ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 15° 58' 18.2485"
15.9717357
Longitude : E 102° 37' 17.836"
102.6216211
No. : 192563
ผ้าไหมลาย “แคนแก่นคูน” ลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น
Proposed by. ขอนแก่น Date 26 March 2020
Approved by. ขอนแก่น Date 1 April 2020
Province : Khon Kaen
0 1025
Description

ประวัติความเป็นมา

ผ้ามัดหมี่ เป็นการทอผ้าอย่างหนึ่งที่มีการสร้างลวดลายก่อนที่จะทำการย้อมสี การทำลายผ้ามัดหมี่เป็นการเอาเชือกมามัดด้ายหรือมัดเส้นไหมตามลวดลายที่ได้ออกแบบไว้ การมัดและย้อมลายจะมีการทำทั้งเส้นทางแนวยืน และแนวนอนหรือที่เรียกว่าแนวพุ่ง มีการสันนิษฐานว่าการมัดลายในแนวยืนน่าจะมีมาก่อนในแนวพุ่ง และจากการสืบค้นมีข้อสันนิษฐานว่าน่าจะได้รับแบบอย่างมาจากประเทศอินเดีย โดยในสมัยโบราณที่มีการค้าขายกันและติดมากับสินค้าอื่น

“ชนบท” เป็นพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่นที่มีประวัติศาสตร์ เรื่องราวการทอผ้าไหมมายาวนาน มีการตั้งเป็นเมืองมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๒๖ โดยกวนเมืองแสน สมุหกลาโหมแห่งเมืองสุวรรณภูมิ พาสมัครพรรคพวกอพยพหนีออกจากเมือง สุวรรณภูมิ แคว้นจำปาสัก ในประเทศลาว มาตั้งเมืองที่บ้านหนองกองแก้ว ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๓๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัชกาลที่ ๑ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านหนองกองแก้วขึ้นเป็นเมือง พระราชทานนามว่า “ชลบถพิบูลย์” ซึ่งแปลว่าทางน้ำหรือเมืองที่มีน้ำล้อมรอบ และตั้งท้าวคำพาวเป็นเจ้าเมือง ตำแหน่งพระจันตะประเทศ จากนั้นได้มีการจัดเขตการปกครองและเมืองชนบทได้ถูกยุบรวมหลายครั้ง จากอำเภอเป็นตำบล ขึ้นกับอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น จนถึงวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๙ ทางราชการจึงได้ตั้งเมืองชนบทขึ้นเป็นอำเภออีกครั้งหนึ่ง ในชื่อ “ชนบท” จนถึงปัจจุบัน

จากประวัติความเป็นมาพบหลักฐานสำคัญ คือ ผ้าไหมมัดหมี่หน้านาง หรือผ้าปูม อายุกว่า ๒๒๐ ปี ที่เจ้าเมืองชนบทคนแรกได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ โดยทายาทของเจ้าเมืองเป็นผู้เก็บรักษาไว้ ซึ่งต่อมาคนชนบทได้นำมาเป็นต้นแบบในการทอผ้าไหมมัดหมี่ หน้านาง ที่มีชื่อเสียงและเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของผ้าไหมชนบทในปัจจุบัน จึงสันนิษฐานได้ว่าการทอผ้าของชาวชนบทน่าจะเริ่มมาไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ปี หรืออาจจะมีมาตั้งแต่เริ่มตั้งเมืองชนบท คือ ประมาณ ๒๐๐ กว่าปี

ทั้งนี้ จังหวัดขอนแก่น โดยผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น (ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล) ได้ผลักดันให้เกิดประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของจังหวัดขอนแก่น สร้างสรรค์ลายผ้าประจำจังหวัด คือ “แคนแก่นคูน” (Kan-Kaen-Koon) ซึ่งกำลังทอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นสวมใส่ในงานเทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยวและ งานกาชาดจังหวัดขอนแก่น ประจำปี ๒๕๖๑ ซึ่งขณะนี้ จังหวัดขอนแก่นได้ระดมกันทุกพื้นที่ ในการส่งเสริมการทอผ้าลายประจำจังหวัดขอนแก่นให้แพร่หลายต่อไป

องค์ประกอบลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น ๗ ลาย ประกอบด้วย

๑) ลายแคน หมายถึง สัญลักษณ์แทนความเจริญและสนุกสนาน เมืองแห่งหมอแคน ความสุขของชาวขอนแก่น

๒) ดอกคูน หมายถึง สัญลักษณ์ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น

๓) พานบายศรี หมายถึง ความมีมิตรภาพ ประเพณีการผูกเสี่ยว และการยินดีต้อนรับ

ผู้มาเยือนของประชาชนชาวขอนแก่น

๔) ลายขอ หมายถึง เป็นสัญลักษณ์แทนความอยู่ดีกินดี ความอุดมสมบูรณ์ของประชาชนชาวขอนแก่น

๕) ลายโคม หมายถึง การสืบทอดภูมิปัญญาวัฒนธรรมของชาวขอนแก่น

๖) ลายกง หมายถึง อาณาเขต บริเวณที่ได้รับการอารักขาให้เกิดความมั่นคง ปลอดภัย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ตลอดไป

๗) บักจับหรือหมากจับ หมายถึง ความรัก ความสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

ของประชาชนชาวขอนแก่น

Category
Clothing
Location
Province Khon Kaen
Details of access
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่