ชงโคหรือผักส้มเสี้ยวลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อมสูงประมาณ ๕-๑o เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจ ปลายใบเว้าลึกมาก ปลายใบทั้งสองด้านกลมมน มองดูคล้ายใบแฝดติดกัน (คล้ายใบกาหลง แต่เว้าลงลึกกว่า) ใบทั้งสองด้านมักพันเข้าหากันเหมือนปีกผีเสื้อ ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นใบแฝด (เหมือนกาหลง) เพราะปกติใบไม้ทั่วไปจะมีปลายใบแหลม หรือกลมมน ลักษณะของชงโคเป็นพุ่มค่อนข้างกว้างและใบดกทึบ เป็นต้นไม้ผลัดใบในฤดูหนาว
ต้น :ไม้สูงถึง 10 เมตรใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับรูปมนเกือบกลมแยกเป็น 2 พู ปลายมนกว้าง 8 - 16 เซนติเมตร ยาว 10 - 14 เซนติเมตร --ขอบใบเรียบ ดอกช่อดอกออกข้างๆหรือปลายกิ่ง6-14 ดอก กลีบดอก 5 กลีบสีชมพูถึงม่วงเข้มรูปรีกว้างตรงส่วนกลางเมื่อบานวัดเส้นผ่านศูนย์กลาง6-8 ซม.เกสรตัวผู้ 3 อันรังไข่มีขนยาวผลฝักยาว 20 - 25 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดเมล็ดกลม มี 10 เมล็ด ในหนึ่งผล
ประโยชน์ทางสมุนไพร
ใบ ต้มกินรักษาอาการไอดอก เป็นยาระบายขับพิษไข้ ราก ต้มกินเป็นยาระบาย ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับได้ดี ดอก และ แก่น มีสรรพคุณแก้โรคบิด ใบ มีสรรพคุณขับปัสสาวะ ใบอ่อน ของผักเสี้ยวเป็นผักที่ชาวเหนือนิยมรับประทานนำไปลวกจิ้มน้ำพริกหรือนำไปแกง เช่นแกงกับปลา แกงกับเนื้อนิยมแกงกับผักเชียงดา ผักชะอม มีรสอร่อย
สรรพคุณตามตำราแพทย์แผนไทย ดังนี้ เปลือกต้น : แก้ท้องเสีย แก้บิด ดอก : แก้พิษไข้ร้อนจากเลือดและน้ำดี เป็นยาระบาย ใบ : ฟอกฝี แผล ราก : ขับลม