ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 16° 24' 7.385"
16.4020514
Longitude : E 100° 18' 10.2146"
100.3028374
No. : 192592
การรำถวายพ่อปู่พระยาโคตรบองเทวราช
Proposed by. พิจิตร Date 29 March 2020
Approved by. พิจิตร Date 29 March 2020
Province : Phichit
1 489
Description

“การรำถวายพ่อปู่พระยาโคตรบองเทวราช”ในงานประเพณีสงกรานต์ สรงน้ำพ่อปู่ บูชาหลักเมืองและย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองเก่าพิจิตร ณ ศาลหลักเมืองพิจิตร ตำบลโรงช้าง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตรประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓

สาระสำคัญโดยรวม

“มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” หมายถึง การปฏิบัติ การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งเหล่านั้น ซึ่งชุมชน กลุ่มชน หรือในบางกรณีปัจเจกบุคคลยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของตน มรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมซึ่งถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง

ศิลปะการแสดง หมายถึง การแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึก และเรื่องราวต่าง ๆ โดยมีผู้แสดงเป็นสื่อ ผ่านทางเสียง ได้แก่ การขับร้อง หรือการเล่นดนตรี และทางร่างกาย เช่น การร่ายรำ การเชิด การเต้น
การแสดงท่าทาง ฯลฯ

ประเภท

ดนตรี หมายถึง เสียงที่ประกอบกันเป็นทำนองเพลง และ/หรือลีลา จังหวะ เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดัง ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก หรือ รื่นเริง เป็นต้น ดนตรีมีบทบาทหน้าที่ในการบรรเลงเพื่อการขับกล่อม ความบันเทิง ประกอบพิธีกรรม และประกอบการแสดง

การแสดง หมายถึง การแสดงออกทางร่างกาย ท่วงท่าการเครลื่อนไหว ท่าเต้น ท่ารำ การแสดงกิริยาของการเต้น การรำ การเชิด ฯลฯ ซึ่งแสดงถึงอารมณ์ความรู้สึก และการเล่าเรื่อง การแสดงอาจแสดงร่วมกับดนตรีและการขับร้องหรือไม่ก็ได้

ดนตรีและการแสดงในพิธีกรรม หมายถึง การผสมผสานระหว่างการแสดง การร้อง การร่ายรำ และดนตรีที่ใช้ประกอบอาชีพ เป็นต้น

เพลงร้องพื้นบ้าน หมายถึง บทเพลงที่เกิดจากคนในท้องถิ่นนั้นๆ ที่คิดรูปแบบการร้อง การเล่น เป็นบทเพลงที่มีท่วงทำนอง ภาษาที่เรียบง่าย มุ่งความสนุกสนานเพลิดเพลินในโอกาสต่างๆ หรือการร่วมแรงร่วมใจการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในการประกอบอาชีพ

