ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 10' 12.3395"
14.1700943
Longitude : E 101° 15' 47.6446"
101.2632346
No. : 181852
เบ็ดตกปลาสมัยก่อน
Proposed by. นครนายก Date 1 March 2013
Approved by. นครนายก Date 1 March 2013
Province : Nakhon Nayok
0 1868
Description

เบ็ดสำหรับปักหาปลาในหน้าน้ำหลาก เป็นเครื่องมือที่จะทำขึ้นมาให้เหมาะสมกับการหาปลาในหน้าน้ำหลาก ลักษณะของเบ็ดกับชนิดของไม้ไผ่จะขึ้นอยู่กับความถนัดในการหาปลาและความรู้จักนิสัยใจคอของปลา ที่สำคัญก็คือ
๑.เบ็ดสำหรับปักปลาดุกปลาหมอ และปลาที่หากินหน้าดิน ตัวไม่ใหญ่ คันเบ็ดจะทำที่อๆ ไม่ต้องพิถีพิถัน แต่เน้นการทำสายเบ็ดให้ยาว เมื่อปักก็จะปักเรี่ยน้ำเพื่อให้สายเบ็ดหยั่งไปถึงพื้น เบ็ดแบบนี้และการปักดินในลักษณะนี้ หากมีปลาตัวใหญ่มากินก็มักจะหลุดหรือถอนคันเบ็ดติดไปด้วยทั้งคัน เพราะแนวการปักเบ็ดทำมุมเกือบขนานไปกับผิวน้ำ ทำให้ทานแรงดึงของปลาตัวใหญ่ไม่ได้ เบ็ดแบบนี้มักทำเหยื่อด้วยไส้เดือน
๒.เบ็ดสำหรับปักปลาช่อนปลากด และปลาที่กินปลาเล็กขนาดปานกลาง คันเบ็ดจะทำให้ยาวและปลายอ่อนยืดหยุ่นสูง เมื่อปักดินก็จะปักให้เอียงปลายชี้ขึ้นทำมุมกับผิวน้ำประมาณ ๖๐ องศาเหมือนในภาพ การปักแบบนี้จะทำให้ปลาตัวใหญ่ดึงคันเบ็ดในทางตรงไม่หลุดจากพื้นดิน อีกทั้งปลายคันเบ็ดจะเรียวและอ่อนไปตามการดึงของปลา ไม่หักและไม่หลุดโดยง่าย เบ็ดแบบนี้จะทำเหยื่อด้วยเขียด
๓.เบ็ดสำหรับปักปลาขนาดใหญ่ปลาชะโด ปลาค้าว คันเบ็ดจะทำให้ยาวและมีความอ่อนตัวสูง ตัวเบ็ดขนาดใหญ่มากกว่าเบ็ดแบบอื่น ใช้เขียดตัวโตหรือปลาตัวเล็กๆจำพวกลูกปลาหมอ ปลากระดี่ และลูกปลาดุก ปลาที่จะกินเบ็ดแบบนี้จะเป็นปลาขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับปักตามไดและในแหล่งน้ำลึกปลายฤดูน้ำหลาก ซึ่งปลาจะตัวโต หากปักด้วยเบ็ดแบบอื่นปลาจะดังเบ็ดขาดหรือหลุดหมด

ดูจากคันเบ็ดและลักษณะการลงเบ็ด หากเห็นคันเบ็ดแข็งแรงและสายตัวเบ็ดยาวนั้น หากไม่เคยได้ดำเนินชีวิตตามท้องนาเราก็คงเข้าใจว่าเป็นเบ็ดสำหรับหาปลาตัวใหญ่ และเบ็ดไม้ไผ่ปลายเรียวเล็ก อ่อน เป็นเบ็ดสำหรับลงเบ็ดปลาตัวเล็กๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วจะเป็นตรงข้าม คันเบ็ดแข็งๆทื่อๆและสายยาวนั้นเป็นเบ็ดที่เหมาะกับปลาตัวเล็กและปลาว่ายหากินหน้าดินในน้ำลึกๆ ซึ่งจะต้องปักดินให้แน่น ส่วนเบ็ดที่สายสั้นกว่าและปลายเรียวอ่อนนั้นเป็นเบ็ดสำหรับเลือกแต่ปลาตัวใหญ่ เพราะจะลู่ไปตามแรงดึงอันแข็งแรงมากของปลาตัวใหญ่กระทั่งหมดแรง ทำให้เบ็ดไม่หัก ปากปลาไม่ฉีกและหลุด

