ประวัติความเป็นมา
พระพุทธรูปเชียงแสนถือกำเนิดขึ้น ที่เมืองเชียงแสนทางภาคเหนือของไทย ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงรายราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๒๑ ลักษณะงดงามน่าเกรงขามมากดุจพญาสิงหราช จึงได้นามว่า สิงห์หนึ่ง , สิงห์สอง , สิงห์สามรุ่นแรกเป็นศิลปะของเชียงแสน มีลักษณะที่สำคัญ คือพระวรกายอวบอ้วน พระพักตร์สั้นกลม พระโอษฐ์เล็กพระหนุเป็นปม พระอุระนูน พระรัศมีรูปบัวตูมหรือ เป็นต่อมกลม ชายจีวรสั้น และ บางแนบเนื้อพระพุทธรูปเชียงแสน รุ่นแรกมักเรียกว่า สิงห์หนึ่ง รุ่นกลางเรียกสิงห์สอง รุ่นหลังเรียก สิงห์สาม พระพุทธรูปเชียงแสน ไม่ได้มีจำกัดอยู่เฉพาะที่เมืองเชียงแสนเท่านั้น แต่ได้ขยายขอบข่ายออกไปถึงเมืองเชียงใหม่ ลำพูน แพร่ น่าน และเลยเข้าไปยังเมืองหลวงพระบาง และ นครเวียงจันทน์ ด้วยพระเจ้าไชยเชษฐา แห่งเมืองเวียงจันทน์ ได้เข้ามามีอำนาจอยู่ในนครเชียงใหม่ช่วงระยะหนึ่ง และ กวาดต้อนชาวเชียงใหม่ที่มีฝีมือในการสร้างพระพุทธรูปไปสร้างพระพุทธรูปในเขตเมืองหลวง พระบาง และ เมืองเวียงจันทน์ จึงได้เกิดเป็นพุทธรูปศิลปะอีกแบบหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า " พระเชียงแสนลาว " หรือ "พระพุทธรูปแบบเชียงแสนนอกเมือง " มีอายุเทียบได้ ราวพุทธศตวรรษ ที่ ๒๐ ประมาณอายุใกล้เคียงกับ " พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนสิงห์ ๓ "หรือ สมัยอยุธยา ยังมีการค้นพบในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยทั่วไปซึ่งเป็นต้นแบบฝีมือสกุลช่างปั้นพระพุทธรูปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในสมัย ต่อมาพระพุทธรูปเชียงแสนยังได้รับอิทธิพลและแบบอย่างจากพุทธศิลปะประเทศลังกา ซึ่งเผยแผ่เข้ามาทางภาคใต้ของประเทศไทย เกิดเป็นพุทธศิลปะอีกแบบหนึ่งเรียกว่า " พระพุทธรูปเชียงแสนลังกาวงศ์ "
สำหรับหลวงพ่อเชียงแสน ( สิงห์ ๑ ) ของ วัดใหม่ไชยสถาน นั้นได้มาจาก ครับครัวคุณโยมปรีชา รอดรักษา จาก กรุงเทพฯ นำมาถวายให้ไว้ เพื่อเป็นที่กราบไหว้สักการบูชาของญาติโยมสาธุชนทั้งหลาย ซึ่งมีอายุเก่าแก่พอสมควร
ลักษณะ
คือพระวรกายอวบอ้วน พระพักตร์สั้นกลม พระโอษฐ์เล็ก พระหนุเป็นปม พระอุระนูน พระรัศมีรูปบัวตูม หรือ เป็นต่อมกลม ชายจีวรสั้น และ บางแนบเนื้อ
การเก็บรักษา
เก็บรักษาไว้ในตู้กระจกกุฏิวัดใหม่ไชยสถาน
สถาปัตยกรรม
ศิลปะเชียง หรือ พระพุทธรูปเชียงแสนลังกาวงศ์
ผู้ดูแล
พระครูวิทิตนันทสาร เจ้าคณะอำเภอนาน้อย