โหวด เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่ใช้ในการแสดงร่วมกับเครื่องดนตรีพื้นบ้านของวงดนตรีพื้นเมืองอีสาน ที่เรียกว่า “วงโปงลาง” เป็นเครื่องดนตรีไทยภาคอีสานประเภทเครื่องเป่า มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก ทำจากไม้กู่แคน ซึ่งเป็นไม้ซางชนิดเดียวกับที่ใช้ทำแคน มีลักษณะคล้ายกับเครื่องดนตรีกรีกโบราณ ที่เรียกว่า “Pan Pipe” ซึ่งเดิมทีเดียวนั้น โหวดเป็นเครื่องเล่นของเด็กผู้ชายและหนุ่ม ๆ ชาวอีสานและยังใช้เป็นเครื่องประกอบหนึ่งในพิธีกรรม การหย่าฝน หรือ ห้ามฝน หลังฤดูกาลเกี่ยวข้าว ประเพณีอย่าฝนจะมีการเล่นโหวดเกือบทุกหมู่บ้านในภาคอีสาน ซึ่งประกอบอาชีพการทำนา หรือชุมชนที่มีชาวอีสานเป็นประชาของชุมชนนั้น ๆ ชาวอีสาน แต่ปัจจุบันขั้นตอนต่าง ๆ ในการทำนาและเกษตรกรรมวิถีเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การเล่นโหวด และพิธีกรรมการอย่าฝน จึงค่อย ๆ หายไปจากวิถีชีวิตของชาวบ้านในภาคอีสาน เหลือเพียงไม่กี่หมู่บ้าน ที่ยังมีการเล่นโหวดแบบโบราณ หนึ่งในนั้น คือ ชาวบ้านตำบลแก้งไก่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นการเล่นโหวดในลักษณะของการจัดประเพณีที่จัดขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบของ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม