ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 16° 56' 7.7212"
16.9354781
Longitude : E 104° 42' 36.0292"
104.7100081
No. : 192611
ฟ้อนหางนกยูง
Proposed by. นครพนม Date 30 March 2020
Approved by. นครพนม Date 30 March 2020
Province : Nakhon Phanom
0 3481
Description

ความเป็นมา (ภมูิหลัง/ความเชื่อ)
ฟ้อนหางนกยูง เป็นศิลปะการฟ้อนรำของชาวนครพนมตั้งแต่อดีต ฟ้อนหางนกยูงถือกำเนิดขึ้นจากพิธีกรรมความเชื่อของชาวนครพนม ซึ่งมีความเชื่อเรื่องฤกษ์ยาม ของขลัง ความเชื่อเรื่องปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ความเชื่อในอำนาจสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น เชื่อเรื่องผีปู่ตา ผีตาแฮก ผีมเหศักดิ์หลักเมือง เชื่อกันว่าผีสามารถดลบันดาลให้มีความสุข ประสบผลสำเร็จในชีวิตได้ ถึงแม้พุทธศาสนาจะมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวจังหวัดนครพนม แต่ความเชื่อเรื่องภูตผีวิญญาณก็ยังมีอยู่ โดยไม่มีการแยกความเชื่อเรื่องผีออกจากพุทธศาสนา จากพิธีกรรมความเชื่อเกี่ยวกับผีและพุทธศาสนาจึงเป็นจุดกำเนิดศิลปะการฟ้อนรำประจำจังหวัดนครพนม ได้แก่ ฟ้อนหางนกยูง ในอดีตจะฟ้อนในพิธีกรรมถวยเทียน เพื่อบูชาเจ้าหมื่นผีมเหศักดิ์หลักเมืองของชาวจังหวัดนครพนม และภายหลังฟ้อนเพื่อบูชาพระธาตุพระนม ซึ่งพิธีกรรมที่กล่าวมานี้นับว่าเป็นจุดกำเนิดของศิลปะการฟ้อนรำของชาวจังหวัดนครพนมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ตามคำบอกเล่ากล่าวว่า ประมาณหนึ่งร้อยปีเศษ ๆ โดยนายพัน เหมหงส์ ชาวนครพนม ท่านเป็นบุตรของอุปราชท่านหนึ่งในสมัยโบราณ เมื่อนายพัน เหมหงส์ ยังมีชีวิตอยู่ท่านมีชีวิตที่โลดโผนเป็นนักสู้เคยผ่านการสู้รบมาก่อนท่านสนใจในการฟันดาบ เพลงดาบ กระบี่กระบอง และมวย จนเป็นผู้ที่มีฝีมือเยี่ยมท่านหนึ่ง ยามว่างท่านชอบล่าสัตว์ป่า หมูป่า จึงสะสมของป่าเอาไว้ เช่น หางนกยูง แล้วนำมามัดเป็นกำ ๆ คิดประดิษฐ์ท่ารำขึ้นมา ซึ่งมีลีลาคล้ายกับการฟันดาบ แล้วนำไปถ่ายทอดให้ลูกหลานต่อไป
การฟ้อนหางนกยูงนี้ ในสมัยก่อนนิยมยำเดี่ยวบนหัวเรือแข่ง เมื่อมีงานประจำปีออกพรรษา มีความเชื่อว่าก่อนนำเรือเข้าแข่งจะนำเรือไปถวายสักการะเจ้าพ่อหลักเมือง เพื่อเป็นการบอกกล่าวว่าจะนำเรือเข้าแข่งขัน และต้องฟ้อนหางนกยูงเพื่อถวายต่อหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมือง การฟ้องหางนกยูงนี้ฟ้อนรำเฉพาะเรือแข่งที่สำคัญและมีชื่อเสียงโด่งดังเท่านั้น ศิลปะการฟ้อนหางนกยูงนับเป็นการแสดงที่มีลีลาอ่อนช้อยสวยงาม
ในปี พ.ศ. 2491 นางเกษมสุข สุวรรณธรรมา ครูโรงเรียนอุเทนวิทยาคาร อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ได้ย้ายไปรับราชการที่โรงเรียนบ้านหนองจันทน์ ตำบลท่าค้อ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม มีนายทวี สุริรมย์ เป็นหลานของนายพัน เหมหงส์ ที่ได้รับการถ่ายทอดศิลปะการฟ้องหางนกยูงนี้ไว้ นางเกษมสุข จึงมีโอกาสและได้ขอถ่ายทอดการฟ้อนหางนกยูงนี้ไว้ตั้งแต่นั้นมา
ต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2493 นางเกษมสุข ได้นำไปฝึกสอนให้แก่นักเรียนในโรงเรียนบ้านหนองจันทน์ ตำบลท่าค้อ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม และ เมื่อ พ.ศ. 2495 ก็ได้คิดประดิษฐ์ท่าฟ้อนหางนกยูงเพิ่มเติมอีกหลายท่า รวมทั้งได้ประยุกต์เพลงพื้นเมืองให้เหมาะสมในการฟ้องรำประเภทนี้เป็นคนแรกและได้ฝึกสอนมาจนถึงปัจจุบัน

