ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 12° 34' 28.6475"
12.5746243
Longitude : E 102° 9' 14.872"
102.1541311
No. : 193994
จิตรกรรมฝาผนังวัดเนินสูง
Proposed by. จันทบุรี Date 15 August 2021
Approved by. จันทบุรี Date 16 August 2021
Province : Chanthaburi
0 752
Description

พินิจลายเส้นหนึ่งร้อยปี

ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวของพุทธประวัติ, ทศชาติชาดกและวิถีชีวิตของคนในสมัยโบราณ โดยช่างพื้นถิ่นบนผนังโบสถ์หลังเก่าอายุมากกว่า ๑๐๐ ปี สะท้อนวิถีจันทบูรฉายเป็นภาพชัดผ่านลวดลายเส้นจากปลายภู่กันของ 'ขุนกันทะราหะริรัฐ' ผู้รับจ้าง

ขุนกันทะราหะริรัฐเริ่มลงมือวาดเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ [ตรงกับวันจันทร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ รัตนโกสินทร์ศก ๑๓๔] แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ [ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง รัตนโกสินทร์ศก ๑๓๖]

รวมใช้เวลาวาดทั้งสิ้น ๒ ปี ๑๔ วัน จึงแล้วเสร็จ [อ้างอิง วัน เวลาไทย จาก มายโหรา.คอม] เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ [เสด็จขึ้นเสวยราชย์ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ – ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘]

ลวดลายภาพเขียนของขุนกันทะราหะริรัฐ ที่ฝาผนังโบสถ์หลังเก่าวัดเนินสูง จึงมีอายุครบ ๑๐๐ ปี ในวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ รัชสมัย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐

• ศึกษาภาพสีบนฝาผนังวัดเนินสูง

จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถหลังเก่าเขียนเป็นเรื่องราวพุทธประวัติและทศชาติชาดก ผู้วาดซึ่งเป็นช่างพื้นถิ่นได้แทรกวิถีชีวิตของผู้คนในสมัยนั้นไว้ด้วย โดยวาดเป็นภาพต่อเนื่อง คั่นด้วยลวดลายใบไม้ ดอกไม้ เขียนอธิบายด้วยภาษาในขณะนั้น

ศาสตราจารย์สุชาติ เถาทอง เขียนอธิบายจิตรกรรมฝาผนังแบบพื้นถิ่น ไว้ใน 'ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่นภาคตะวันออก' [โอเดียนสโตร์ : กรุงเทพฯ, ๒๕๔๔] ความว่า

"จิตรกรรมฝาผนังแบบพื้นถิ่นมีรูปแบบและลักษณะกลวิธีการแสดงออกเป็นแบบอย่างพื้นถิ่น คือเป็นฝีมือของช่างพื้นถิ่น ที่มีกลวิธีและรูปแบบการเขียนภาพแบบเรียบง่าย เขียนภาพขึ้นจากความเลื่อมใสศรัทธาที่มีต่อพุทธศาสนาเป็นหลักสำคัญ เช่น จิตรกรรมฝาผนังที่วัดเนินสูง, วัดเขาน้อย, วัดคลองน้ำเค็ม, วัดตะปอนน้อย จังหวัดจันทบุรี, วัดบ้างเป้ง, วัดใต้ต้นลาน จังหวัดชลบุรี, วัดโยธานิมิต จังหวัดตราด, วัดโขดทิมทาราม จังหวัดระยอง และวัดเมืองกาย จังหวัดฉะเชิงเทรา"

"จิตรกรรมฝาผนัง 'รูปแบบพื้นถิ่น' ปรากฏหลักฐานแพร่หลายทั่วไปในภาคตะวันออก เกิดขึ้นจากคตินิยมและความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในแต่ละท้องถิ่นเป็นสำคัญ รูปแบบและกลวิธีการแสดงออกของภาพเขียนอาจจะดูอ่อนด้อยทางทักษะและฝีมือ เนื่องจากว่าช่างเขียนไม่ได้รับการศึกษาและเรียนรู้กระบวนการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังตามเกณฑ์และแบบอย่างจากช่างหลวงในกรุงเทพฯ แต่เขียนขึ้นจากประสบการณ์ และการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นส่วนมาก และความไม่รู้ในกลวิธี และกระบวนการเชิงช่างของช่างพื้นถิ่นและพื้นบ้าน ผสมผสานกับความจริงใจและความศรัทธาต่อพุทธศาสนา ส่งผลให้การสร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนังในภาคตะวันออกกลุ่มนี้มีรูปแบบและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นของตัวเอง"

