ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 6° 42' 50.9602"
6.7141556
Longitude : E 101° 30' 47.0207"
101.5130613
No. : 175772
รำกลองยาว
Proposed by. suhaila Date 9 January 2013
Approved by. ปัตตานี Date 16 January 2013
Province : Pattani
2 8910
Description

ประวัติความเป็นมา ตำนานที่เกี่ยวข้อง

การรำกลองยาว มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น เถิดเทิง เทิ่งบองกลองยาว สันนิษฐานว่าแต่เดิมเป็นการเล่นของพวกทหารพม่าในสมัยที่มีการต่อสู้กันปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และเข้าใจว่าคนไทยนำมาเล่นในสมัยกรุงธนบุรีเพราะจังหวะสนุกสนานเล่นง่าย เครื่องดนตรีก็คล้ายของไทยและจังหวะก็ปรับมาเป็นแบบไทยๆเพื่อประกอบการรำ แต่การแต่งกายยังคงคล้ายรูปแบบของพม่า เช่น โพกหัวแบบพม่า นุ่งโสร่ง เสื้อคอกลมแขนกว้าง แต่บางครั้งจะพบแต่งกายตามสบาย โอกาสที่แสดงนิยมในงานรื่นเริง เช่น ขบวนแห่นาค ขบวนแห่ผ้าป่า กฐิน งานฉลอง ขบวนขันหมาก ผู้รำร่วมก็จะแต่งกายตามสบาย แต่จะนิยมประแป้งพอกหน้าให้ขาว ทัดดอกไม้ เขียนหนวดเครา แต้มไฝ ลีลาท่าทางอาจจะแปลกพิสดารที่ทำให้ชวนหัวเราะ ยั่วเย้ากันเองในหมู่พวกหรือคนดู และบางครั้งก็อาจไปรำต้อนคนดูเข้ามาร่วมวงสนุกไปด้วยผู้รำจะมีทั้งชายและหญิงส่วนพวกตีเครื่องประกอบจังหวะก็จะทำหน้าที่ร้องและเป็นลูกคู่ไปด้วย

แหล่งที่ปรากฏการแสดงนั้น ๆ

งานชักพระ , ทอดกฐิน , งานแต่งงาน , งานบวช

โอกาสที่เล่นหรือแสดง

งานบุญหรือตามงานประเพณีต่าง ๆ และงานที่หน่วยงานมอบหมายมาให้ทำการแสดง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดง(เช่น ไม้ตะขาบสำหรับละครชาตรี)

๑. กลองยาว

๒. ฉิ่ง

๓. ฉาบ

๔. กรับ

๕. ฆ้อง

ลักษณะของสถานที่แสดง

บริเวณลานกว้าง หรือสนาม

จำนวนผู้แสดง เพศ

ทั้งเพศหญิงและเพศชายทั้งหมด ๒๔ คนเพศหญิง ๑๔ คน (รำกลองยาว)เพศชาย (เล่นกลองยาว) ๑๐ คน

เครื่องแต่งกาย

ผ้าถุง , เสื้อ , สไบ , เสื้อบาติก , ผ้าคาดศรีษะ , ผ้าคาดเอว , กางเกง

เรื่องหรือบทที่ใช้แสดงหรือลำดับขั้นของการแสดง

๑. ไหว้ครูโดยการตีกลองยกครู
๒. รำจังหวะเซิ้งตีกลองยาวแบบเซิ้ง
๓. ตีกลองยาวตามจังหวะ

ท่ารำที่ใช้ในการแสดง

๑. ท่าเซิ้ง
๒. ท่าสอดสร้อยมาลา
๓. ท่าจีบมือยาว
๔. ท่าสอดสร้อยมาลายกขาหน้า
๕. ท่าจีบข้าว วงบน
๖. ท่างูฟ้อนหาง
๗. ท่าช้างประสานงาจันทร์ทรงกรดยกขาหน้า
๘. ท่าไหว้

การเปลี่ยนแปลงหรือสภาพในปัจจุบัน(ถ้าสามารถระบุเวลาที่แน่นอนของการเปลี่ยนแปลงหรือผู้ที่เป็นต้นเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงได้ยิ่งดี)

สิ่งเหล่านี้เริ่มหดหายไม่มีใครนิยมชมเชย ไม่มีใครสืบทอดเลยทำให้มันไม่มีและโอกาสต่อไปอาจไม่มีให้เห็น เพราะวัฒนธรรมใหม่ ๆ เข้ามามีบทบาทเป็นชาวบ้านมากเกินไป พร้อมทั้งหน่วยงานที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนยังมีน้อย

คติความเชื่อที่เกี่ยวข้อง

การสืบทอดวัฒนธรรมเหล่านี้คือการไม่ลืมกำพืดของตัวเอง

โอกาสที่ร้องเล่น

งานตามประเพณีต่าง ๆ และทางหน่วยงานที่จัดขึ้น

การเปลี่ยนแปลงหรือสภาพในปัจจุบัน

เริ่มสูญหายไม่มีการสืบทอด

อื่น ๆ

อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแล และสนับสนุนให้มีการสืบทอด เพื่อเป็นวัฒนธรรมสู่รุ่นหลังต่อไป

Location
บ้านทุ่งคล้า
No.Moo
Tambon ทุ่งคล้า Amphoe Sai Buri Province Pattani
Details of access
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี
Reference นางนันทฤพร บุญหลง
Organization บ้านทุ่งคล้า
No.Moo
Tambon ทุ่งคล้า Amphoe Sai Buri Province Pattani ZIP code 94110
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่