อัตลักษณ์ที่โดดเด่น
ท่าฟ้อนหรือลีลาการฟ้อน
ศิลปะการฟ้อนจะประกอบด้วยท่าฟ้อนเป็นหลัก ในการฟ้อนรำแบบดั้งเดิมนั้นเป็นการฟ้อนที่มีมีแบบแผน ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะเป็นผู้คิดประดิษฐ์ท่าฟ้อนขึ้นมาจากิริยาท่าทางที่เคยชิน หรือเห็นอยู่เป็นประจำ เช่น ท่าทางจากการดำนา การกินอาหาร การแต่งกาย เป็นต้น
และนอกจากนี้ยังได้ท่าทางจากธรรมชาติ จากสัตว์ เช่น ท่าเสือออกเหล่า ท่าเต่าลงหนอง ท่าแฮ้งตากขา ท่ากาตากปีก ท่าเหยี่ยวโฉบลูกไก่ เป็นต้น ท่าทางการฟ้อนรำที่กล่าวมาเหล่านี้จะใช้โอกาสต่าง ๆ เช่น ในงานเทศกาลบุญประเพณี งานบุญประจำปีใช้ประกอบในพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ชาวบ้านจัดขึ้น นอกจากนี้ยังใช้ฟ้อนรำเพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินคลายเครียด จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าลีลาท่าฟ้อนของชาวอีสานมีพื้นฐานมาจากธรรมชาติและวิถีชีวิต มีความเป็นอิสระในการฟ้อนสูง ไม่มีระเบียบข้อบังคับที่ตายตัว ผู้ฟ้อนสามารถฟ้อนได้ตามใจตนเองโดยไม่ขัดเขิน เช่นเดียวกับการฟ้อนหางนกยูงในยุคที่ 1 สามารถจำแนกลีลาท่าฟ้อนได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
ลักษณะการฟ้อนแบบชาวบ้านและลักษณะการฟ้อนแบบฟ้อนดาบ

ความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน นั้นๆ
๑. คุณค่าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สำคัญ
ฟ้อนหางนกยูงถือกำเนิดจากพิธีกรรมถวยเทียนเพื่อบูชาเจ้าหมื่นซึ่งเป็นผีมเหศักดิ์หลักเมืองของชาวนครพนม ผู้ฟ้อนจะฟ้อนบนหัวเรือแข่ง ที่จะเข้าร่วมแข่งขันในเทศกาลแข่งเรือออกพรรษาของชาวจังหวัดนครพนม จากการเปลี่ยนทางสังคม และวัฒนธรรมได้แก่ การศึกษา เศรษฐกิจ และการรับเอาวัฒนธรรมอื่นเข้ามาในชุมชน ทำให้พิธีกรรมถวยเทียนซึ่งเป็นต้นกำเนิดของการฟ้อนหางนกยูง เลือนหายไปจากสังคมเมืองนครพนม ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 เมื่อพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จเยี่ยมพสกนิกรชาวนครพนม ทางจังหวัดนครพนมจึงได้จัดฟ้อนหางนกยูง เป็นการฟ้อนหน้าพระที่นั่ง เพื่อเป็นการรับเสด็จหลังจากนั้น ฟ้อนหางนกยูงก็ซบเซาลง และใน ปี พ.ศ. 2530 เมื่อจังหวัดนครพนมและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประกาศให้งานประเพณีไหลเรือไปเป็นงานประเพณีประจำจังหวัดนครพนม ฟ้อนหางนกยูง จึงถูกจัดอยู่ในกิจกรรมพิธีกรรมบูชาพระธาตุพนม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณีไหลเรือไฟ และปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
มหาสารคาม
๒. บทบาทของชุมชนที่มีต่อมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
ประชาชนและชุมชนในเขต 12 อำเภอ ร่วมมือเป็นอย่างดี

Location
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
Tambon ธาตุพนม Amphoe That Phanom Province Nakhon Phanom
Details of access
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
Reference นางอร่ามจิต ชิณช่าง
Organization สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม
No. ๒๓๖/๖ Road นครพนม-ท่าอุเทน
Tambon อาจสามารถ Amphoe Mueang Nakhon Phanom Province Nakhon Phanom ZIP code 48000
Tel. 081 -5744669
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่