ฟ้อนเล็บ
ฟ้อนเล็บ เป็นการฟ้อนที่เป็นเอกลักษณ์ของ “คนเมือง” ซึ่งหมายถึงคนในถิ่นล้านนาที่มีเชื้อสายไทยญวน และเนื่องจากการเป็นการแสดงที่มักปรากฏ ในขบวนแห่ครัวทานของวัดจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ฟ้อนแห่ครัวทาน”ต่อมามีการสวมเล็บที่ทำด้วยทองเหลืองทั้ง ๘ นิ้ว (ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ) จึงได้ชื่อว่า
“ฟ้อนเล็บ”
ท่าฟ้อน
การฟ้อนชนิดนี้มีมาแต่ ดั้งเดิม คณะศรัทธาของแต่ละวัดมักมีครูฝึกสืบทอดต่อกันมา เมื่อถึงฤดูกาลที่จะมีงานปอยหลวง ซึ่งเป็นงานฉลองศาสนสถาน มักมีการฝึกซ้อม เด็กสาวในหมู่บ้านเพื่อแสดงในงานดังกล่าวเสมอ โดยที่รูปแบบกระบวนและลีลาท่าฟ้อนไม่ได้กำหนดตายตัว แต่ละครูหรือแต่ละวัดอาจแตกต่างกันไป ในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ได้มีการปรับปรุงและประดิษฐ์ท่าฟ้อนให้ดูอ่อนช้อยงดงามยิ่งขึ้น และบุคคล ผู้หนึ่งซึ่งเคยได้รับการถ่ายทอดจากคุ้มเจ้าหลวงได้แก่ ครูสัมพันธ์ โชตนา
ในโอกาสที่ครูสัมพันธ์ได้เข้าไปถ่ายทอดศิลปะการฟ้อนชนิดนี้แก่วิทยาลัย นาฏศิลปเชียงใหม่ ท่านได้กำหนดท่าฟ้อนไว้ 17 ท่าดังนี้
1. จีบส่งหลัง
2. กลางอัมพร
3. บิดบัวบาน
4. จีบสูงส่งหลัง
5. บัวชูฝัก
6. สะบัดจีบ
7. กราย
8. ผาลาเพียงไหล่
9. สอดสร้อย
10. ยอดตอง
11. กินนรีรำ
12. พรหมสี่หน้า
13. กระต่ายต้องแร้ว
14. หย่อนมือ
15. จีบคู่งอแขน
16. ตากปีก
17. วันทาบัวบาน
โรงเรียนจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดเป็นกิจกรรมการเรียนแขนงหนึ่ง โดยจัดตั้งชมรมนาฏศิลป์ เพื่อต้องการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นและเผยแพร่วัฒนธรรมอันดีงามนี้ ให้สืบทอดต่อไป