ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 18° 11' 21.9998"
18.1894444
Longitude : E 100° 39' 32"
100.6588889
No. : 178497
การฟ้อนเจิงฟ้อนดาบบ้านนาหวาย
Proposed by. บรรเจิด ติ๊บตุ้ย Date 2 Febuary 2013
Approved by. สนง.วัฒนธรรม จ.น่าน Date 10 March 2013
Province : Nan
0 1843
Description

ชื่อ
การฟ้อนเจิง ฟ้อนดาบ

ประวัติความเป็นมา
ศิลปะการฟ้อนเจิง ฟ้อนดาบ และการตบมะผาบ เป็นศิลปะการป้องกันตัว และการแสดงชั้นเชิง ลีลาการต่อสู้ของลูกผู้ชาย ในท้องถิ่น ที่งดงามยิ่งนัก การฝึกฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง ในอดีตนั้น ผู้ที่ประสงค์จะเรียน หรือฝึกซ้อม จะต้องไปสมัครเป็นลูกศิษย์ครูเจิง ครูดาบ ดดยทั่วไป จะเรียกว่า พ่อครู โดยลูกศิษย์จะนำไก่มาคนละตัว และพ่อครูเจิงจะขีดวงกลมตรงกลางข่วง(ลาน) แล้วเชือดคอไก่ เป็นการเสี่ยงทาย หากไก่ของใครตายอยู่ในวงกลมที่ขีดไว้นั้น จะได้เป็นผู้สืบทอดศิลปะการฟ้อนเจิง แต่หากไก่ของใครดิ้นไปตายนอกวงกลม พ่อครูเจิงก็จะไม่อนุญาตให้เรียน หรือฝึกฝน โดยเชื่อกันว่า ครูไม่ให้สืบทอด

กระบวนการฝึกฟ้อนเจิง จะเริ่มจากการหัดย่างสามขุมก่อน โดยใช้ไม้ปักไว้เป็นจุด ๆ ตำแหน่งที่ไม้ปักไว้นี้ คือ ส่วนที่เท้าจะต้องเหยียบลงอย่างไม่พลาด เป็นการฝึกประสาทสัมผัส การทรงตัว และความคล่องแคล่ว หลังจากการฝึกหัดย่างสามขุมแล้ว ก็จะต่อด้วยท่วงท่าต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งการใช้มือเปล่า และฝึกการใช้อาวุธ เช่น ดาบ ไม้ค้อน กระบอง หอก ง้าว เมื่อฝึกจนครบกระบวนท่าอย่างชำนาญแล้ว

ในช่วงสุดท้าย พ่อครูจะสอนไม้ตาย ที่เรียกว่า “ แม่ป็อด” คือ ท่าพิเศษที่นอกเหนือจากบทเรียนหลัก ในการประดิษฐ์ท่วงท่าต่าง ๆ

ในการฟ้อนเจิง ฟ้อนดาบ มีมากมาย หลายเจิง หลายสายด้วยกัน เช่น เจิงฮ่อ เจิงเงี้ยว เจิงยางแดง ท่าฟ้อนเจิง ฟ้อนดาบที่นิยมกันในท้องถิ่น พื้นบ้านของเรา มี ๑๓ ท่า คือ๑. หมอกมุงเมือง ๒. เกี้ยวกล้า ๓.บินตื้อเคียน ๔. เสือลากหาง ๕. ช้างงาตอง ๖. ปลาเลียบหาด ๗. สนต้น ๘. สนปลาย ๙. แม่สีไคล ๑๐. แม่จีวัน ๑๑. ฟันลายสอง ๑๒. ฟันลายสาม ๑๓.กาตากปีก

บรรดาผู้ฝึกฟ้อนเจิง ฟ้อนดาบ ส่วนใหญ่จะมีความเชื่อในเริ่องของคาถา อาคม ตลอดจนข้อห้ามบางประการ ที่หากทำแล้วจะเกิดการเสื่อมได้ เช่น การดื่มสุราร่วมแก้วกับผู้อื่น เป็นต้น

นอกจากนี้ยังต้องเป็นผู้ที่ประพฤติอยู่ในศีล ในธรรม ไม่อวดตน หรือ คิดทำลาย ข่มเหงรังแกผู้อื่น นับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศิลปะการแสดง ที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ สืบสานไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาต่อไป

ประโยชน์ที่ได้รับจาการฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง การตบมะผาบ
๑. เป็นศิลปะการป้องกันตัวของลูกผู้ชาย
๒.เป็นศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
๓. เป็นการอนุรักษ์ สืบทอดศิลปะการป้องกันตัวให้แก่คนรุ่นต่อไป
๔. เป็นการอนุรักษ์ มรดกทางวัฒนธรรม ของท้องถิ่นให้คงอยู่ตลอดไป

แนวปฏิบัติในการอนุรักษ์สืบสานดนตรี - ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น
๑. จัดกิจกรรมการแสดงดนตรี-ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น ในเทศกาลต่าง ๆ โดยต่อเนื่อง โดยเน้นการเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชน และเยาวชน ในท้องถิ่น
๒. ส่งเสริมให้มีการศึกษา ค้นคว้าเรื่องราวของดนตรี-ศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้าน และจัดประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับดนตรี - ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น ตามแหล่งการรู้ชุมชนในท้องถิ่น
๓. ส่งเสริมให้สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดนตรี - ศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านของท้องถิ่น เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เกิดการเรียนรู้และอนุรักษ์ สืบสานดนตรี - ศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านของท้องถิ่น ต่อไป

Location
Moo ๘ บ้านนาหวาย
Tambon บ่อแก้ว Amphoe Na Muen Province Nan
Details of access
ศึกษา วิเคราะห์ ค้นคว้า สอบถาม
Reference บรรเจิด ติ๊บตุ้ย Email bunjerd-16@hotmail.com
Organization สนง.วัฒนธรรม อ.นาหมื่น
Moo ๑ บ้านหลักหมื่น (ที่ว่าการอำเภอนาหมื่น)
Tambon นาทะนุง Amphoe Na Muen Province Nan ZIP code 55180
Tel. ๐๘๗-๑๘๘๗๔๓๗
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่