ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 17° 5' 20.5573"
17.0890437
Longitude : E 103° 49' 20.3588"
103.8223219
No. : 185860
ฮีต - คองผี พิธีกรรมกะเลิง (OTOP CULTURE)
Proposed by. Anuchit_1 Date 27 March 2013
Approved by. สกลนคร Date 18 Febuary 2014
Province : Sakon Nakhon
0 1076
Description

ฮีต- คอง เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวกะเลิงซึ่งปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกับชาวอีสานทั่วไป ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแสดงถึงความเป็นชาติพันธ์เก่าแก่ และเจริญรุ่งเรืองมานาน เป็นเอกลักษณ์ของชาติและท้องถิ่น และมีส่วนให้ชาติดำรงความเป็นชาติของตนอยู่ตลอดไป

ฮีต หรือ ฮีตสิบสอง มาจากคำว่า “จารีต” ซึ่งหมายถึงความประพฤติ ธรรมเนียมประเพณี ความประพฤติดี ดังนั้นถ้าเรียกให้เต็มคือ ฮีตสิบสอง หมายถึงประเพณีที่ชาวกะเลิงปฏิบัติกันมาในโอกาสต่างๆ ทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี

คลอง (ครรลอง)คือแบบแผนหรือแนวทางดำเนินชีวิต ที่มุ่งไปทางศีลธรรมประเพณีที่ถูกผิด จะตรงกับภาคกลางว่า ทำนองคลองธรรม แต่ชาวกะเลิงออกเสียง คลอง เป็น คองไม่มีกล้ำ เช่นว่าถ้าทำไม่ถูกผู้ใหญ่ท่านจะเตือนว่า “เฮ็ดบ่ถืก” หรือว่า “เฮ็ดให้ถือฮีตถือคอง”

ผี ในความหมายของชนเผ่ากะเลิง หมายถึง คนที่ตายไปแล้วมีและอำนาจเหนือมนุษย์ อาจให้คุณหรือให้โทษได้ มีทั้งดีและร้าย โดยไม่มีเงื่อนไขว่าจะต้องทำดีหรือทำชั่วอย่างไร แม้บุคคลผู้กระทำความดีก็อาจเจ็บป่วยได้ สิ่งนั้นอาจเป็นผลกรรมแต่ชาติปางก่อน แต่ก็สามารถปัดเป่าบรรเทาลงได้โดยการทำพิธีกรรมให้ถูกต้อง

พิธีกรรม มาจากคำสองคำ คือพิธี และกรรม พิธีหมายถึง งานที่จัดขึ้นตามลัทธิ หรือความเชื่อถือตามขนบธรรมเนียมประเพณีเพื่อความขลังหรือความเป็นสิริมงคล กรรม หมายถึง การกระทำ การงาน หรือกิจ

พิธีกรรม หมายถึง พิธีการบูชา หรือแบบอย่างแบบแผนต่างๆที่ปฏิบัติในการประกอบพิธีต่างๆทั้งทางพุทธศาสนา และพิธีบูชาผี หรือพราหมณ์

กะเลิง หมายถึง ชนกลุ่มชาติพันธ์ทางภาษา และวัฒนธรรมกลุ่มหนึ่งในหกชาติพันธุ์ของจังหวัดสกลนคร

พิธีกรรมเผ่ากะเลิง จึงหมายถึง พิธีกรรม หรืองานที่จัดขึ้นตามความเชื่อถือตามขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มชนเผ่ากะเลิง ที่สืบทอดเจตนาราณ์ของบรรพบุรุษ ยึดมั่นเป็นแนวปฏิบัติ ซึ่งเป็นพลังสำคัญที่ช่วยให้โครงสร้างของชุมชนดำรงอยู่ได้

ระบบความเชื่อในเรื่องพิธีกรรมของชนเผ่ากะเลิง เป็นพลังสำคัญที่ช่วยให้ โครงสร้างสังคมชุมชนสามารถดำรงอยู่ได้ องค์ประกอบสำคัญอีกประการหนึ่งคือชาวกะเลิง มีความเชื่อคล้ายๆกับสังคมชาวอีสานทั่วๆไปกล่าวคือ การนับถือศาสนาและปฏิบัติตามฮีตคอง เป็นการดำเนินชีวิต ขณะเดียวกันก็นับถือผีอย่างเคร่งครัด ชาวกะเลิงนับถือศาสนาพุทธ แต่ก็มีความแตกต่างออกไปตามพื้นฐานการบวชเรียนเป็นสำคัญ ส่วนผู้ที่ไม่ได้บวชเรียนก็นับถือพุทธศาสนา ในอีกลักษณะหนึ่งคือ มุ่งทำบุญตามประเพณีที่ปรากฏในฮีตสิบสอง และให้ความสนใจในเรื่องราวที่ปรากฏในทศชาติ หรือเวสสันดรชาดก มากกว่าการนำหลักธรรมคำสั่งสอนไปประพฤติปฏิบัติ กลับยึดถือแนวปฏิบัติตามฮีตคอง ประเพณีที่ยึดถือต่อๆกันมา ด้วยเหตุนี้พระสงฆ์ในหมู่บ้านชาวกะเลิง จึงมีหน้าที่ดำเนินพิธีกรรมในงาน ฮีตสิบสอง เป็นสำคัญ