เบ็ดสำหรับปักหาปลาในหน้าน้ำหลาก เป็นเครื่องมือที่จะทำขึ้นมาให้เหมาะสมกับการหาปลาในหน้าน้ำหลาก ลักษณะของเบ็ดกับชนิดของไม้ไผ่จะขึ้นอยู่กับความถนัดในการหาปลาและความรู้จักนิสัยใจคอของปลา ที่สำคัญก็คือ
๑.เบ็ดสำหรับปักปลาดุกปลาหมอ และปลาที่หากินหน้าดิน ตัวไม่ใหญ่ คันเบ็ดจะทำที่อๆ ไม่ต้องพิถีพิถัน แต่เน้นการทำสายเบ็ดให้ยาว เมื่อปักก็จะปักเรี่ยน้ำเพื่อให้สายเบ็ดหยั่งไปถึงพื้น เบ็ดแบบนี้และการปักดินในลักษณะนี้ หากมีปลาตัวใหญ่มากินก็มักจะหลุดหรือถอนคันเบ็ดติดไปด้วยทั้งคัน เพราะแนวการปักเบ็ดทำมุมเกือบขนานไปกับผิวน้ำ ทำให้ทานแรงดึงของปลาตัวใหญ่ไม่ได้ เบ็ดแบบนี้มักทำเหยื่อด้วยไส้เดือน
๒.เบ็ดสำหรับปักปลาช่อนปลากด และปลาที่กินปลาเล็กขนาดปานกลาง คันเบ็ดจะทำให้ยาวและปลายอ่อนยืดหยุ่นสูง เมื่อปักดินก็จะปักให้เอียงปลายชี้ขึ้นทำมุมกับผิวน้ำประมาณ ๖๐ องศาเหมือนในภาพ การปักแบบนี้จะทำให้ปลาตัวใหญ่ดึงคันเบ็ดในทางตรงไม่หลุดจากพื้นดิน อีกทั้งปลายคันเบ็ดจะเรียวและอ่อนไปตามการดึงของปลา ไม่หักและไม่หลุดโดยง่าย เบ็ดแบบนี้จะทำเหยื่อด้วยเขียด
๓.เบ็ดสำหรับปักปลาขนาดใหญ่ปลาชะโด ปลาค้าว คันเบ็ดจะทำให้ยาวและมีความอ่อนตัวสูง ตัวเบ็ดขนาดใหญ่มากกว่าเบ็ดแบบอื่น ใช้เขียดตัวโตหรือปลาตัวเล็กๆจำพวกลูกปลาหมอ ปลากระดี่ และลูกปลาดุก ปลาที่จะกินเบ็ดแบบนี้จะเป็นปลาขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับปักตามไดและในแหล่งน้ำลึกปลายฤดูน้ำหลาก ซึ่งปลาจะตัวโต หากปักด้วยเบ็ดแบบอื่นปลาจะดังเบ็ดขาดหรือหลุดหมด

ดูจากคันเบ็ดและลักษณะการลงเบ็ด หากเห็นคันเบ็ดแข็งแรงและสายตัวเบ็ดยาวนั้น หากไม่เคยได้ดำเนินชีวิตตามท้องนาเราก็คงเข้าใจว่าเป็นเบ็ดสำหรับหาปลาตัวใหญ่ และเบ็ดไม้ไผ่ปลายเรียวเล็ก อ่อน เป็นเบ็ดสำหรับลงเบ็ดปลาตัวเล็กๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วจะเป็นตรงข้าม คันเบ็ดแข็งๆทื่อๆและสายยาวนั้นเป็นเบ็ดที่เหมาะกับปลาตัวเล็กและปลาว่ายหากินหน้าดินในน้ำลึกๆ ซึ่งจะต้องปักดินให้แน่น ส่วนเบ็ดที่สายสั้นกว่าและปลายเรียวอ่อนนั้นเป็นเบ็ดสำหรับเลือกแต่ปลาตัวใหญ่ เพราะจะลู่ไปตามแรงดึงอันแข็งแรงมากของปลาตัวใหญ่กระทั่งหมดแรง ทำให้เบ็ดไม่หัก ปากปลาไม่ฉีกและหลุด

Location
บ้านฝั่งคลอง
Tambon เกาะหวาย Amphoe Pak Phli Province Nakhon Nayok
Details of access
บ้านฝั่งคลอง
Reference พงศกร บุษรารัตน์ Email pongsakorn.bud@m-culture.go.th
Organization สนง.วัฒนธรรมจังหวัดนครนายก
No. ศาลากลางจั
Tambon ท่าช้าง Amphoe Mueang Nakhon Nayok Province Nakhon Nayok ZIP code 26000
Tel. 037-315050
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่