ประวัติความเป็นมา

ประเพณีการสรงน้ำพ่อปู่ บูชาหลักเมือง ของจังหวัดพิจิตร ได้มีธรรมเนียมการปฏิบัติกันมายาวนานมีข้อสันนิฐานว่าการจัดประเพณีนี้ น่าจะมีตั้งแต่เริ่มสร้างหลักเมืองพิจิตร เพราะพิธีวางศิลาฤกษ์ ในขณะนั้นอยู่ระหว่างเทศกาลสงกรานต์ (วันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๑๑) โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด ข้าราชการ ร่วมกับ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านราษฎรในพื้นที่และหมู่บ้านใกล้เคียงร่วมเตรียมงานพิธีวางศิลาฤกษ์ในระหว่างเตรียมงานก็เล่นสงกรานต์กันไปด้วย ได้ทั้งงานและความรื่นเริง ความรักความสามัคคี พอดีกับหลวงปู่โง่น โสรโย ปั้นรูปพ่อปู่เป็นตัวแทนของเทพเจ้าประเภทวสุเทพคือเทวดาประจ้าดินแดนใต้ดินโดยอัญเชิญพระวิญญาณพระคุณของพระยาโคตรบอง ซึ่งเป็นพระชนกเจ้ากาญจนกุมาร ให้มาทรงสถิตประดิษฐาน เป็นพระวสุเทพ เสร็จเรียบร้อย และมีปรากฏการณ์ที่มหัศจรรย์เกิดขึ้นหลายอย่าง ประชาชนจึงมีความเชื่อในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ จึงพากันไปกราบไหว้บูชา สรงน้ำขอพร การมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างหลักเมืองครั้งนั้น คนจังหวัดพิจิตร
จึงมีความรู้สึกผูกพันกับศาลหลักเมืองและพ่อปู่สืบเนื่องมาตลอด เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์จะมีข้าราชการกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนมากราบไหว้หลักเมืองและสรงน้ำขอพรพ่อปู่เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยต่างคนต่างมาไม่มีพิธีการและไม่ได้นัดหมายกันดูเหมือนจะเป็นวิถีชีวิตของคนพิจิตร เพราะคนพิจิตรถือว่าพ่อปู่ คือ บรรพบุรุษที่สร้างเมืองพิจิตรในอดีต จากความเป็นมาดังกล่าว การจัดประเพณี “สงกรานต์ สรงน้ำพ่อปู่ บูชาหลักเมือง” จังหวัดพิจิตร จึงจัดอย่างเป็นทางการขึ้นเมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๘ โดยเริ่มแรกได้ให้อำเภอเมืองพิจิตรเป็นเจ้าภาพ ร่วมกับส่วนราชการ ส่วนท้องถิ่น และประชาชน โดยก่อนที่จะมีการสรงน้ำพ่อปู่จัดให้มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ถวายภัตตาหาร พิธีบวงสรวง พิธีสรงน้ำพ่อปู่ และกิจกรรมอื่น ๆ เช่น พิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุมีการเล่นการแสดง มีการประกวดธิดาพ่อปู่ เป็นต้น

ประเพณีจัดงาน “สงกรานต์ สรงน้ำพ่อปู่ บูชาหลักเมือง” จึงเป็นประเพณีสำคัญของท้องถิ่นและจังหวัดพิจิตร ที่จัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระยาโคตระบอง (พ่อปู่) ผู้สร้างเมืองพิจิตร เพื่อเป็นการบูชาสักการะหลักเมืองพิจิตร อันเป็นศูนย์รวมใจของประชาชน เพื่อเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัดพิจิตร และเพื่อส่งเสริมให้อุทยานเมืองเก่าพิจิตร เป็นสถานที่แหล่งเรียนรู้และสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพิจิตรตลอดไป โดยในแต่ละปีจะมีประชาชนเข้าร่วมงานไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ คน

เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระยาโคตรบอง (พ่อปู่) ผู้สร้างเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร จึงกำหนดการรำถวายพ่อปู่พระยาโคตรบองเทวราช ขึ้นเป็นปีแรก โดยได้รับความเมตตาจาก พระครูพิทูรนคราภิรักษ์​(อนุชาติ​ นรินฺโท)​เจ้าอาวาสวัดนครชุม มอบเพลงวอนพ่อปู่พระยาโคตรบองเทวราช ซึ่งเป็นดำริของพระคุณท่านให้ครูเพลง อาจารย์พีรวิชญ์ บวรสนิทพงศ์ ประพันธ์เพลงแสงธรรมที่นครชุม เพื่อให้ประชาชนได้รักบ้านเกิดและมีความสามัคคี โดยใช้งบประมาณส่วนตัวในการผลิตเพลงชุดนี้

(ข้อมูลจาก นางสาวทิพวรรณ งามพาณิชยกิจ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร)

ลำดับขั้นตอนการแสดง

การรำเพลงวอนพ่อปู่พระยาโคตรบองเทวราช ประกอบด้วยท่ารำต่างๆ ดังนี้

๑) วิ่งขยั่นเท้า จีบส่งหลัง

๒) ท่าขอ

๒) ท่าวงบัวบาน

๓) ท่าไว้มือ

๔) ท่าสอดสร้อยมาลา

รูปแบบการแสดง

รำถวายพ่อปู่พระยาโคตรบองเทวราช ในงานประเพณีสงกรานต์ สรงน้ำพ่อปู่บูชาหลักเมืองและย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองเก่าพิจิตร ณ ศาลหลักเมืองพิจิตร ตำบลโรงช้าง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตรจำนวนผู้รำจาก ๑๒ อำเภอ ๆ ละ ๓๐ คน รวม ๓๖๐ คน

