การเลี้ยงผี เสียผี
การเลี้ยงผีหรือการเลี้ยงตามประเพณีจะเลี้ยงปีละครั้งของเลี้ยงหรือของบวง สรวง จะเป็นอะไรนั้นแล้วแต่ผีจะกินอะไร บางผีก็กินหมู บางผีก็กินเป็ดกินไก่ บางผีก็กินวัวกินควาย ส่วนสุรานั้น ตั้งแต่ 1-5 ขวด เวลาบนบานโดยมากมักจะเป็นหมู วัว ควาย ถ้าเลี้ยงตามปกติประเพณีก็เลี้ยงไก่ หัวหมู กับสุราเท่านั้น
เวลาจะเลี้ยงผีราวเดือนธันวาคมถึงเดือนมิถุนายนของอีกปีแล้วแต่จะกำหนดกันเอาการเลี้ยงผี
ตามประเพณีนั้นก่อนจะเลี้ยงหรือถึงกำหนดเลี้ยง บางผีก็กำหนดไว้เลยว่า ขึ้นหรือแรมกี่ค่ำ กำหนดตายตัวไปเลยเพื่อคนร่วมเครือญาติที่อยู่ห่างไกลจะได้เดินทางมาด้วย เป็นการชุมนุมพวกพ้องญาติให้เกิดความสามัคคีกันในหมู่เครือญาติ
ส่วนการเสียผีนั้นไม่มีการกำหนด ผิดผีเมื่อไรเสียเมื่อนั้น การเสียผีโดยมากนั้นจะเป็นหมูทั้งตัวหรือเฉพาะหัวหมู การเลี้ยงแก้บนก็ทำแบบเดียวกัน เช่นสมมุว่าลูกหลานจะไปเป็นทหารต่อสู้กับข้าศึกก็จะบนหมูเอาไว้หนึ่งตัว เหล้าห้าขวด เมื่อคลาดแคล้วกลับมาบ้านไม่เจ็บป่วยหรือตาย ก็จะเลี้ยงแก้บน
พิธีการเลี้ยงผีปู่ ย่า นี้จะทำกันโดยเฉพาะวงศ์ญาติที่ใกล้เคียงเท่านั้น ที่อยู่ห่างออกไปต่างบ้านก็ไม่มีโอกาสมาร่วมด้วยด้วยสาเหตุนี้เองที่ทำให้คน บางคนทอดทิ้งไปเลย แต่ถ้าหากเป็นเทศกาลตรุษสงกรานต์บางคนก็ยังไม่ทอดทิ้งอาจมาร่วมด้วย ที่ใช้คำว่าอาจจะก็เนื่องจากบางคนอยู่ไกลเกินไปไม่สามารถจะมา ร่วมได้การเลี้ยงผีในวันสงกรานต์
หรือปีใหม่แบบพื้นเมืองนี้เขาถือว่าเป็ฯ “การดำหัวผีปู่ย่า ด้วยผู้ที่มาไหว้จะนำเอาเครื่องเซ่นสังเวย เช่น มะพร้าว กล้วย อ้อยมารวมกันและช่วยกันออกเงินค่าหัวหมูอีกด้วย พร้อมกันนั้นจะมีการดำหัวญาติผู้ใหญ่ไปด้วย
การนับถือผีปู่ ย่า ดังกล่าวนี้ปัจจุบันมิได้หมายถึงว่าจะนับถือกันทุกคน หรือทุกครอบครัวผู้ที่นับถือศาสนาพุทธอย่างแท้จริงโดยไม่มีการถือผี เขาก็จะไม่นับถือ ตามบ้านนอกก็เช่นเดียวกันแต่ก็ยังมีการถือผีเป็นส่วนใหญ่และ ส่วนมากจะเป็นการนับถือ
ศาสนาพุทธปนกันกับไสยศาสตร์เพราะพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ มักจะมี ศาสนาพุทธเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ยากที่จะเข้าไปแยกได้