ชื่อเฉพาะของท้องถิ่น แมแลห (เชิงชายลายฉลุ)ใช้เป็นส่วนประกอบตกแต่งอาคาร บ้าน งานชิ้นนี้มีลักษณะพิเศษ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่น โดยเน้นลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เช่น ลายวังกอตอ ภูมิปัญญาได้ออกแบบลวดลายขึ้นมาเอง ทำให้มีความเป็นเอกลักษณ์และสวยงาม โดยการออกแบบผสมผสานลายดอกต่างๆ เช่น ลายดอกพิกุล ลายดอกเฟื่องฟ้าเป็นลายประจำตระกูลสมัย วังกอตอตือร๊ะ ในการฝึกฝนการทำลายไม้เชิงชายผู้ฝึกจะต้องมีสมาธิทีดี เนื่องจากเป็นการทำงานที่จะต้องใช้ความประณีต ในการทำ และต้องใช้ความขยันมั่นเพียร ต้องฝึกทำตั้งแต่ขั้นแรก และขั้นตอนที่ง่าย ๆก่อน ๑๑. คำบอกเล่า/ตำนานของผลงาน สมัยก่อนมีเจ้าเมืองเมืองหนึ่ง คือ เจ้าเมืองยะหริ่ง (ปัจจุบันเป็นอำเภอยะหริ่ง อยู่ในจังหวัดปัตตานี) ได้สร้างบ้านโดยใช้ไม้ฉลุทั้งหลังและเป็นบ้านหลังเดียวในแทบนั้น จนเป็นตำนานที่เล่าขานกันมาจนถึงปัจจุบัน ในอำเภอยะหริ่งจนถึงปัจจุบันหลาย ๆ คนหันมาสนใจอาชีพนี้เป็นจำนวนมมาก ไม้ฉลุสามมิติ เป็นการนำภูมิปัญญาของชุมชนในด้านการฉลุที่มีมาตั้งแต่โบราณนับหลายพันปี ดังเห็นได้จากการสร้างวังกอตอตือร๊ะ การสร้างพระราชวังต่างๆ และเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเพื่อไม่ให้ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษสูญหาย จึงนำมาพัฒนาด้วยเทคนิคการฉลุผสมผสานกับแนวคิดใหม่ที่ใช้ ไม้แผ่นเดียว ซึ่งเป็นไม้สัก ที่มีความสวยงามในเรื่องของ เนื้อไม้ เส้นลายไม้ และยังแสดงถึงเอกลักษณ์ประจำตำบล กรอบประตูฉลุและอื่น ๆ ฯลฯ ที่มีคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง “กอตอตือร๊ะ” เป็นภาษามลายู แปลว่า “วังไม้แก่น” โดยจัดตั้งหมู่บ้านราวปี พ.ศ. ๒๔๔๐ มีกำนันชื่อ โต๊ะขุน และการปกครองได้ขึ้นตรงกับหัวเมืองรามันในรัชกาลที่ ๕ ต่อมามีการปฏิรูปการปกครองจากหัวเมืองรามัน ในรัชกาลที่ ๕ ต่อมามีการปฏิรูปการปกครองจากหัวเมืองเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน บ้านกอตอตือร๊ะ จึงแยกเป็นตำบลกอตอตือร๊ะ