บทเพลง/เนื้อร้อง

บทเพลง วอนพ่อปู่พระยาโคตรบองเทวราช

ผู้ประพันธ์อาจารย์พีรวิชญ์ บวรสนิทพงศ์

ผู้ให้ข้อมูลประกอบการประพันธ์เพลงพระครูพิทูรนคราภิรักษ์ (อนุชาติ นรินฺโท)

ผู้ขับรัองนายทำนอง คำใบ (เอ๋ พจนา อาร์สยาม)

ลูกกราบวิงวอน ขอพรพ่อปู่

ได้โปรดรับรู้ ลูกขอเชิดชู เทิดทูนบูชา

สำนึกในคุณที่ท่านการุณย์เมตตา

สร้างเมืองพิจิตรโสภา ล้ำค่าสมเป็นเมืองงาม

พ่อปู่เมตตา ขอบารมี
ปกป้องไพรี พิจิตรเมืองนี้ ให้เลื่องลือนาม

โอฆะบุรี ชื่อนี้อยู่ในนิยาม

เตือนใจให้เราได้จำ สมคำที่เขาเล่าขาน

พ่อปู่...พระยาโคตรบองเทวราช

ขออภิวาท เบื้องบาทช่วยปัดภัยพาล

กว่าเก้าร้อยปี เมืองนี้อยู่ในตำนาน

ใครมาขอพรวอนท่าน สำราญได้สมดั่งใจ

ลูกกราบวิงวอน ขอพรพ่อปู่

ได้โปรดรับรู้ ระลึกถึงอยู่ ทุกลมหายใจ

ขอบารมี พ่อนี้คุ้มครองป้องภัย

พี่น้องทุกคนใกล้ไกล ดลใจให้สามัคคี

การถ่ายทอดและสืบทอด

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร จัดอบรมครูนาฏศิลป์ต้นแบบ คือ นางสาวนฏกร ปิ่นสกุล ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลบ้านปากทาง เป็นวิทยากรอบรมให้กับผู้แทนครูนาฏศิลป์ จาก ๑๒ อำเภอ และนำไปขยายผลสอนให้กับผู้รำในแต่ละอำเภอ

แนวทางการส่งเสริม

รำถวายพ่อปู่พระยาโคตรบองเทวราช ในงานประเพณีสงกรานต์ สรงน้ำพ่อปู่ บูชาหลักเมืองและย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองเก่าพิจิตร ณ ศาลหลักเมืองพิจิตร ตำบลโรงช้าง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร เป็นประจำทุกปี และแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัด ตลอดจนการถ่ายทอดให้กับนักเรียนในสถานศึกษา เพื่อสืบทอดการรำถวายพ่อปู่พระยาโคตรบองเทวราช

บุคลานุกรม

ที่ปรึกษา

๑. พระครูพิทูรนคราภิรักษ์ (อนุชาติ นรินฺโท) เจ้าอาวาสวัดนครชุม

๒. นางสาวณัณธิญาจ์ มังคละคีรี วัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร

วิทยากรสาธิตท่ารำ

๑. ดร.นฏกร ปิ่นกุล โรงเรียนเทศบาลบ้านปากทาง

๒. นายณัฐวรรธน์ ชุติภัทร์ดำรงกุล โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม

ทีมงานวิทยากร

๑. ดร.นฏกร ปิ่นสกุล โรงเรียนเทศบาลบ้านปากทาง

๒. นางเบญจวรรณ โหมดชัง โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม

๓. นางกนกวรรณ บุญเสรฐ โรงเรียนสระหลวงพิทยาคม

๔. นายณัฐวรรธน์ ชุติภัทร์ดำรงกดุล โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม

ทีมงานครูต้นแบบ

อำเภอเมืองพิจิตร

๑. นางเบญจวรรณ โหมดชัง โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม

๒. ดร.นฏกร ปิ่นสกุล โรงเรียนเทศบาลบ้านปากทาง

๓. นางกนกวรรณ บุญเสรฐ โรงเรียนสระหลวงพิทยาคม

๔. นางสาวจุฬารัตน์ เกิดเพ็ง โรงเรียนสระหลวงพิทยาคม

๕. นางภัทราพร นิธิธรรมกร โรงเรียนเทศบาลบ้านปากทาง

๖. นายณัฐวรรธน์ ชุติภัทร์ดำรงกุล โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม

