ประวัติความเป็นมาของกลุ่มจักสานต้นคล้า บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ ๙ ตำบลทุ่งฝน อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี เริ่มต้นจาก นางยุพิน แก่นนาคำ ซึ่งเดิมมีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย ต่อมา ได้ติดตามคู่สมรสมาอยู่ที่บ้านโนสะอาด และได้เริ่มทำ การจักสานกระติบข้าว ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้รับการ ถ่ายทอดมาจากรุ่น ปู่ ย่า
ตา ยาย เดิมทีการจักสานกระติบข้าวจะทำไว้เพื่อใช้ในครอบครัว ต่อมามีผู้คนพบ เห็นและสนใจมากขึ้น จึงบอกต่อกันไปเรื่อยๆจึงทำให้การจักสานเป็นที่นิยมมากขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๔๒ ทางเทศบาลตำบลทุ่งฝนได้เข้ามาสนับสนุน พร้อมกับจัดตั้งกลุ่มจักสานขึ้น ซึ่ง ในขณะนั้นมีสมาชิกเพียง ๕ คน แต่เนื่องจากมีคนสนใจน้อย จึงทำให้กลุ่มจักสานขาดความเข้มแข็ง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๔๖ กรมส่งเสริมการเกษตรได้เข้ามาสนับสนุนรับสมัครสมาชิกกลุ่มและจัดอบรมพัฒนาฝีมือให้ โดยมี นางยุพิน แก่นนาค า เป็นผู้ฝึกสอนสมาชิกภายในกลุ่มทำให้มีความเข้มแข็งและพัฒนามากยิ่งขึ้น ขณะนี้กลุ่ม จักสานได้เติบโตมากขึ้น ทำให้ในปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด ๓๐ คน จากเดิมจะมีการจักสานกระติบข้าวเพียง อย่างเดียว และต่อมาได้มีการพัฒนาฝีมือและพัฒนาผลิตภัณฑ์จักสานให้มีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น กระเป๋า ตะกร้า ถาด รองแก้ว และอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อนำจำหน่ายออกสู่ชุมชน จากการดำเนินการของกลุ่มได้พัฒนาฝีมือในการจักสานจนเป็นที่เลื่องลือ มีหน่วยงานต่างๆ จากต่าง อำเภอ ต่างจังหวัดมาศึกษาดูงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่เสมอจึงเกิดเป็นความภาคภูมิใจของกลุ่มเป็นอย่าง ยิ่งในการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับผู้คนที่สนใจ กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก) ปัจจุบันผลิตภัณฑ์การจักสานต้นคล้า ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงวัฒนธรรมเป็นผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย ประจำปี พ.ศ.2564(Cultural Product of Thailand : CPOT)