความต้องการหญ้าลดน้อยลง ก็ส่งผลให้ราคาหญ้าตกต่ำซึ่งราคาต้นทุนในการผลิตมีแต่ จะสูงมากขึ้น เพราะผลพวงจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่ว่าจะเป็นอาชีพใดหากเรา กระทำด้วยใจรักมีปัญหาก็แก้ไข ย่อมส่งผลให้บรรลุผลสำเร็จได้อย่างแน่นอน

Location
คลอง13 ลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
Moo 4
Tambon บึงคอไห Amphoe Lam Luk Ka Province Pathum Thani
Details of access
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี ( ศาลากลางหลังเก่า )
Reference นางสาวชวนชม แย้มไสว Email meaw2555@outlook.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด
Road เทศปทุม
Tambon บางปรอก Amphoe Mueang Pathum Thani Province Pathum Thani ZIP code 12000
Tel. 025811237 Fax. 025934406
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่