และบรรยายรูปแบบและเอกลักษณ์จิตรกรรมฝาผนังวัดเนินสูง ไว้ดังนี้

"จิตรกรรมฝาผนังที่วัดเนินสูงมีองค์ประกอบของภาพจิตรกรรมฯ โดยเฉพาะภาพสถาปัตยกรรมที่ปรากฏจะมีทั้งเรือนพักอาศัยที่เป็นแบบเรือนไม้ใต้ถุนสูง ศาลาโถงแบบตึกชั้นเดียวและสองชั้น ประตูเป็นซุ้มโค้งเช่นเดียวกับสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ศาลาบางกลุ่มในภาพเขียนทำเป็นหลังคามุงด้วยกระเบื้องแบบจีน นอกจากนี้ส่วนที่แสดงถึงภูมิประเทศในภาพจิตรกรรมฝาผนังจะเขียนเป็นภาพทิวทัศน์ริมทะเล เขียนเป็นรูปภูเขา หรือโขดหินที่สูงขึ้นไป บนยอดเขามีศาลาส่งสัญญาณประกอบเสาธงสูง ทำนองด่านที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาพื้นที่บริเวณปากน้ำ

ภาพบุคคลที่ปรากฏภายในภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดเนินสูง มีลักษณะการแต่งกายที่แตกต่างกันโดยเฉพาะภาพเขียนรูปทหารมีการแต่งกายแบบฝรั่ง เช่น ถือปืนยาว นุ่งกางเกง สวมหมวกออกแบบทรงสูง [เป็นเครื่องแบบเต็มยศของทหารในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีการฝึกหัดทหารแบบฝรั่ง] บ้างก็สวมหมวกปีกกว้างแบบทหารฝรั่ง จากองค์ประกอบต่างๆ ที่ปรากฏเป็นหลักฐานภายในภาพจิตรกรรมฝาผนัง กับที่ปรากฏหลักฐานทางสถาปัตยกรรมตั้งอยู่ในจังหวัดจันทบุรี เช่น ตึกแดง อำเภอแหลมสิงห์ ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการทหารฝรั่งเศส เมื่อคราวยึดครองจันทบุรีครั้งเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒"

ท้ายสุดศาสตราจารย์สุชาติ เถาทอง วิเคราะห์ในเชิงความเป็นพื้นบ้านของจิตรกรรมฝาผนังวัดเนินสูงไว้ว่า

"จิตรกรรมฝาผนังวัดเนินสูงพบว่า การใช้สีและเส้นมีลักษณะเฉพาะของพื้นถิ่นในภาคตะวันออก เช่น การใช้สีครม [สีน้ำเงินมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Ultramarine blue] การตัดเส้นมีลักษณะที่ค่อนข้างหยาบ และตัดเส้นเพื่อเน้นเฉพาะส่วนของรูปทรงภายนอก และรายละเอียดภายในเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

ผู้สนใจต้องการชมหรือศึกษาภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถหลังเก่า วัดเนินสูง สามารถไปชมได้ที่

วัดเนินสูง เลขที่ ๖๗ หมู่ที่ ๑๒ บ้านคลองนารายณ์ ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี

Location
วัดเนินสูง
No. ๖๗ Moo ๑๒ บ้านคลองนารายณ์
Tambon คลองนารายณ์ Amphoe Mueang Chanthaburi Province Chanthaburi
Details of access
facebook ปราณ ปรีชญา (คนอาสาบันทึกจารึกแผ่นดิน)
Reference ปราณ ปรีชญา (นามแฝง)
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี Email chantaboon_culture@hotmail.com
Tambon วัดใหม่ Amphoe Mueang Chanthaburi Province Chanthaburi ZIP code 22000
Tel. 039303298
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่