๗. นายธีรวิชญ์ ไผ่งาม โรงเรียนสระหลวงพิทยาคม

อำเภอตะพานหิน

๑. นางธิดารัตน์ โตเทศ โรงเรียนตะพานหิน

๒. นางกรรณิการ์ สุขสวัสดิ์ โรงเรียนตะพานหิน

๓. นางสาวเพ็ญประภา ปัญญาใส โรงเรียนวัดป่าแดง

อำเภอสามง่าม

๑. นางสาวอรุณลักษณ์ ธัญรัตน์ทวีลาภ โรงเรียนกำแพงดินพิทยาคม

อำเภอวชิรบารมี

๑. นายชลรวี อ้นอินทร์ โรงเรียนวชิรบารมีพิทยาคม

อำเภอสากเหล็ก

๑. นางสุจิตรา ศรีสุวรรณ โรงเรียนสากเหล็กวิทยา

อำเภอบางมูลนาก

๑. นางศิริวรรณ สมสกุล โรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม

๒. นางสาวฐิติมา สินเครง โรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม

อำเภอโพทะเล

๑. นายวันชัย บุญสอง โรงเรียนโพธิธรรมสุวัฒน์

๒. นางสาวน้ำฝน รุจิลัญจ์ โรงเรียนชุมชนบ้านบางคลาน (เงินอนุสรณ์)

อำเภอบึงนาราง

๑. นายไตรภพ กองจันทร์ โรงเรียนบ้านโป่งวัวแดง

๒. นางสาววิภา วีระพันธ์ โรงเรียนบ้านหนองแขม

อำเภอทับคล้อ

๑. นายจำเรญศักดิ์ สุดคุ้ม โรงเรียนเขาทรายทับคล้อ

๒. นางศรีวรรณา เรือนแก้ว โรงเรียนเขาทรายทับคล้อ

๓. นางวาสนา ศิรินิล โรงเรียนวังหลุมวิทยาคาร

๔. นางวาสิตา เทศขำ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา

อำเภอดงเจริญ

๑. นางสาวกัลยาณี ด่านนคินทร์รัตน์ โรงเรียนวัดวังเรือน

๒. นางสาวมลชนก ท่างาม โรงเรียนอนุบาลดงเจริญ (วังงิ้ว)

อำเภอวังทรายพูน

๑. นายธีรติ ชาวอ่างทอง โรงเรียนอนุบาลวังทรายพูน

อำเภอโพธิ์ประทับช้าง

๑. นางสาวสุนิศา อรุณวัฒน์ โรงเรียนเทศบาลโพธิ์ประทับช้าง

๒. นางอัญชลี เทศแก้ว โรงเรียนอนุบาลโพธิ์ประทับช้าง (ทุ่งใหญ่)

ผู้ให้สัมภาษณ์ในการจัดเก็บข้อมูล

๑. พระครูพิทูรนคราภิรักษ์ (อนุชาติ นรินฺโท) เจ้าอาวาสวัดนครชุม

๒. นางสาวนฏกร ปิ่นสกุล ครูโรงเรียนเทศบาลบ้านปากทาง

ผู้จัดเก็บข้อมูล

๑. นางสาวนุชรินทร์ ธีระบุญยะ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ

๒. นางสาวทิพวรรณ งามพาณิชยกิจ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ

๓. นางสาวรุ่งทิวา บุญเรือง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ

Location
อุทยานเมืองเก่าพิจิตร
No. - Moo - Soi - Road -
Tambon เมืองเก่า Amphoe Mueang Phichit Province Phichit
Details of access
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร
Reference นางสาวนุชรินทร์ ธีระบุญยะ Email nuch_n2516@hotmail.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร Email Khun16599@gmail.com
No. - Moo ศาลากลางจังหวัดพิจิตร (หลังเดิม) Soi - Road บุษบา
Tambon ในเมือง Amphoe Mueang Phichit Province Phichit
Tel. ๐๘ ๑๘๗๐ ๗๓๙๘ Fax. 0 5661 2675
Website http:province.culture.go.th/phichit/
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่