ฮีตสิบสอง มีดังนี้

ฮีตที่ 1 บุญเข้ากรรม หรือบุญเดือนอ้าย

ฮีตที่ 2 บุญกองข้าว เดือนยี่

ฮีตที่ 3 บุญข้าวจี่ เดือนสาม

ฮีตที่ 4 บุญพระเวสสันดร เดือนสี่

ฮีตที่ 5 บุญสรงน้ำพระ และขอพรพระ เดือนห้า

ฮีตที่ 6 บุญบั้งไฟ เดือนหก

ฮีตที่ 7 บุญชำระบ้าน เดือนเจ็ด

ฮีตที่ 8 บุญเข้าพรรษา เดือนแปด

ฮีตที่ 9 บุญข้าวประดับดิน เดือนเก้า

ฮีตที่ 10 บุญข้าวสาก เดือนสิบ

ฮีตที่ 11 บุญออกพรรษา เดือนสิบเอ็ด

ฮีตที่ 12 บุญกฐินเดือน สิบสอง

ชาวกะเลิงนิยมไปทำบุญในงานบุญพระเวสสันดร หรือบุญเทศน์มหาชาติ ในเดือนสี่ “บุญเหย่ย” เรียกตามภาษากะเลิง หรือเรียกว่า บุญใหญ่ มีชาวบ้านใกล้เคียงมาฟังเทศน์เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจะ “ปลูกตูบ” (กระท่อมเล็กๆ) เป็นที่อาศัยชั่วคราวในเขตวัด สร้างความสนุกสนานครึกครื้นให้แก่ชาวกะเลิง บรรดาชายหนุ่มก็มีโอกาสพูดคุยเกี้ยวพาราสีกับสาวบ้านอื่น บ้างก็เป่าแคนเดิน “เลาะ” ตูบ (เดินรอบๆตูบ) เป็นที่ครึกครื้นในยามค่ำคืน ส่วนผู้เฒ่าผู้แก่ก็สนใจฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดร บางคนสงสารนางมัทรี สงสารกัณหาชาลี ที่ถูกเฒ่าชูชกเฆี่ยนตีจนน้ำตาไหล เพราะชาวบ้านซาบซึ้งเรื่องราวของชาดก ตลอดจนทศชาติ และจะนำเรื่องดังกล่าวมาเป็นความผูกพันต่อวัดวาอาราม ตลอดจนพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุตรหลานในหมู่บ้าน ทุกคนยินดีช่วยเหลืองานบุญในหมู่บ้าน โดยไม่แยกแยะว่างานนั้นๆจะเป็นงานพิธีกรรมเกี่ยวกับผี พราหมณ์ หรือพุทธ ทั้งนี้เพราะงานบุญไม่มีความขัดแย้งกัน ทั้งคำสอนและพิธีกรรม ยิ่งไปกว่านั้นบุคคลที่เป็นพราหมณ์ ยังเคยบวชเรียนมาก่อนจนสามารถจดจำบทสวดมนต์ในคัมภีร์พุทธศาสนาได้ ส่วน”เจ้าจ้ำ”ก็เป็นผู้มีศีลธรรมสูง เป็นที่ยอมรับของคนในหมู่บ้านชาวกะเลิง และที่สำคัญไม่ว่าบุคคลนั้นจะยากดีมีจนอย่างไรก็ตาม แต่ทุกคนก็จะมารวมกันที่วัด ในงานบุญสำคัญๆทั้งสิ้น ส่วนพราหมณ์นั้นก็คือผู้ที่ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมของชาวบ้าน ในการสู่ขวัญนาค สู่ขวัญบ่าวสาว เป็นต้น

Location
อำเภอกุดบาก
Tambon กุดบาก Amphoe Kut Bak Province Sakon Nakhon
Details of access
Reference นายอนุชิต ชนะวัฒน์ปัญญา Email Achit_12@hotmail.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร
Road สกล - กาฬสินธ์
Tambon ธาตุเชิงชุม Amphoe Mueang Sakon Nakhon Province Sakon Nakhon ZIP code 47000
Tel. 042716247 Fax. 042716214
Website http://province.m-culture.go.th/sakonnakhon/
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
สกลนคร 29 March 2013 at 08:09
ดีมาก จาก ผอ.ยุทธฯ
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่